ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 06 ก.ค. 2012 14.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 7525 ครั้ง

Step Kaizen


Step Kaizen

 Step 1 การไคเซ็น ความผิดพลาดของการไคเซ็น

ก่อนหน้านี้ จึงจะเป็นการไคเซ็นที่แท้จริง

มีคนจำนวนมากที่เข้าใจที่เข้าใจผิดว่า ไคเซ็นหมายถึงเฉพาะ “การทำให้ดีขึ้น” เท่านั้น แต่ต้องย้ำกันว่า สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดของไคเซ็นนั้นก็คือ “การเปลี่ยนแปลง”

กระบวนการไคเซ็นจะเริ่มจากการมีข้อเสนอว่า  วิธีนี้น่าจะดีกว่าหรือเปล่านะ เมื่อได้รับอนุมัติให้ลองนำไปปฏิบัติ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายครั้งเราจะพบว่าผลที่ได้ออกมาไม่ได้ดีขึ้น แต่อาจจะเลวร้ายลงก็มี เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ต้องไม่ตำหนิผู้เสนอความเห็นทำนองว่า “เห็นไหม..... บอกแล้วไงว่าไม่ดี” นอกจากนั้นก็ไม่ควรกลับไปเป็นรูปแบบเดิม สิ่งที่พวกเราทำก็คือ ปรับปรุงไปจากที่เราเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่กลับไปที่เดิม การทำไคเซ็นเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า นี้แหละคือวิถีแห่งโตโยต้า

อย่าเกรงกลัวหากเมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้วอาจจะแย่ลงให้ทุกคนระดมปัญญาความรู้เพื่อปรับปรุงเพิ่มขึ้น การปรับเปลี่ยนจะให้ผลที่ดีขึ้นในที่สุด

 

Step 2  จงพัฒนากฎเกณฑ์แห่งความสำเร็จ
จากประสบการณ์ของความล้มเหลว

ลองทำดู หากล้มเหลวก็ให้พยายามดูอีกครั้ง นับเป็นวิถีของโคโยต้า แต่อย่างไรก็ตามมีเงื่อนไขบางอย่างกำกับอยู่ กล่าวคือ ในการพยายามท้าทายดูแต่ละครั้ง จะต้องมีการตระเตรียมล่วงหน้าเป้นอย่างดีก่อน ต่อมาหากเกิดความผิดพลาดล้มเหลว ก็จะต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวนั้นอย่างจริงจัง ความล้มเหลวอันเนื่องจากการเตรียมการไม่ดีนั้นเรามองว่าเป้นความสะเพร่าในการทำงาน ส่วนความล้มเหลวที่ไม่มีการสรุปบทเรียนอย่างจริงจัง ย่อมมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก

ด้วยเหตุนี้ในวิถีของโตโยต้านั้น เมื่อเกิดความผิดพลาดล้มเหลวทุกคนจะต้องทำรายงานสิ่งนั้นที่เป็นเช่นนี้เพราะเราเห็นว่าถ้าหากความผิดพลาดนั้นรู้อยู่เฉพาะพนักงานคนนั้นหรือกลุ่มนั้น ย่อมไม่สามารถถ่ายทอดต่อไปยังพนักงานคนนั้นหรือพนักงานรุ่นต่อๆไป แม้เพียงความผิดพลาดเล็กน้อยก็ตาม พนักงานที่รับผิดชอบต้องจัดทำรายงานถึงสาเหตุและมาตรการป้องกันเป็นเอกสารและเก็บรักษาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นมาได้อีก การทำเช่นนี้ ด้านหนึ่งย่อมเป็นการศึกษาเรียนรู้ของเจ้าตัวเอง แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ความต้องการให้พนักงานทุกคนสามรถรับรู้ข้อมูลร่วมกันได้
            การปล่อยให้ความล้มเหลวเป็นเพียงแค่ “ความผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เท่านั้น นับเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์”

 

Step 3 ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

คุณโจ ฟุจิโอะ กล่าวได้ว่า ที่สำคัญก็คือ พวกเราต้องลองทำดูต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ ในโลกนี้มีสิ่งที่เราไม่เข้าใจอยู่มากมายดังนั้นจึงมีคำสอนว่า หากไม่เข้าใจก็ลองทำดูสิ เมื่อเราทดลองทำดูแล้วเราก็จะเริ่มตระหนักถึงสิ่งที่เรายังไม่รู้ แล้วพิจารณาหาสาเหตุของความล้มเหลวเพื่อทดลองใหม่ แม้ในการทดลองครั้งที่สองก็อาจจะล้มเหลวเนื่องจากสาเหตุอื่น แต่เราย่อมสามารถค้นพบแนวทางไคเซ็นได้ ดังนั้นจึงต้องทดลองทำครั้งต่อไป การทำเช่นนี้ด้วยการไคเซ็นอย่างไม่หยุดหย่อน หรือ.”การไคเซ็นโดยเริ่มจากลองปฏิบัติดู เราก็จะสามรถยกระดับและความรอบรู้ของตัวเองขึ้นได้อย่างรวดเร็ว”

งานการใดๆ ก็ตาม หากเพียงคิดอยู่แต่ในสมองเท่านั้นจะไม่มีประโยชน์ การทดลองทำต่างหากที่มีความสำคัญ ความผิดพลาดนั้นขอให้พวกเราถือโอกาสของการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เกิดประโยชน์ในคราวต่อไป หากพวกเราทำเช่นนี้ได้แล้ว ความผิดพลาดก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จไป

 

Step 4 หากคิดว่า “เดี๋ยวค่อยทำ ย่อมส่งผลให้การไคเซ็นยุ่งยากขึ้น”

คุณโอะโนะ ทาอิอิชิกล่าวไว้ว่า อย่าว่าแต่ เช้าออกคำสั่ง ตอนเย็นเปลี่ยน เลยแม้เป็น เข้าออกคำสั่ง กลางวันเปลี่ยน ก็ไม่เป็นไร เมื่อเราออกคำสั่งไปแล้ว หลังจากที่เห็นผลลัพธ์ที่ออกมาหรือพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม และเราคิดว่า “สิ่งนี้อาจจะไม่ถูกต้อง” ก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งในทันที อย่ารอจนถึงตอนเย็นเป็นอันขาด ต้องเปลี่ยนแปลงในทันที” ในการดำเนินงานใดๆ หากเราตรวจสอบผลของการปฏิบัติและพบว่าถูกต้อง เราก็ควรทำไคเซ็นเพิ่มเติม แต่หากเราพบว่ามีความผิดพลาด ก็ต้องยอมรับแล้วปรับปรุงเสียใหม่

 

อ้างอิงจาก

ประยูร เชี่ยววัฒนา.  (2554).  Step Kaizen.  ใน ไคเซ็นตามวิถีโตโยต้า(หน้า 14-17).  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที