ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 02 ก.พ. 2007 12.16 น. บทความนี้มีผู้ชม: 37965 ครั้ง

สุขภาพของเรา ถ้าเราไม่สนใจ ไม่ดูแล รักษา แก้ไข ใครล่ะที่มาใส่ใจ


คนไทยสูบบุหรี่กว่า 106 ล้านมวน ต่อวัน

 

นักศึกษา นายวิทยา กำจร

สลด คนไทยสูบบุหรี่กว่า 106 ล้านมวน ต่อวัน

 

 

หนึ่ง        :               อะไรเอ่ย...คนใช้เป็นมะเร็ง คนใกล้ชิดก็เป็นมะเร็ง...ติ๊ก ต๊อก ๆ

สอง        :               อืม........บุหรี่

หนึ่ง        :               ถูกต้องแล้วคร๊าบ

 

ว่ากันว่า บุหรี่เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็งที่สำคัญที่สุด เพราะมนุษย์ มีโอกาสสัมผัสได้ ทำให้ผู้คนได้รับสารก่อมะเร็งในบุหรี่ง่ายแสนง่าย ปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกถึงหนึ่งร้อยล้านคน เฉพาะเมืองไทยก็เกือบสิบล้านคนเข้าไปแล้ว เฉลี่ยแล้วสูบบุหรี่คนละ 10.6 มวนต่อวัน หรือรวมแล้วคนไทยสูบบุหรี่วันละกว่า 106 ล้านมวน

 

                เคยมีคนถามว่า สูบบุหรี่แล้วได้อะไร ตอบตรงนี้เลยว่า ก็ได้สุขภาพที่ย่ำแย่ มะเร็งปอด ไหนจะฟันเหลือง มีกลิ่นปาก สารพัด แล้วองค์ประกอบต่างๆในบุหรี่ก็ล้วนแต่มีสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น ดังนี้

 

โบนัสมะเร็งจากการสูบบุหรี่

               

                สารก่อมะเร็งที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ อัลฟาท็อกซินในถั่ว การติดเชื้อไวรัสบางชนิด สารที่เจือปนมากับอาหาร อาหารที่เผาจนเรียม สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม สารกัมมันตภาพรังสีจากแสงแดด และสารโฮโดรคาร์บอน จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วยังมีจำนวนสารก่อมะเร็งที่น้อยกว่าในบุหรี่ ที่สำคัญประชาชนจะได้รับสารเหล่านี้ในหลายๆ กรณีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่การสูบ เมื่อเกิดการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้

 

                ในบุหรี่ 1 มวน ประกอบด้วย ใบยาสูบและสารเคมี หลายร้อยชนิดที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นรส เพื่อลดการระคายเคืองและเพื่อให้บุหรี่มีรสชาติชวนสูบ เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมี  4,000 ชนิด และมีสาร 43 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง

 

สารแต่งกลิ่นเพิ่มมะเร็ง

 

                ในบุหรี่ยังสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนผสมที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่ เช่น โกโก้เรากินนั้นไม่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง แต่หากนำมาใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ขึ้น โกโก้จะกลายสภาพเป็นสารก่อมะเร็ง ชนิดหนึ่งโกโก้จึงถูกห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่

 

แต่สารปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่มีหลายร้อยชนิดสารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตบุหรี่ ตั้งแต่การปรับสภาพใบยา การรักษาสภาพใบยา การควบคุมความชื้น และการปรุงแต่งกลิ่นรส โดยเฉพาะสารปรุงแต่งกลิ่นรสจะมีการใช้กันมากในการผลิตบุหรี่ชนิดรสอ่อนหรือชนิดไลท์ เพราะการลดปริมาณใบยาเพื่อลดปริมาณทาร์และนิโคติน ทำให้รสชาติบุหรี่จืดชืด สูบแล้วไม่อร่อย บริษัทผู้ผลิตจึงต้องใช้สารปรุงแต่งหลากชนิด เพื่อให้รสชาติบุหรี่น่าสูบเหมือนเดิม สารปรุงแต่งกลิ่นรสเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบผลกระทบต่อสุขภาพที่แท้จริง

 

บุหรี่เมนทอลทำให้สารพิษตกค้างในปอดสูงขึ้น

 

                แม้ว่าบริษัทบุหรี่ยังไม่ยอมเปิดเผยต่อนักวิทยาศาสตร์ว่าสารปรุงแต่งกลิ่นรสมีอะไรบ้าง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำการศึกษาวิจัยได้ นอกเหนือจากสารก่อมะเร็งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในใบยาสูบแล้ว สารเคมีชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นรสนั้น มีสารก่อมะเร็งชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีกกี่ชนิด

               

แต่ที่รู้แน่ๆ คอการสูบบุหรี่รสเมนทอลทำให้สูบแล้วเย็นคอ และทำให้เกิดการชาบริเวณคอ ผู้ที่สูบบุหรี่รสเมนทอลจึงสูบได้ลึกขึ้นและอัดควันอยู่ในปอดได้นานขึ้น ผลก็คือสารก่อมะเร็งที่มีในควันบุหรี่มีโอกาสอยู่ในปอดนานขึ้นและตกค้างมากขึ้น ทำให้เกิดมะเร็งได้มากขึ้น

               

บุหรี่ที่ใช้สารปรุงแต่งกลิ่นรสยิ่งมากเท่าใด หรือผสมสารเมนทอล ยิ่งทำให้โอกาสเกิดสารมะเร็งเยอะขึ้น ซึ่งก็มีหลักฐานบ่งบอกว่าที่ผลิตจากโรงงานมีอันตรายมาหว่าบุหรี่ในใบจาก สาเหตุคือบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมีรสชาติอร่อยกว่าจึงทำให้ผู้สูบสูงมากกว่าการสูบบุหรี่จากใบจาก ยิ่งบุหรี่ที่ว่ารสนุ่ม ควันละเอียดสูบแล้วไม่ค่อยระคายคอ ทำให้ไอ ก็ยิ่งบุหรี่ที่ว่ารสนุ่ม ควันละเอียดสูบแล้วไม่ระคายคอ ไม่ทำให้ไอ ก็ยิ่งทำให้สูบได้สะดวกและมากขึ้น ผลคือร่างการได้รับสารก่อมะเร็งสูงขึ้น

               

ความเข้าผิดว่า “บุหรี่รสอ่อนไม่อันตราย”

               

                อันตรายของบุหรี่รสอ่อนคือ ทำให้ผู้ที่ทดลองสูบติดบุหรี่ง่ายขึ้น เพราะทดลองแล้วสูบแล้วไม่ทำให้ระคายคอ ไม่ทำให้สำลัก เชื่อว่าการที่วัยรุ่นหญิงฝรั่งติดบุหรี่มากข้น เพราะบุหรี่รสอ่อนที่วางขายในประเทศเหล่านั้น

               

คนอเมริกาเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมะเร็งปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นคน การสูบบุหรี่ของอเมริกาน่าจะเป็นผู้ที่นิยมสูบบุหรี่ยอกทั้งหลายว่า ที่ท่านยังไม่เลิกสูบบุหรี่แต่หันไปสูบบุหรี่นอกทั้งหลายว่า ด้วยความคิดที่ว่าบุหรี่นอกปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่านั้นเป็นความเข้าใจผิด แท้ที่จริงแล้วบุหรี่นอกก็ผสมกับใบยาจากประเทศไทย ซึ่งมีสารก่อมะเร็งที่เหมือนๆ กับบุหรี่ของไทย

การสูบบุหรี่ทุกๆ  ครั้ง คือการนำสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย คนไทยที่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยวันละ 10.6 สมมติว่าสูบบุหรี่มวนละ 10 ครั้ง เท่ากับสูดเอาสารก่อมะเร็งสู่ร่างกาบวันละ 106 ครั้งต่อคน

ในเรื่องความรุนแรงและสารก่อมะเร็งแล้ว บุหรี่จะเป็นรองก็แต่กัมมันตภาพรังสี จากระเบิดปรมาณู หรือจากโรงงาน ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เท่านั้น ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่าคนไทยจะได้รับสารก่อมะเร็งโดยวิธีอื่นใดมากกับการสูบบุหรี่อีกไหม

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที