แคททริยา

ผู้เขียน : แคททริยา

อัพเดท: 22 มี.ค. 2012 11.47 น. บทความนี้มีผู้ชม: 43691 ครั้ง

หลักสำคัญของ TOYOTA WAY


Toyotaway

สำหรับแนวคิด “วิถีแห่งโตโยต้า” หรือ The Toyota Way หมายถึง ปรัชญาการทำงาน พฤติกรรมนิยม และวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรการปลูกฝังจนให้กลายเป็น DNA ของพนักงานทุกคน มีหัวใจสำคัญ 5 ประการ ได้แก่

               1. ความท้าทาย (Challenge) 
               2. ไคเซ็น (Kaizen)
               3. เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
               4. การยอมรับนับถือ (Respect)
               5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

 

 

ความท้าทาย (Challenge)
       ความท้าทาย (Challenge) คือ การสร้างวิสัยทัศน์ระยะยาวและบรรลุความท้าทายด้วยความ กล้าหาญ ความท้าทายของ TOYOTA คือ การพยายามผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้มี คุณภาพ 
    ความท้าทายของ TOYOTA คือ การพยายามผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้มีคุณภาพ มากกว่ารถยนต์ยี่ห้อ Benz ซึ่งเป็นรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก และ TOYOTA ก็สามารถทำได้โดยการผลิตรถ Lexus ที่มีปัญหาในตัวรถ 1 คันเพียง 4 จุด เปรียบเทียบแล้วจะมีคุณภาพดีกว่ารถ Benz เพราะโดยปกติรถ Benz 1 คันจะมีปัญหาถึง 6 จุด จึงถือว่ารถ Lexus เป็นรถที่คุณภาพดีที่สุด ประกอบอย่างดีที่สุด และเป็นรถที่ชาวสหรัฐอเมริกาพึงพอใจสูงสุด

 

 

ไคเซ็น (Kaizen)
               ไคเซ็น (Kaizen) คือ การปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และผลักดันนวัตกรรมใหม่ และวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการทำ Kaizen ของ TOYOTA เช่น การปรับปรุงการขันน็อต ล้อ รถยนต์ โดยการทำให้มีสีติดตรงเครื่องมือขันน็อต ซึ่งหากพนักงานขันน็อตแน่นพอ จะทำให้สีนั้นติด ที่หัวน็อต เป็นการยืนยันว่าได้ขันน็อตให้ล้อแน่นแล้ว 

 

 

กุญแจแห่งความสำเร็จของ KAIZEN 
               KAI คือ Continuous
               ZEN คือ Improvement 
               ดังนั้น KAIZEN เท่ากับ Continuous Improvement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องภายใต้
กระบวนการ Plan-Do-Check-Act คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่า แก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizen กันทุกวัน คือ ปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะปรับปรุง

 

 

เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu) 
               เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu) คือ การไปยังต้นกำเนิดเพื่อค้นหาความจริง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ถูกต้อง สร้างความเป็นเอกฉันท์ และบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว Genchi Genbutsu มีหลักพื้นฐานคือ การไปให้ถึงที่จริงและเห็นของจริง คือ Go to see หรือ Go and see เพื่อให้รู้ต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ เช่น ผู้บริหาร TOYOTA จะต้องเดินทางไปหา Dealer ใน ต่างจังหวัด ทุกเดือน เพื่อให้เห็นปัญหาข้อเท็จจริง และจะได้พูดคุยกับต้นตอของปัญหา เพื่อสร้างฉันทามติการ รับรอง รับรู้ร่วมกันได้

 

 

การยอมรับนับถือ (Respect)
               การยอมรับนับถือ (Respect) คือ การเคารพและให้การยอมรับผู้อื่น รวมทั้งพยายามทุกวิถี ทางเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงความรับผิดชอบ และปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน

 

 

การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
               การทำงานเป็นทีม (Teamwork)   คือ การกระตุ้นบุคลากรและการเจริญเติบโตในสายอาชีพ แบ่งปันโอกาสในการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดสำหรับรายบุคคลและทีม

 

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การบริหารความรู้ของ Toyota ซึ่งในโรงงานจะมีมุม ความรู้ที่เต็มไปด้วยข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น สถิติอุบัติเหตุ ความรู้เรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น และทุก ๆ เช้าจะมีรายการ Morning Talk ใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยพนักงานจะแบ่งเป็นทีม ๆ ละ ประมาณ 10 คน และหาเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่พบในการทำงาน หรือความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้น

สิ่งสำคัญที่ Toyota มุ่งเน้น คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ “Total Quality by Quality People” ดังนั้น Toyota จึงได้จัดตั้ง Toyota Academy ขึ้นในหลายประเทศ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอด
ความรู้ ทำให้การบริหารงานแบบ Toyota เป็นภาษาสากลที่เข้าใจตรงกัน

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.opdc.go.th/oldweb/thai/E_Newsletter/January49/toyota_news.htm

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที