ฮิโรชิม่า (HIROSHIMA)
ประวัติศาสตร์โลกอันแสนเจ็บปวดที่ทุกคนอยากลืม แต่ต้องจดจำ
ครั้งที่สองของการเดินทางมาญี่ปุ่น
การเริ่มต้นงานใหม่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เคยได้รับมาก่อนในชีวิตการทำงาน เมื่อเริ่มงานบริษัทก็ส่งมาอบรมเลย ครั้งนี้ผมได้เดินทางมาพักที่เมืองฮิโรชิม่า (HIROSHIMA) เพื่อมาอบรมเกี่ยวกับเครน(เครนสำหรับยกตู้สินค้าลงเรือสินค้า) กับบริษัท MITSUBISHI HEAVY INDUSTRIAL ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทะเลชายฝั่งเมืองฮิโรชิม่า โดยมาอบรมร่วมกับพนักงานการท่าเรือจิตะกองจากบังคลาเทศ (ทั้งหมด 22 ท่าน)
|
|
|
การเดินทางครั้งรู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เนื่องจากจะได้มีโอกาสมาฝึกอบรมพร้อมกับได้ศึกษาเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของผู้คนจากทุกมุมโลก เนื่องจากเป็นเมืองที่เคยโดนทิ้งระเบิดปรมาณูสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยที่เรียนหนังสือก็เคยนั่งท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทองเพื่อจะได้ทำข้อสอบได้ ปัจจุบันเมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองแห่งสันติภาพและวัฒนธรรมระดับนานาชาติ (International City of Peace and Culture) สภาพเมืองได้ถูกพัฒนะขึ้นใหม่ บ้านเมืองสวยงาม การจราจรสะดวกสบาย มีสี่แยกและไฟแดงถี่ยิบซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีสี่แยกและไฟแดงเกือบทุก 150 เมตรโดยประมาณ (แต่ไม่มีรถติดให้เห็น) ประชาการไม่มาก 1.14 ล้านคนโดยประมาณ ไม่หลงเหลือร่องรอยของความบอบช้ำจากสงครามปรากฏให้เห็น นอกเสียจากอะตอมมิคบอมบ์ โดม (Atomic Bomb Dome) ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับเตือนชาวญี่ปุ่นและชาวโลกให้ระลึก มหันต์ภัยอันโหดร้ายของระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งปัจจุบันโดมแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก(World heritage) และกลายมาสัญลักษณ์ของเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หากมาที่ฮิโรชิม่าแล้วไม่มาที่โดมแห่งนี้ก็เสมือนกับว่า"มาไม่ถึงฮิโรชิม่า"
|
|
|
|
|
|
|
| |||||||||||||||||
ภาพจำลองแสดง สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังโดนทิ้งระเบิด ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีจากจุดศูนย์กลาง 1.5-2 กิโลเมตร ราบเป็นหน้ากอง <- ภาพจำลองแสดงพิกัดของระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินด้วยความสูง 600 เมตรโดยประมาณ ห่างจาก Atomic Bomb Dome 160 เมตร ซึ่งแสดงตำแหน่งให้เห็นเป็น รูปเสาสีแดง ส่วนAtomic Bomb Dome จะอยู่ที่ปลายตำแหน่งของแม่น้ำทั้งสองสายมาบรรจบกันพอดี <- ส่วนตำแหน่งสีขาวที่เห็นซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับโดมและจุดศูนย์กลางของ ปรมาณู ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้าน ปัจจุบันสถานที่แห่งนี่ได้จัดทำเป็นสวนแห่งความทรงจำ" เมมโมเรียล พาร์ค " | |||||||||||||||||
ส่วนบริเวณโดยรอบของ เมมโมเรียล พาร์ค ได้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานต่างๆ เพื่อรำลึกผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมหัตปรมาณูของชาวเมืองฮิโรชิม่าและชาวต่างชาติ
แค่นี้ก่อนครับ แล้วพบกันใหม่ในตอนที่ 2 |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที