จุฑารัตน์

ผู้เขียน : จุฑารัตน์

อัพเดท: 08 ก.ค. 2012 23.13 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6896 ครั้ง

ในปัจจุบันธุรกิจที่เกิดขึ้นในประเทศมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่หลายธุรกิจยังขาดการบริหารคุณภาพที่ดี ดิฉันจึงหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายธุรกิจสามารถบริหารคุณภาพของธุรกิจได้ดีมากขึ้น


QCC ที่เหมาสมกับธุรกิจในประเทศไทย

 

 

Qcc ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับการย้ายฐานการลงทุนจากญี่ปุ่นออกสู่ประเทศในพื้นที่เอเชีย เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะพนักงานและหัวหน้างานซึ่ง QCC เป็นส่วนหนึ่งของ TQC และมักจะทำควบคู่ไปกับการทำ 5ส.

          QCC ในญี่ปุ่นเน้นการทำโดยสมัครใจของพนักงานเพื่อนำปัญหาต่างๆมาพิจารณาอย่างมีระบบมีเหตุผลและอาศัยเครื่องมือทางสถิติเข้าช่วย เน้นให้พนักงานรู้จักการวางแผนก่อนที่จะลงมือทำและรู้จักตรวจสอบว่าผลของการทำนั้นเป็นอย่างไรและถ้าดีก็จะนำไปกำหนดเป็นมาตราฐานหรือสิ่งที่ต้องปฎิบัติต่อไปซึ่งเรียกว่า วงจร PDCA (PLANE-DO-CHECK-ACTION) เน้นให้พนักงานรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งมีหัวหน้ากลุ่ม สมาชิกเลขานุการ ที่ปรึกษากลุ่ม โดยการฝึกฝนให้สมาชิกรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มและฝึกให้กล้าแสดงความคิดเห็น การเสนอผลงาน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้พนักงานระดับล่างได้ชี้แจงถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ผู้บริหารได้รับทราบเป็นการบริหารงานแบบ Bottom up (ล่างสู่บน)

          ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ QCC

1.    บุคลากร

2.    เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุ

3.    วิธีการ

4.    สภาพแวดล้อม

5.    แรงจูงใจ

6.    ข้อมูล

7.    เครื่องมือ QCC

ISO 9000 เป็นมาตราฐานของการปรกันคุณภาพเป็นมาตราฐานสากลและเป็นมาตราฐานที่บ่งบอกว่าให้ทำอะไรแต่ไม่ได้บอกว่าทำได้อย่างไร อีกทั้งยังทำให้องค์กรมีการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพคือ การปฎิบัติการแก้ไขและป้องกันตลอดจนการการป้องกัน มีการใช้กลวิธีสถิติที่แน่นอนและกำหนดผู้ใช้และวิธีการให้ชัดเจน ก่อเกิดเป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กร สามารถใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภทแต่จุดอ่อนของ ISO 9000 คือเรื่องของการบริหารนโยบาย ซึ่งใน TQC จะชัดเจนกว่านี้มาก

TQC เป็นการบริหารคุณภาพโดยทุกคนมีส่วนร่วม QCC เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งนอกเหนือจากเรื่องของเทคโนโลยี พื้นฐานความรู้ของพนักงาน การบริหารนโยบาย การประกันคุณภาพ

รางวัลต่างๆที่มีให้ได้แก่ Deming Prize และ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) เป็นต้น

 

ที่มา: ดร.วรภัทร ภู่เจริญ.  (2538, กันยายน-ตุลาคม).  QCCที่เหมาะสมกับธุรกิจในประเทศไทย.  forquality.2(9),   60-61

ดร.วรภัทร ภู่เจริญ.  (2538, พฤศจิกายน-ธันวาคม).  QCCที่เหมาะสมกับธุรกิจในประเทศไทย.  forquality.2(10),   33-36


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที