อรปภา

ผู้เขียน : อรปภา

อัพเดท: 15 ก.ค. 2012 16.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 15993 ครั้ง

กุญแจสู่ความสำเร็จบนแนวคิดแบบลีน


กุญแจสู่ความสำเร็จบนแนวคิดแบบลีน

 

จากบทความฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงภาพรวมของแนวคิดแบบลีน ที่มุ่งน้นการสร้างคุณค่าจากการจำแนกและการจำความสูญเปล่า โดยการออกแบบตามคุณค่าที่ลูกค้าต้องการและจัดการอย่างถูกต้องให้เหมาะสม เพื่อช่วยในเรื่องการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้ดีขึ้นทั้งการผลิตและวิสาหกิจ ในฉบับนี้กล่าวถึงกุญแจที่นำไปสู่ความสำร็จของแนวคิดลีน

            คำว่า "การปรับปรุง" นั้นมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้ดีขึ้นกว่าเดิม ในการดำเนินการปรับปรุงนั้น เป็นสิ่งที่ชัดเจนและมีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงปัจจัยขาเข้า “Input” และปัจจัยขาออก”Output” ของกระบวนการเพื่อนที่จะนำเสนอกิจกรรมการดำเนินงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีกว่า สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีต้นทุนตำและได้ผลลัพธ์ที่มีคุณค่า ในตลาดการค้าสากลได้มีแนวคิดในการปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันด้วยการไม่หยุดทดลอง โดยมีผลจากปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีการควบคุมได้ค่อนข้างยาก แต่มีอิทธิพลในการแข่งขันและผลกำไร ซึ่งปัจจัยภายในองค์กรเราสามารถที่จะควบคุมได้ง่ายกว่า เช่น เงื่อนไขการทำงาน ทักษะของพนักงาน เป็นต้น

            โดยปกติทั่วไปในธุรกิจเราไม่ทราบสิ่งที่ลูกค้าต้องการเราจะต้องเตรียมพร้อมและคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องมีแนวคิดในการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าหรือปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อลองรับการเปลี่ยนแปลง กุญแจสู่ความสำเร็จของแนวคิดแบบลีน

ในการจัดการเปลี่ยนแปลงคือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสิ่งที่จะควบคู่กับในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างคุณค่าเพิ่มด้วยการกำจัดการสูญเปล่าและการมุ่งเน้นลูกค้า ด้วยการจัดหาการบริการลูกค้า การจัดการกระบวนการด้านคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

            การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นปรัชญาทางธุรกิจ นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่นและเป็นที่รู้กันในคำว่า ไคเซ็น เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ก้าวหน้ามากกว่า20ปี เพราะได้ใช้ไคเซ็นสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและอย่างสม่ำเสมอทำให้ธุรกิจให้ตรงเป้าหมายและตามความสำคัญ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอสามารถทำให้ธุรกิจปรับตัวตาม ช่วงการเปลี่ยนแปลงมากน้อยตามปริมาณผลิตภัณฑ์ที่กำหนด และเมื่อมีกรปรับปรุงมากขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่าการรวบรวมกิจกรรมการปรับปรุงเล็กๆอ สามารถหาสาเหตุที่มาจากอิทธิพลหลัก ซึ้งจะทำให้คุณมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว

 

            ในแต่ละวันการทำงานเชิงปฎิบัติการ ได้ถูกออกแบบเป็นลักษณะเฉพาะในการดำเนินงานของพนักงานและช่างเทคนิค โดยมีเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้สำหรับการลดความแปรปรวน การควบคุมกระบวนการ และลดต้นทุนจากการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ พนักงานและช่างเทคนิคจะถูกกระตุ้นให้ประยุกต์เครื่องมือในการลดความแปรปรวนให้ถูกต้องกับกระบวนการทำงาน โดยแสดงให้เห็นการลดความแปรปรวน ลดCOPQ และการให้อำนาจแก่พนักงานและช่างเทคนิค สำหรับเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การประยุกต์ใช้วัฏจักรเด็มมิ่ง (PDCA) เครื่องมือการนิยามและตรวจสอบปัญหาและการแก้ปัญหาด้วย 7 Tools นอกจากนี้การปรับปรุงแบบออกเป็น2วิธี คือ การปรับปรุงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น การวิเคราะห์คุณค่า และการสร้างนวัตกรรม เช่น กระบวนการ Reengineering

การสร้างคุณค่าเพิ่ม

            การสร้างคุณค่าตามแนวคิดของลีน คือ การทำความเข้าใจว่าอะไรคือ คุณค่าและความสูญเปล่า ทั้งในและนอกองค์กรที่อยู่ในความสัมพันธ์ต่อการผลิตคุณค่าคือสิ่งที่จำเป็นและต้องถูกสร้างขึ้นในสาตาลูกค้ากำหนดและมีกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างถูกต้อง การสร้างคุณค่าต้องใช้เวลาและความพยายามที่จะกำจัดความสูญเปล่าออกจากกระบวนการ “ยาซูฮิโร” ได้ทำการศึกษาระบบการผลิตแบบโตโยต้า และได้แบ่งลักษณะงานในการผลิตออกเป็น3ประเภท ได้แก่

1.      สิ่งที่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม “ Non Value Added :NVA ” คือ การสูญเปล่าและกิจกรรมที่ไม่จำเป็นซึ่งควรจะกำจัด ตัวอย่งเช่น เวลารอคอย การกอง สุ่มผลิตภัณฑ์ ระหว่างการผลิต โดยไม่เชื่อมต่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไปในทันที การทำงานหรือกิจกรรมเดียวกันซ้ำๆ

2.      สิ่งที่จำเป็นต้องไม่มีคุณค่าเพิ่ม ” Necessary but Non Value Added :NNVA ” คือ ความสูญเปล่า แต่อาจจำเป็นต้องยอมให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่นการเดินในระยะไกลเพื่อหยิบชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบ การเครื่องย้ายอุปกรณ์ เครื่องมือระหว่างการผลิต การจำกัดการทำงานเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานครั้งใหญ่ เช่น การวางผังโรงงานในการผลิตใหม่ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันที

3.      สิ่งที่มีคุณค่าเพิ่ง “ Value Added :VA ” คือ กิจกรรมที่มีคุณค่าในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้นวตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตว่า จะใช้แรงงานหรือเครื่องจักรเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจมากในระบบการผลิตจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ทำให้เกิดคุณค่าเพิ่มและลดต้นทุน คือ การไหลและการดำเนินงานกิจกรรม ดังนั้นเราจึงมีหน้าที่ในการบริหารระบบการทำงานนั้นด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่มด้วยการจำแนกและจำกัดความสูญเปล่า “ทาอิโอนะ” ได้แสดงความสูญเปล่าที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า โดยแบ่งออกเป็น 7 ประการ คือ

·       การผลิตที่มากเกินไป

·       การรอคอย

·       การขนส่ง

·       การดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม

·       สินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น

·       การเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น

·       ข้อบกพร่อง

และส่วนที่เพิ่มเติมจากศักยภาพของมนุษย์ที่มีขีกจำกัด ระบบที่ไม่เหมาะสม พลังงานและทรัพยากรน้ำและมลภาวะ สำหรับเครื่องมือในการจำแนกและกำจัดการสูญเปล่า คือ Value Stream Mapping “VSM” ที่ใช้ในการเขียนแผนภาพเส้นทางการไหลของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์สายธารคุณค่า จากนั้นใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหกรรม ในการปรับปรุงการผลิตตามลักษณะการจำกัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นการดำเนินการที่เป็นทั้งการไหลและกิจกรรม

มุ่งเน้นที่ลูกค้า

            การมุ่งเน้นที่ลูกค้า เป็นการให้คำปรึกษาและค้นคว้าวิจัยตลาด ให้องค์กรที่แนวทางเดียวกันตามความต้องการของลูกค้า ทั้งด้านคุณภาะและการนำมาสู่การเชื่อมต่อระหว่างการผลิตกับลูกค้า เพื่อให้ได้การบริการที่ดีขึ้นทำให้องค์กรมีแนวทางเดียวกัน โดยการสร้างคุณค่าแห่งวัฒนธรรมการเป็นผู้นำ จากความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ การสร้างกลยุทธ์ ลูกค้าและคน ส่งผลให้ลูกค้ามีความซื่อสัตย์ ความภักดีต่อลูกค้าและกำไรเพิ่มขึ้น

หัวสำคัญของการมุ่งเน้นลูกค้าประกอบด้วย

·       เสียงจากลูกค้า เป็นการช่วยให้การมุ่งเน้นลูกค้าคงอยู่และกระตุ้นให้ทำตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยเริ่งจากการให้ความสนใจและถ่ายทอดความสัมพันธ์ระดับหน้าที่การทำงานตามโครงการสร้างขององค์กร ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมและแสดงให้เห็นว่าทำอย่างไรตลอดจนมีส่วนร่วมแก้ไขและอุปสรรคของหน้าที่การทำงานเดิม

·       การจัดความต้องการลูกค้าให้มีแนวทางเดียวกันสำหรับองค์กรเป็นแนวทางเกี่ยวกับการถ่ายทอดวิสัยทัศน์การมุ่งเน้นลูกค้าและคุณค่าต่อลูกค้า ให้ลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ซึ่งวิสัยทัศน์จะเป็นการกระตุ้นพนักงานและองค์การให้บรรลุถึงเป้าหมาย

·       ความเชื่อมโยงลูกค้าไปยังผลลัพธ์ เป็นการสังเกตการวัดการปรับปรุงของเนื้อหาสาระที่ไปยังลูกค้า เป็นการจัดการด้วยวิธีการและเกณฑ์การวัดความสัมพันธ์

เครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นที่ลูกค้า

แบ่งมุ่มองไว้3ส่วน คือ

1.      การจัดหาบริการลูกค้า โดยการใช้ระบบการจัดความสัมพันธ์ของลูกค้า เป็นการรับรองการตอบสนองอย่างรวดเร็ว จากการสอบถามของลูกค้าและเป็นการออกแบบในการส่งเสริมการขายและการตลาด ซึ้งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการประสบความสำเร็จในธุรกิจ

2.      การจัดการกระบวนการด้านคุณภาพ โดยการใช้ Six Sigma ลดความแปรปรวนสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ

3.      การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้ Quality Function Deployment (QFD)

ที่มีการวางแผน การติดต่อสื่อสารและเทคนิคการจัดการเอกสารที่รวบรวมปัญหาของกิจกรรมการดำเนินงานในระบบการผลิตและบริการ โดยมีโครงการวิเคราะห์สำหรับให้คณค่าต่อลูกค้า ด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และการบริการลูกค้า พร้อมกับรองรับการออกแบบกระบวนการผลิต

สรุป

            ในการพัฒนาองค์กรให้อยู่ในแนวหน้าของอุตสาหกรรมการผลิตและบริการนั้นๆ จำเป็นอย่างที่จะต้องใช้กลยุทธ์หรือกุญแจสู่ความสำเร็จของแนวความคิดแบบลีน ที่ประกอบด้วยการปรับปรุงอย่งต่อเนื่อง แนวความคิดการสร้างคุณค่าเพิ่งด้วยการกำจัดความสูญเปล่าและการมุ่งเน้นลูกค้า เพื่อทำให้ลดต้นทุนในการผลิต ลูกค้าพึงพอใจ และมีจ้อได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยยาว ซึ่งจะต้องทำทั้ง 3 แบบ ในการทำแต่ละแบบจะต้องมีเครื่องมือช่วยในการดำเนินงาน นอกจากนี้ควรจะต้องมีวิสัยทัศน์และพันธกิจของผู้นำและองค์กร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ของกุญแจสู่ความสำเร็จของแนวคิดแบบลีนและเสนอแนวทางปฎิบัติ ในฉบับหน้าจะนำกุญแจสู่ความสำรํจของแนวความคิดแบบลีน มานำปฎิบัติเป็นขั้นตอนโดยใช้หลักและโครงสร้างของแนวคิดแบบลีน

 

ที่มา ดร.วิทยา สุหฤทดำรง , ก้องเดชร บ้านมะหิงษ์ Industrial Technology Review 89 (ตุลาคม 2544) 149-152


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที