บริหารจัดการในภาวะวิกฤต (Crisis Management)
การจัดการในภาวะวิกฤต การจัดการเป็นธรรมชาติของกิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร โดยทั่วไปกิจกรรมการบริหารการจัดการในภาวะวิกฤตเป็นการจัดการเชิงรุก ซึ่งได้มีการพยากรณ์สถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในหลายๆรูปแบบและมีการวางแผนวิธีการจัดการเพื่อการแก้ปัญหาและแนวทางรับมือกับสิ่งต่างๆที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน การวางแผนจึงถือได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการก่อนที่ธุรกิจสถานการณ์วิกฤตนั่นเอง
การจัดการวิกฤตในปัจจุบันจะเป็นไปในรูปแบบจัดการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อาจเป็นเพราะธุรกิจขาดการเตรียมความพร้อมและไม่มีแผนปฏิบัติงานเพื่อรองรับหรือลดความเสียหาย ตลอดจนการกู้คืนธุรกิจจากภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น การจัดการในภาวะวิกฤติจึงเป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการที่มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ในหารกู้คืนความเสียหายเพื่อให้เป็นภาพที่ออกสู่สาธารณะและมีส่วนได้เสียรับรู้การกอบกู้หรือฟื้นฟูเท่านั้น
การจัดการวิกฤตจึงเป็นเรื่องที่เกินคาดคะเนว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้น บางคนจึงเพียงเข้าใจง่ายๆว่า วิกฤติเป็นสถานการณ์สั่นอันเป็นอุบัติภัยที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน เช่น ตึกถล่ม น้ำท่วม หรือรถไฟชนกัน หรือแม้แต่น้ำท่วมใหญ่นั้น แต่ในความเป็นจริง วิกฤตมีหลากหลายรูปแบบและหมายถึงขอบเขตใหญ่ที่เป็นวิกฤตของทั้งระบบ หรือองค์การที่เกิดขึ้นจากการตามไม่ทันต่อปัญหา การปรับตัวไม่ได้ จนทำให้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการผลิตไม่สามารถดำเนินไม่ตามสถานการณ์ปกติได้ จึงกล่าวได้ว่า “วิกฤตธุรกิจ”เป็นสถานการณ์อะไรก็ได้ที่สามารถส่งผลกระทบในเชิงลบกับชื่อเสียงของธุรกิจ
อ้างอิงจาก
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย "บริหารจัดการในภาวะวิกฤต" วารสาร Industry Focus ปีที่1 ฉบับที่004 ธันวาคม 2554
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที