จิรารัตน์

ผู้เขียน : จิรารัตน์

อัพเดท: 07 ก.ค. 2012 09.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4101 ครั้ง

มาทำความรู้จักกับ TQM กันเถอะ


มาทำความรู้จักกับ TQM กันเถอะ

 

มาทำความรู้จักกับ TQM กันเถอะ

 

TQM คืออะไร? TQM ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ TQM คือการทำในสิ่งที่เคยทำมาแล้วในแนวทางที่มีเหตุผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้บรรลุความพึงพอใจของลูกค้า การเข้าใจและตัดสินใจนำมาประยุกต์ใช้เป็นกุญแจดอกที่1 เพื่อความสำเร็จในการทำ TQM

 

 

คุณภาพที่ดีคืออะไร?

 

·     สินค้าต้องเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามความมุ่งหมาย

สินค้าแต่ละชนิดต่างก็มีจุดประสงค์ในการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน ดร.จูแรน ชาวอเมริกันได้ให้ความหมายของคำว่า “ความเหมาะสมในการใช้งาน”ว่าเป็นตัววัดคุณภาพที่ดี ซึ่งได้มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าและการปกป้องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 

·     ลูกค้าเป็นผู้กำหนดว่ามีคุณภาพดีหรือไม่

ลูกค้าจะเป็นผู้ที่ตัดสินในขั้นสุดท้าย ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าเบียร์หรือรถยนต์ยี่ห้อไหนดีที่สุด โดยไม่สำคัญมาก ผู้ผลิตจะจัดให้มีการโฆษณาสินค้ามากน้อยเพียงใด

 

การบริหารคืออะไร?

 

·     วงจรการบริหาร

การบริหารคือ การตั้งเป้าหมายและพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นตลอดเวลา วงจรการบริหาร ประกอบด้วย T,P,D,C,A ต้องมีการตั้งเป้าหมาย(T) และต้องามีการวางแผน(P) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ต้องมีการปฏิบัติ(D) ตามแผน มีการตรวจสอบ(C) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และมีการดำเนินการ(A) ที่จำเป็นตามผลลัพธ์ที่ได้ มีการดำเนินการตามวงจรอย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมาย

 

·     การดำเนินการโดยใช้การบริหาร

เมื่อพนักงานแต่ละคนใช้วงจรการบริหารจะทำให้เกิด “การควบคุมตนเอง” และเมื่อหัวหน้างานใช้วงจรนี้นั่นคือมี “การบริหาร” เกิดขึ้นนั่นเอง วงจรทั้งสองนี้ต้องคล้องจองกันในการทำงาน

 

การบริหารคุณภาพและขั้นตอนของการบริหารคุณภาพ

การบริหารคุณภาพเป็นการผสมผสานระหว่างคุณภาพที่ดีกับการบริหารดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นนอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องและเกิดขึ้นทั้งองค์กรเพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

1.       ศึกษาความต้องการของลูกค้าและร่างแผนผลิตภัณฑ์

2.       ระบุความต้องการโดยจัดทำรายละเอียดและแบบ

3.       ผลิตให้ตรงตามรายละเอียดและแบบ

4.       ยืนยันผลลัพธ์และเก็บรักษาบันทึกที่จำเป็น

5.       ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าและดำเนินการ

 

อ้างอิง : หลักการ 7 ประการสู่ความสำเร็จของ TQM  แปลโดย สัญญา  เศรษฐพิทยากุล สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.พิมพ์ที่ บริษัท ที เอส บี โปรดักส์ จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที