จิรารัตน์

ผู้เขียน : จิรารัตน์

อัพเดท: 06 ก.ค. 2012 14.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6229 ครั้ง

ปรัญญาไคเซ็น


ปรัญญาไคเซ็น

 

ปรัญญาไคเซ็น  (Kaizen)

ปรัญญาไคเซ็น Kaizen เป็นปรัชญาของญี่ปุ๋น แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นแนวคิดที่เป็นสากลไปแล้ว ปรัญญาไคเซ็น หมายถึง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงระบบทั้งหมด โดยทำทีละเล็กทีละน้อย แต่ทำสม่ำเสมอ ผู้บริหารคุณภาพตามหลักไคเซ็นไม่มีวันพอใจกับสิ่งที่เขาได้ปรับปรุงไป เพราะถือว่าคุณภาพเป็นการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุดและไม่มีจุดหมายสุดท้าย พวกเขาจะทกลอง วัด แก้ไขและปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ ดังนั้น ญี่ปุ๋นจะไม่คิดว่าของเสียเป็นศูนย์ไปหมดแต่จะค้นหาจุดที่อาจเกิดความเสียหายหรือจุดที่เป็นปัญหาอยู่ตลอด ปรัญญาไคเซ็นมีความหมายเท่ากับการทำให้การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวิถีชีวิต

สำหรับวิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยทั่วไป ได้แก่

1.            ปรับปรุงสินค้าและการบริการ และทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการมีความสม่ำเสมอมากชึ้น

2.            เร่งวงจรการผลิตสินค้าและบริการให้เร็วขึ้น เพื่อย่นระยะเวลาในการผลิตสินค้าและบริการให้ลดลง

3.            ทำให้การผลิตสินค้าและบริการมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนได้ทันความต้องการของลูกค้าและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น

4.            ลดค่าใช้จ่ายและทำให้ของเสียมีจำนวนลดลง เช่น การตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลดของเหลือเศษ การทำงานซ้ำ ตลอดจนตัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มออกไป

ซามูเอล เฟนเบิร์ก (Samuel Feinberg) กล่าวถึงสาระสำคัญของปรัญชาการจัดการคุณภาพทั่งองค์การว่า ส่วนใหญ่จะเน้นหลักการ 3 ประการ คือ ประการแรก ให้พนักงานทุกคนมีความสามารถปรับปรุงองค์กร ประการที่สอง จุดมุ่งหมายสุดท้ายขององค์การคือการมุ่งตอยสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการผลิตสินค้าและบริการ ประการที่สาม ต้องมองว่ากระบวนการมีความสำคัญไม่แพ้ผลลัพธ์ เพราะผลลัพธ์ที่ดีมาจากกระบวนการที่ดี ถ้าหากปรับปรุงกระบวนการให้ดี ผลลัพธ์ที่ดีก็ตามมา สรุปว่าปรัญชาการจัดการคุณภาพทั้งองค์การเป็นเรื่องการให้ความสำคัญต่อพนักงาน ลูกค้า และการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

 

อ้างอิง การจัดการคุณภาพ:จาก TQA ถึง TQM, ISO9000 และการประกันคุณภาพ  ดร.เรื่องวิทย์ เกษสุวรรณ พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที