ไก่ต้ม

ผู้เขียน : ไก่ต้ม

อัพเดท: 07 ก.ค. 2012 19.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6028 ครั้ง

5 ส. ตู้เย็น


5 ส. ตู้เย็น

               ใครมีตู้เย็นที่บ้านบ้างคะ เชื่อว่ามีกันทุกบ้าน เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ความจำเป็น และก็เชื่อเหลือเกินว่าปัญหาของตู้เย็นแต่ละบ้านที่มีคือกลิ่นเหม็นเพราะของเน่าคาดู้ หาของยาก ผักเน่าบ่อยต้องทิ้ง ตู้เย็นล้นไม่พอใส่ของถ้ามีปัญหาที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นเสมอ ๆ ก็แสดงว่าถึงเวลาทำ 5 ส.ตู้เย็น ได้แล้วคะ

                สำหรับคำว่า 5 ส.คนที่ทำงานองค์กรใหญ่ๆ คงคุ้นกับคำนี้มากเลยนะคะ จริงๆ 5 ส. นี้มีมานานแล้วมาจากญี่ปุ่นเขาใช้ 4S สาเหตุที่เป็นที่นิยมเพราะเป็นแนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นโดยกระบวนการ คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย เลยนำมาใช้กับตู้เย็นซึ่งทำให้ได้ผลดีเลยที่เดียวคะ ตู้เย็นเดียวนี้ที่ใช้กันอยู่ในบ้าน มีแบบประหยัดไฟ เบอร์5 กันทั้งนั้นบางบ้านมีตู้เดียวบางบ้านมีหลายตู้ จึงทำให้ตู้เย็นรับบทหนักในการใช้งานเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาของการนำ 5 ส. มาใช้นั้นเอง

                ขั้นตอนแรกของการทำ 5 ส. ต้อง “สะสาง” ก่อนเป็นอันดับแรก โดยแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไปหลายคนเมื่อทำความสะอาดตู้เย็นก็จะพบผักเน่าในถุง อาหารที่เก็บไว้ลืมกิน ราขึ้นขนมปังสิ่งต่างๆ เหล่านี้ตัดใจทิ้งไปก่อน

                ขั้นตอนที่สองคือทำความ “สะอาด” เพื่อนคู่ครัวที่ดีที่สุดคือ ผงฟูคะได้ทั้งทำความสะอาดและดับกลิ่นได้ในคราวเดียวกกันวิธีใช้ ให้ละลายผลฟู 4 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่น 4 ถ้วย เช็ดทำความสะอาดตู้เย็น แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกอีกที ส่วนวิธีดับกลิ่นมีหลายอย่าง บ้างบ้านใช้ถ่านดูดกลิ่น กากกาแฟ ถูงชา อย่าลืมผงฟูอีกเช่นกันตักใส่ถ้วยเล็กๆ วางไว้มุมตู้เย็นช่วยดูดกลิ่นตู้เย็นได้ดีคะ

                ขั้นตอนที่สามคือ “สะดวก”จากการจัดวางสิ่งของต่างๆ ในตู้เย็นให้เป็นระเบียบใช้หลัก First in First out คือซื้อมาก่อนใช้ก่อน จะลดปัญหาผักเน่าคาตู้ได้ดี อีกทั้งเป็นการเตือนสติไม่ซื้อเยอะเกินความจำเป็น ส่วนวิธีการเก็บผักที่ดีที่สุด สดเสมอคือเก็บไว้กับต้นคะ(คือการปลูกผักกินเองไงคะ เวลาจะกินค่อยไปเก็บมา) แต่สำหรับใครที่ต้องซื้อผักมีเคล็ดลับมาบอก คือ

และเมื่อเราเก็บของเข้าตู้เย็นเป็นหมวดหมู่และใช้ได้อย่างถูกต้อง เราก็จะมี “สุขลักษณะ” ที่ดี สบายใจ สะอาดตา และมีความรู้สึกอยากรักษาให้ดี เช่นนี้ตลอดไปจึงเป็นการ “สร้างนิสัย”ที่ดีตามมาขอให้สนุกกับการจัดตู้เย็นนะคะ

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ กายใจ พญ.กอบกาญจน์ ไพบูลย์ศิลป์ ฉบับที่ 101 วันที่ 12พฤษภาคม 2555


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที