แพรวา

ผู้เขียน : แพรวา

อัพเดท: 25 พ.ย. 2011 16.15 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5127 ครั้ง

เหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้น่าจะทำให้องค์กรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน


Check list

บทความโดย

อ.จตุพร สุมนานนท์

ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

 

เหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้น่าจะทำให้องค์กรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน สำหรับเครื่องมือทางด้านการบริหารในเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น มีหลายๆองค์กรที่ได้นำแนวคิดของ Business Continuity Management (BCM) เข้ามาใช้เพื่อการรับมืออย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้ว ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในอันดับต้นๆของโลก พร้อมกันนี้ญี่ปุ่นก็ได้รับการยอมรับในแง่ของความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและความมีระเบียบวินัยซึ่งทำให้การรับมือกับภาวะฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติย่อมนำมาซึ่งความเสียหาย สำหรับองค์กรขนาด SME ที่ขาดการเตรียมการสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้ ผลกระทบจากภัยพิบัติอาจจะหมายถึงการที่จะต้องปิดกิจการเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (METI) จึงส่งเสริมให้องค์กรขนาด SME ในญี่ปุ่นจัดทำแผนรองรับความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP: Business Continuity Planning) เพื่อการรับมืออย่างเหมาะสมและการฟื้นตัวในระยะเวลาอันสั้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กร ดังนั้นองค์กรขนาด SME ของไทยคงจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเรียนรู้จากญี่ปุ่นในฐานะของประเทศที่มีทักษะและประสบการณ์ในด้านนี้

Checklist ที่อ้างอิงมาจาก Website ของสำนักงานองค์การขนาดเล็กและขนาดกลาง ภายใต้สังกัดของ METI (http://www.chusho.meti.go.jp/keiei/antei/index.html) ข้างล่างนี้จะช่วยให้องค์กรประเมินระดับความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินและชี้ได้เห็นจุดที่จะต้องปรับปรุงอย่างคร่าวๆก่อนที่เหตุการณ์ฉุกเฉินใดๆจะเกิดขึ้นมาก่อน เพราะถ้าถึงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นแล้ว การรับมือโดยขาดความพร้อมนั้นอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กรของท่าน ซึ่งบางครั้งอาจจะหมายถึงการที่ไม่โอกาสที่จะแก้ตัวอีกครั้งก็เป็นได้

 

หัวข้อหลัก

คำถาม

ใช่

ไม่ใช่

ไม่แน่ใจ

ทรัพยากรมนุษย์

องค์กรของท่านมีการจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของพนักงานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือไม่?

 

 

 

ท่านสามารถติดต่อกับพนักงานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน กลางคืนหรือวันหยุดได้หรือไม่?

 

 

 

องค์กรของได้จัดให้มีการฝึกซ้อมการหนีภัยเป็นประจำหรือไม่?

 

 

 

ในองค์กรของท่านมีพนักงานที่ได้รับการฝึกทางด้านการปฐมพยายามหรือไม่?

 

 

 

สิ่งของ

อาคารสำนักงานของท่านสามารถต้านทานแผ่นดินไหวระดับรุนแรงได้หรือไม่? อุปกรณ์ต่างๆในสำนักงานจะเสียหายหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านมีการตรวจสอบประตู หน้าต่าง กำแพงในด้านความสามารถในป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกที่ประสงค์ร้ายได้หรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านได้มีการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ปฏิบัติงานจากภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่าม หรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านได้มีการจัดทำตารางควบคุมรายการสิ่งของ(อุปกรณ์เครื่องจักร วัตถุดิบ เชื้อเพลิง เป็นต้น) หรือไม่?

 

 

 

การเงิน

ท่านสามารถประมาณการมูลค่าความเสียหายในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจเป็นเวลา 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือนหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านทำประกันวินาศภัยไว้หรือไม่ และมีความเข้าใจถึงขอบเขตและเงื่อนไขของการคุ้มครองอย่างถูกต้องหรือไม่?

 

 

 

ท่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความช่วยเหลือทางด้านการเงินในการป้องกันหรือฟื้นฟูหลังภัยพิบัติหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านมีเงินสดจำนวนเทียบเท่ากับยอดขาย 1 เดือน(รวมถึงยอดเงินในบัญชีที่สามารถถอดได้ทันที)หรือไม่?

 

 

 

ข้อมูล

องค์กรของท่านได้ Copy หรือ Back up ข้อมูลเป็นประจำหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านได้ Copy หรือ Back up ข้อมูลไว้ยังสถานที่ที่นอกเหนือจากสำนักงานหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านมีแผนรองรับในกรณีที่อุปกรณ์ IT ขององค์กรเสียหายจนใช้การไม่ได้หรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านมีการจัดทำรายชื่อของลูกค้า คู่ค้าและหน่วยงานสำคัญๆไว้หรือไม่?

 

 

 

ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

ท่านเคยพิจารณาหรือไม่ว่าธุรกิจขององค์กรจะเป็นอย่างไร? ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดจากมนุษย์

 

 

 

ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน กิจกรรมใดควรจะต้องการดูแลให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องหรือฟื้นฟูเป็นอันดับแรกก่อน ท่านได้วางแผนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำและได้ดำเนินการบางอย่างเตรียมไว้แล้วหรือไม่?

 

 

 

องค์กรของท่านมีแผนรองรับในกรณีไฟฟ้าหรือระบบการสื่อสารขัดข้องเป็นเวลานาน ระบบคอมพิวเตอร์ล่ม หรือการที่คู่ค้าไม่สามารถส่งมอบวัตถุดิบ หรือไม่ ?

 

 

 

ในกรณีที่ผู้บริหารสูงสุดอย่างเช่นท่าน ไม่อยู่หรือล้มป่วย องค์กรของท่านมีตัวแทนที่จะเป็นผู้นำองค์กรในการดำเนินธุรกิจต่อไปหรือไม่?

 

 

 

รวม

จำนวนคำตอบ “ใช่”

 

 

 

 

 

จำนวนคำตอบ “ใช่”

ผลการประเมิน(อย่างคร่าวๆ)

16 - 20 ข้อ

องค์กรของท่านมีการดำเนินในเรื่องการรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจตามแนวทางของ BCP

6 – 15 ข้อ

องค์กรของท่านเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน แต่ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอีกมาก

0 – 5 ข้อ

ถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น องค์กรของท่านมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจเป็นระยะเวลานานหรืออาจจะถึงขั้นต้องปิดกิจการ ขอแนะนำให้ดำเนินการในเรื่องการรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจโดยทันที

ข้อมูลอ้างอิง http://www.chusho.meti.go.jp/keiei/antei/index.html


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที