ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 08 ก.ค. 2012 18.54 น. บทความนี้มีผู้ชม: 762324 ครั้ง

ความรู้พื้นฐานต่างๆในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็น


ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(Basic Knowledge of Human Resource Management)

การดำเนินกิจกรรมใดๆก็ตาม องค์การจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการภาระหน้าที่ต่างๆ ให้บรรลุตามเป้าหมายได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน การจัดการองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การชี้นำ และการควบคุม ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ เราถือว่าปัจจัยด้านคนมีบทบาทสำคัญที่สุด ที่จะขับเคลื่อนให้หน้าที่ต่างๆดำเนินไปตามทิศทางหรือเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะหน้าที่ของการจัดการคนเข้าทำงานที่ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นศาสตร์หนึ่งทางวิชาการที่เรียกว่า การบริหารงานบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นสำคัญของการขยายกรอบแนวคิดนี้ ได้ถูกดำเนินการโดยสมาคมเพื่อการบริหารงานบุคคลแห่งสหรัฐอเมริกา (American Society for Personnel Administration: ASPA ) ได้ลงมติเปลี่ยนชื่อสมาคมจากเดิมเป็น “สมาคมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource Management: HRM ) ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

            ถึงแม้ว่าทั้งสองคำจะกล่าวถึงกระบวนการปฎิบัติเหมือนกัน และยอมรับว่าบุคลากรในองค์กรเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดก็ตาม แต่แนวความคิดใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้สะท้อนให้เห็นมุมมองของความรับผิดชอบ และการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดระบบต่างๆ จะไม่จำกัดอยู่ในกรอบของหน่วยงานเดียวเท่านั้น แต่จะเป็นภารกิจร่วมกันของทั้งองค์การ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบด้านการกำหนดนโยบาย และแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารระดับกลางรับผิดชอบด้านการสรรหาคัดเลือกบุคลากร และระดับปฎิบัติการรับผิดชอบในการสนับสนุน ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติงาน ซึ่งภารกิจต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพรวมที่เป็นระบบ ในขณะเดียวกันบทบาทของทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงผู้ใช้แรงงานเท่านั้นแต่ถือว่าเป็นทุนทางสังคม (Social Capital)และทรพย์สินที่มีค่าขององค์การ (Organization Assets )             ที่มีผลต่อการพัฒนาและสร้างโอกาสความเจริญเติบโตก้าวหน้าให้แก่องค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต

อ้างอิงจาก

วิลาวรรณ รพีพิศาล.  (2554).  ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์.  ใน. การบริหารทรัพยากรมนุษย์.  (หน้า 1-9).  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที