5S Survival ตอน กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ
ในการดำเนินการใดๆ ต้องมีการกำหนดขอบเขตในการทำงาน 5ส ใช้พื้นที่เป็นหลัก โดยส่วนมาก การกำหนดพื้นที่จะยึดตามโครงสร้างขององค์การ เช่น สำนักงานก็จะมีพื้นที่รับผิดชอบในบริเวณของแต่ละฝ่าย ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายธุรการ เป็นต้น สำหรับในส่วนโรงงาน ก็มีฝ่ายผลิตซึ่งดูแลรับผิดชอบในส่วนพื้นที่ที่ตั้งในการทำการผลิต ฝ่ายคลัง และพัสดุจะดูแลรับผิดชอบในส่วนพื้นที่เก็บวัตถุดิบ สินค้า และอื่นๆ ทั้งยังมีการแบ่งแยกย่อยออกเป็นส่วน แผนก งาน และงานย่อยๆอีก เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งพนักงานที่ทำหน้าที่ในพื้นที่นั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบเรียกว่า “กลุ่มพื้นที่ 5ส” ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะต้องมีการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพื้นที่ สำหรับการมีกลุ่มพื้นที่ ถือเป็นลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของ 5ส เพราะเชื่อมั่นว่าผู้ที่อยู่ในงานนั้นจะมีประสบการณ์ และรู้จักงานดีที่สุด ส่งผลให้เกิดการดำเนินการที่สอดคล้องกับงาน และองค์การ และมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีการสื่อสารที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มพื้นที่มีบทบาทเหมือนกลุ่มย่อยอื่นๆโดยทั่วไป คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมาย จัดทำธำรงรักษา และปรับปรุงมาตรฐานพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตรวจติดตามประเมินผล พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
ดังนั้น ในการกำหนดพื้นที่จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณ โดยพิจารณาจากจำนวนคน พื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นหลัก
การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (ตัวอย่าง) |
||
กลุ่ม |
พื้นที่ (ตารางเมตร) |
ฝ่าย |
A |
5,400 |
ธุรการทั่วไป |
B |
300 |
บัญชีและการเงิน |
C |
200 |
จัดซื้อ |
D |
15,300 |
ผลิต |
E |
700 |
ซ่อมบำรุง |
F |
550 |
ตรวจสอบคุณภาพ |
G |
4,500 |
คลัง |
กำหนดพื้นที่ 5ส (ตัวอย่าง) |
|
ประเภท |
จำนวน (กลุ่ม) |
โรงงานแบบมีฝุ่น |
33 |
โรงงานแบบไม่มีฝุ่น |
21 |
สำนักงาน |
5 |
คลัง |
10 |
รวมทั้งหมด |
69 |
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ารูปแบบในการกำหนดพื้นที่สามารถแสดงภาพที่เป็นรูปธรรมออกมาได้อย่างหลากหลาย แต่ประเด็นสำคัญ คือ ต้องมีข้อมูลของขนาดพื้นที่และผู้รับผิดชอบ(กลุ่ม) เมื่อกำหนดพื้นที่ได้แล้ว แต่ละพื้นที่จะมีการประชุมเป็นประจำ เพื่อช่วยกันวางแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับแผนแม่บทขององค์การ พร้อมทั้งค้นหาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของกลุ่มตนเอง เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานของพื้นที่ รวมถึงการตรวจประเมินด้วยตนเอง รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้บังคับบัญชา คณะกรรมการกลาง ผู้บริหารระดับสูง เพื่อเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่ากิจกรรม 5ส แฝงไว้ด้วยแนวคิด ปรัชญาการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เห็นผลได้ชัดเจนภายในระยะเวลาที่รวดเร็วจากการดำเนินการของ ส1 ถึง ส4 และสามารถฝังลึกจากวินัยไปสู่นิสัยหากบุคลากรเหล่านี้ทำเป็นกิจวัตรประจำวันซ้ำๆไปเรื่อยๆ ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรที่แยบยลชาญฉลาดอีกวิธีหนึ่ง
ที่มา :
นภาพร งามธนาคม. (2551, มีนาคม). 5S Survival ตอนกำหนดพื้นที่รับผิดชอบ. For Quality.14(125), 42-43
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที