ในโลกปัจจุบันเราเห็นสิ่งของต่าง ๆ มากมาย ที่ทำด้วยพลาสติกอยู่ในแทบทุกหนทุกแห่ง เรียกได้ว่ามีของใช้ทำด้วยพลาสติกกันตั้งแต่ไม้จิ้มฟันไปจนถึงเรือรบ ที่เป็นเช่นี้เพราะว่าพลาสติกเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่หาซื้อได้ง่าย และมีราคาไม่แพงมากนัก |
แต่ใด ๆ ในโลกนี้เมื่อมีคุณมากก็อาจมีโทษมากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพลาสติกใกล้ตัว เช่น ขวดใส่น้ำ หลอดดูด ชาม ฯลฯ ใช้กันมากในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ผู้ใช้เองก็ไม่ทราบว่าอาจจะมีสารเคมีอันตราย ในพลาสติดเหล่านี้หลุดเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว |
พาทาเลต (phthalates) เป็นสารเคมีก่อมะเร็งยอดฮิตตัวหนึ่ง ที่มีโอกาสหลุดจากหลุดจากเนื้อพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้เสมอ |
ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วมีนายแพทย์ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ทางทีวีหลายช่อง ด้วยเรื่องของพาทาเลตว่าพบสารตัวนี้ออกมาจำนวนหนึ่งในของเหลว ที่มีหลอดดูดพลาสติกจุ่มวางแช่อยู่ในตู้เย็น นี่แสดงให้เห็นว่าแม้กระทั่งหลอดดูดในน้ำหรือน้ำผลไม้ ซึ่งจุ่มอยู่ในอุณหภูมิที่คาดไม่ถึงว่าจะมีปัญหาก็ยังไม่ปบอดภัย และก็ไม่เห็นผู้ผลิตภาชนะพลาสติกหรือหน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องสักราย ออกมาแย้งว่าไม่เป็นความจริง |
จึงสงสัยอยู่จนทุกวันนี้ว่าพาทาเลตที่ออกจากพลาสติกมาปนอยู่กับน้ำ และอาหารได้นั้นมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน ในแต่ละวันเรารับสารตัวนี้ เข้าไปมากแล้วหรือยัง แล้วใครจะช่วยปกป้องผู้บริโภคในเรื่องนี้ได้บ้าง |
ในสารพัดข้อสงสัยนี้ยังไม่มีคำตอบ แต่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพาทาเลต ให้ท่านผู้อ่านรับทราบเพื่อจะได้รู้รักระวังอันตรายที่แอบแฝงอยู่ใกล้ตัว |
พาทาเลตอยู่ในพลาสติกใดบ้าง |
พาทาเลตมีอยู่ในพลาสติกอ่อนประเภท Soft Vinyl Products มีผสมอยู่ประมาณ 40% โดยน้ำหนัก และพลาสติกประเภทนี้ เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกหนทุกแห่ง ดังนี้ |
|
|
|
|
|
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดให้มีพาทาเลตในพลาสติกได้ไม่เกิน 30% |
พาทาเลตเป็นอย่างไร |
พาทาเลตมีสูตรทางเคมีทั่วไปเป็น |
สารเคมีตัวนี้ใช้กันมากในผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทพีวีซีที่เป็น Consumer Products ใช้เป็น Plasticzers คือสารที่ทำให้เกิดความความอ่อนตัวในเนื้อพลาสติก ดังนั้น ผลิตภัณฑ์พลาสติกพีวีซีที่มีความยืดหยุ่นหรืออ่อนตัวได้ ก็จะมีพาทาเลตอยู่ด้วยในเนื้อพลาสติกนั้น |
พาทาเลตที่ใช้ในวงการพลาสติก มีดังนี้ |
|
ผู้เชี่ยวชาญจาก Health Care With-out Harm: HCWH ประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า จากการทดสอบผลของพาทาเลตชนิดนี้ ในสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการหลาย ๆ แห่งได้ผลตรงกันว่า สารนี้จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย คือ จะไปรับกวนอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ตับ ไต ปอด ระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ รบกวนหนักเข้าเซลล์ในร่างกายก็กลายพันธุ์ ไปเป็นมะเร็งในที่สุด |
และมีการวิจัยจาก Center for Disease Control เมื่อ พ.ศ. 2544 ระบุย้ำว่า พาทาเลตเข้าสู่ร่างกายของเราได้แน่นอน โดยผ่านทางกิน หายใจ สัมผัสทางผิวหนัง และจากการถ่ายเลือด |
จากจากนี้ยังมีรายงานจาก Consumer Reports ว่าจากการทดสอบเนยแช็ง ที่ห่อหุ้มด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารจาก 14 ยี่ห้อใน 14 ประเทศ พบว่ามี DEHP ปนอยู่ในปริมาณสูง คนที่ได้รับประทานเนยแข็งทุกวันก็จะได้ DEHP เป็นของแถมสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยซึ่งเป็นเหตุทำให้ร่างกาย เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น |
และพบว่ามีระดับ DEHP ปานกลางในเนยแข็งที่ห่อด้วยฟิล์มยืดห่ออาหาร ประเภทหดตัวได้ อีกทั้งพบว่ามี DEHP น้อยหรือไม่พบเลยในเนยแข็ง ที่ห่อด้วย Laminated Foll |
มีการทดสอบต่อไปอีกว่า เมื่อห่อแฮมเบอร์เกอร์ด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารจาก 7 ยี่ห้อใน 7 ประเทศ พบว่ามีการปนเปื้อนของพาทาเลตที่ผิวของแฮมเบอร์เกอร์ จากฟิล์มยึด 2 ใน 7ยี่ห้อนั้น |
โดยพบ DEHP ในปริมาณน้อยและเมื่อลองใส่แฮมเบอร์เกอร์ในชามพลาสติก สำหรับใช้กับไมโครเวฟยี่ห้อดัง ๆ แล้วอุ่น ปรากฏว่า ไม่พบสาร DEHP ใด ๆ ออกมา |
น่าจะแสดงให้เห็นว่าพาทาเลตจะออกมามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารนั้นมีไขมันมากน้อยแค่ไหนและขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของพลาสติกที่ใช้ห่ออาหารนั้นด้วย |
คือถ้าอาหารมีไขมันมากแล้วห่อด้วยพลาสติกยี่ห้อดังแค่ไหนก็ไม่พ้นที่พาทาเลต จะออกมาปนได้ แต่ถ้าอาหารมีไขมันน้อยหากใช้ภาชนะพลาสติกที่มีคุณภาพดี โอกาสที่พาทาเลตจะหลุดออกมาปนกับอาหารก็จะน้อยเช่นกัน |
แต่ไม่ว่าอาหารนั้นมีไขมันด้วยหรือไม่ก็ตาม พาทาเลตก็มีโอกาสหลุดจาก พลาสติกออกมาปนกับอาหารได้เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกยังไม่ดีพอ |
ข้อมูลของสถาบัน HCWH ให้ความเห็นว่า การที่พาทาเลตหลุดออกจากเนื้อพลาสติกในอาหารได้ง่ายนั้น อาจเป็นเพราะว่าโครงสร้างเคมีของ DEHP ไม่มีแขนจับพลาสติกไวนิล จึงมีส่วนหนึ่งที่ DEHP สามารถออกมาจากเนื้อพลาสติกได้ |
|
|
|
|
ในอดีต DOP ในสหรัฐอเมริกาใช้เป็น Plastiticlzers ในผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณถึง 9 ตันในทุก ๆ ปีจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 เป็นที่สงสัยว่า สารตัวนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง เพราะพบว่ามีสารตัวนี้ในเลือดที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกที่มี Plastiticlzers เป็น DOP จึงมีการหยุดใช้ผลิตในถุงเลือดจนถึงทุกวันนี้ |
|
ยุโรปห้ามผลิตของเล่นพลาสติกที่มีพาทาเลต |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที