ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 14 ก.ค. 2012 23.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10555 ครั้ง

แนวคิดแบบลีน lean


แนวคิดแบบลีน VS Muda

แนวคิดแบบลีน VS Muda

Muda เป็นคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น และที่จริงแล้วคุณจะต้องรู้จักคำคำนี้แน่ เสียงที่เปล่งออกมาฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัว และก็ควรเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะคำว่า Muda นี้หมายถึง “ความสูญเปล่า”(Wate)โดยเฉพาะความสูญเปล่าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งมีการนำทรัพยากรไปใช้แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น เช่น การทำให้เกิดความผิดพลาดจนต้องมีการแก้ไข การผลิตชิ้นงานที่ยังไม่มีใครต้องการทำให้เกิดเป็นสินค้าคงหลังและมีสินค้าค้างเหลืออยู่ ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการที่ไม่ได้มีความจำเป็นจริงๆการเคลื่อนย้าย พนักงานและการขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งอย่างไร้จุดประสงค์ กลุ่มคนงานตรงจุดปฏิบัติงานปลายน้ำที่ยืนรออยู่เฉยๆ เนื่องจากจุดปฏิบัติงานต้นน้ำไม่ได้จัดส่งชิ้นงานให้ตรงเวลา รวมถึงการผลิตสินค้าและการบริการที่ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

            Taiichi Ohno (1912-1990) ผู้บริหารของโตโยต้าซึ่งถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของความสูญเปล่าที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เคยมีมา ได้ระบุชนิดของความสูญเปล่า หรือ Muda 7 ประการแรกได้ดังที่กล่าวถึงไว้ด้านบนแล้ว และเรายังได้เพิ่มอีกหนึ่งประการสุดท้ายเข้าไว้ให้ด้วย (ซึ่งบางทีอาจจะมีมากกว่านี้ด้วย)แต่อย่างไรก็ตาม Muda อีกหลายชนิดที่อาจมีอยู่นั้น ยุ่งยากเกินที่จะนำมากล่าวถึง แม้แต่จากการสังเกตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉลี่ยในแต่ละวันในแต่ละองค์กรโดยบังเอิญนั้น ส่วนใหญ่ จะพบว่า Muda มีอยู่ในทุกที่ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคุณได้เรียนรู้วิธีมองหา Muda ในหน้าต่อๆ ไปแล้วคุณจะพบว่ายังมีความสูญเปล่าอยู่รอบตัวคุณอีกมากเกินกว่าที่คุณจะเคยนึกฝัน

โชคยังดีที่เรามียาแก้พิษเจ้าตัว Muda ที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ แนวคิดแบบลีน โดยแนวคิดแบบลีนนี้ได้ช่วยให้มีวิธีการระบุคุณค่า ช่วยจัดลำดับการดำเนินการสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้ ช่วยควบคุมดูและกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ไม่ให้หยุดชะงัก ไม่ว่าใครจะต้องการสิ่งเหล่านี้เมื่อไรก็ตาม และช่วยทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นไป แนวคิดแบบลีนนี้อาจเรียกสั้นๆ ว่า ลีน(Lean) ก็ได้ เพราะมันเป็นวิธีที่ช่วยจัดการให้ทำได้มากยิ่งขึ้นด้วยแรงน้อยลง อุปกรณ์น้อยลง เวลาน้อยลง และพื้นที่น้อยลง ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยให้เข้าใกล้สู่การผลิตเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้มากยิ่งขึ้นด้วย

แนวคิดแบบลีนยังช่วยให้วิธีการทำงานที่ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการช่วยให้มีการสะท้อนกลับผลของความพยายามในการเปลี่ยน Muda ไปเป็น คุณค่า ได้อย่างทันทีทันใด ซึ่งเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกับวิธีการปรับรื้อกระบวนการ (Process Reengineering) ที่เพิ่งเป็นที่นิยมเมื่อเร็วๆนี้ด้วย โดยแนวคิดแบบลีนเป็นการช่วยหาทางสร้างงานใหม่ มากกว่าจะเป็นแค่การรื้อกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก

วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพากลอนกลาง.  (2550).  แนวคิดแบบลีน VS Muda.  ใน แนวคิดแบบลีน.   กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.เอเชียเพรส(1989)จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที