ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 08 ก.ค. 2012 18.54 น. บทความนี้มีผู้ชม: 755064 ครั้ง

ความรู้พื้นฐานต่างๆในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็น


วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

            การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยขยายบทบาทหน้าที่งานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้มีขอบข่ายของการปฎิบัติที่กว้างขึ้น เพื่อครอบคลุมดูแลการปฎิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและองค์การ ดังนี้

  1. เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถปฎิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. เพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  3. เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฎิบัติงาน
  4. เพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากร
  5. เพื่อพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฎิบัติงานในระดับที่พึงปราถนาขององค์การ

นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับต่างๆ ได้ดังนี้

  1. สนองความต้องการระดับสังคม  (Society’s Requirment)  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ให้บุคลากรทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม มีงานทำมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู๔นำที่ปฏิบิติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการของสังคม
  1. สนองความคาดหวังระดับการบริหารขององค์การ (Management’s ) ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์การมีความคาดหวังที่จะได้บุคลากรที่มัศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์การเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานด้ายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องตระหนักภาระหน้าที่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน โดยดูแลตั่งแต่ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความสรัทธา ให้แก่บุคลากรทุกคนที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การต่อไป
  1. สนองความต้องการระดับผู้ปฏิบัติงาน (Employee’s Need) องค์การจะต้องตระหนักเสมอว่า บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะมีวิธีการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครอบครัวมีความสุข สังคมยอมรับยกย่อง และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงไม่ควรละเลยต่อความต้องการพื้นฐานที่บุคลากรทุกคนควรจะได้รับ เพราะ สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์การในท้ายที่สุด

อ้างอิงจาก

วิลาวรรณ รพีพิศาล.  (2554).  ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์.  ใน. การบริหารทรัพยากรมนุษย์.  (หน้า 1-9).  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที