แพรวา

ผู้เขียน : แพรวา

อัพเดท: 25 พ.ย. 2011 04.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5123 ครั้ง

งานกู้โรงงานหลังน้ำท่วม มีหลายงานที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ง่าย ก่อนอื่น ผู้จัดการโรงงาน ต้องทำตัวเป็นโปรเจ็คแมนเนเจอร์ ครับ


Action Plan ที่ดีเป็นยังงัย???

การกู้โรงงานหลังน้ำท่วมสำหรับ SME ไทย (ตอนที่2)

โดย อุดม สลัดทุกข์

ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

โครงการ: พัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นเลิศ

 

Action Plan ที่ดีเป็นยังงัย???

                แผนปฏิบัติการในช่วงเวลานี้มีข้อจำกัดที่ต้องเปิดทำการได้ ณ วันที่กำหนด อย่ามัวมานั่ง เถียงกันว่าตำราโน้นว่าไว้อย่างนี้ ตำรานี้ว่าไว้อย่างนั้น ที่สำคัญให้ทีมทุกทีมนำโดยผู้กำกับ หรือผู้จัดการทีม Lead ในฐานะ Leader ใช้การระดมสมองได้บ้างแต่อย่ามากไป เพราะเดี๋ยวจะมัว เถียงกัน ยามนี้ต้องการ ผู้นำที่มีสติ ปัญญา ความมุ่งมั่น เด็ดขาด อดทน อดกลั้น ไม่ยอมแพ้ ควบคุมงานให้บรรลุเป้าหมาย ให้คำแนะนำ รวมถึงสามารถออกคำสั่งได้ทั้งเรื่องเทคนิค และเรื่อง ทั่วไป  เหมือนสั่งการรบ อย่างไรก็ตาม แผนที่ดีในเวลานี้ มีองค์ประกอบ 6 อย่าง คือ

  1. ให้ใครบ้าง (คนเดียว หรือ หลายคน หากหลายคน ใครจะเป็นผู้นำทีม)
  2. ไปทำอะไร
  3. ตรงไหน
  4. ผลงานที่ต้องการคืออะไร (อย่าเพียงบอกว่าได้ทำแล้ว แต่ให้คิดว่าที่ทำแล้วดีหน้าตายังงัย)
  5. กำหนดเสร็จ เวลาไหน วันไหน
  6. ใครจะไปตรวจงาน คนตรวจงานรู้ระดับผลงานที่ต้องการหรือยัง

ผู้กำกับ หรือผู้จัดการทีมต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้สมาชิกทีมเข้าใจภาระกิจอย่างชัดเจน บางครั้งสมาชิกบางคน ไม่มีประสบการณ์มาก่อนกับสิ่งที่จะทำ ดังนั้น จึงอาจจะต้องให้ความรู้ กับสมาชิกทุกคนก่อนเริ่มงาน ทั้งนี้เพื่อสร้างกรอบการลงมือทำ ให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อลด ความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น โดย

  1. พาสมาชิกทุกคนไปสำรวจหน้างานจริงเสียก่อน ให้รู้ขอบข่ายงานที่ต้องทำ พร้อมจดบันทึก สิ่งที่เห็น เพื่อนำไปกำหนดแผนงานอย่างชัดเจนหลังจากนี้ (ถ่ายรูปไว้จะดีมาก แต่อย่าถ่าย เจาะจนไม่รู้ว่าถ่ายมาจากไหน )
  2. ไปประชุมทีม กำหนดความรับผิดชอบ ตาม 6 ข้อที่กล่าวมาตอนต้น
  3. เขียนแผนปฏิบัติระดับผู้จัดการทีม โดยมีแผนย่อยของแต่ละทีมย่อย อย่างชัดเจน
  4. ทวนสอบความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ที่ประกอบไปด้วย ผลงานที่ต้องการ กำหนดเสร็จ การรายงานผลสำเร็จ การรายงานปัญหาที่ต้องการการสนับสนุน หากจำเป็นต้องให้ความรู้ ก็อย่าลังเลที่จะให้
  5. ติดตามผลทุกเย็น พร้อมแก้ไขปรับปรุงแผนอย่างสมเหตุสมผล
  6. อย่าลืมขอบคุณ พร้อมทั้งชมเชย หรือให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือให้งานนั้นคืบหน้า ไปได้

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะหากได้ข้อมูลที่ชัดเจน แผนงานจะชัดเจน สามารถมองเห็นความเป็น ไปได้ว่าจะสามารถเปิดกิจการได้ตามที่กำหนดคร่าวๆ ได้หรือไม่


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที