ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 08 พ.ย. 2006 14.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 776777 ครั้ง

เรียนรู้โดยธรรมชาติ จากสิ่งที่ใกล้ตัว นี่แหละคือวิชาเคมี


ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน    

1.       ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต( NaHCO3 )

โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซดาทำขนม เป็นสารเคมีที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ทำคาราเมล ใส่ในน้ำต้มผักทำให้ผักมีสีเขียว ใช้เป็นส่วนผสมของผงฟู 

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในผงฟูเมื่อได้รับความร้อน พบว่าโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตจะสลายให้ CO2 ดังสมการ

 

                                                 2NaHCO3     ความร้อน     Na2CO3   +   H2O   +   CO2
    

โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตนอกจากใช้ทำขนมหลายชนิดแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการดับไฟป่า โดยโปรยผง NaHCO3 จากเครื่องบินลงบริเวณเหนือไฟป่า ความร้อนจากไฟป่าจะทำให้สาร NaHCO3 สลายตัวให้แก๊ส CO2  ทั้งนี้แก๊ส CO2 ที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ จึงปกคลุมไม่ให้เชื้อเพลิงได้รับแก๊สออกซิเจน ทำให้บรรเทาหรือหยุดการเผาไหม้ลงได้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที