ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่ออินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในปัจจุบันองค์กรต่างๆได้นำระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยในเรื่องของการจัดการ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรทุกๆด้าน และการใช้ระบบสารสนเทศนั่นเองที่ทำให้องค์กรต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อมาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในเรื่องของความทันสมัย สร้างโอกาสให้สินค้าและบริการขององค์กรได้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งทางด้านการตลาดด้วย
1. ประวัติความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1990
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถูกสร้างขึ้นโดย
Tim Berners-Lee
1991
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSF) ได้ยกเลิกข้อจำกัดในการใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดทางการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1993-1994
พิซซ่าฮัทเปิดการขายทางอินเทอร์เน็ตเป็นที่แรก มีการเปิดธนาคารออนไลน์เป็นแห่งแรก มีการพัฒนาและแก้ไขปัญหาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเริ่มต้นการขายสินค้าออนไลน์ โดยการเข้ารหัส SSL เพื่อความปลอดภัยในการซื้อขาย 1995-1999
เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม หรือ ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ไอที เนื่องจากมีเว็บไซต์จำนวนมากเกินไป
2000-2001
เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมแตก เนื่องจากมีบริษัทแรกที่สามารถทำรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ได้ถึง 1 ล้านเหรียญ ดอลลาห์สหรัฐ
2003
Facebook ถูกสร้างขึ้นโดย Mark Zuckerberg Amazon.com ได้กำไรจากการขายสินค้าออนไลน์เป็นอันดับหนึ่ง
2004-2006
Google ซื้อโดเมนเนมของ Youtube ด้วยราคา 14 ล้านเหรียญ ดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งถือว่าป็นราคาที่แพงที่สุด
2007
ในสหรัฐมีผู้ใช้ บรอดแบนด์มากถึง 200 ล้านคน Google adwords ได้รับรายได้มากกว่า 21 พันล้านเหรียญ ดอลลาห์สหรัฐ
2010-2011
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปสู่การค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ, สังคมออนไลน์, เว็บที่รวบรวมสินค้าเพื่อการขาย ซึ่งมีส่วนลดพิเศษ และการขายส่วนบุคคลบนเว็บ
ผลลัพธ์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อขายและซื้อสินค้าทุกที่ทุกเวลา ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ขายสามารถแสดงสินค้าของพวกเขาโดยการโชว์ภาพของสินค้าบนหน้าเว็บ และใส่รายละเอียดและราคาของสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยลดต้นทุนของการเช่าร้าน, ลดแรงงานในการขายสินค้า บางเว็บไซต์มีเว็บบอร์ดเพื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ข้อดีและข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดี
- ช่วยในการซื้อขายและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ
- ช่วยให้ลูกค้าเห็นสินค้าและบริการหรือการสั่งซื้อสินค้าจากทุกที่ทุกเวลา
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถวิเคราะห์การตลาดและการจัดเก็บพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการผ่านเว็บไซต์
- ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางและค่าเช่าหน้าร้าน
- ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการต่อรองราคาจากลูกค้า เพราะเป็นราคาที่กำหนดตายตัวแล้ว นอกเสียจากมีการเปลี่ยนแปลงราคาจากผู้ขายเท่านั้น
- ลูกค้าสามารถชำระเงินได้อย่างง่ายดาย โดยการจ่ายเงินผ่านทางบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ
- สามารถให้บริการหลังการขายเป็นอย่างดี โดยผู้ขายใช้อีเมล์เพื่อติดต่อลูกค้า และพวกเขายังสามารถสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อเสีย
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
- ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
- ขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
- ขาดการสนับสนุนทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์
- ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
- การดำเนินงานของภาษีเกี่ยวกับธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์ยังไม่มีความชัดเจน
- เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวทางอินเทอร์เน็ต เช่น เลขที่บัตรเครดิต
3. กรณีตัวอย่าง
อินเทอร์เน็ต: Amazon.com เริ่มต้นจากการเป็นร้านหนังสือออนไลน์ แต่ในปัจจุบันมีการขายสินค้าที่หลากหลายขึ้น เช่น การขายดีวีดี, ซีดี, ดาวน์โหลด MP3, ซอฟแวร์คำนวณ, วิดีโอเกม, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เฟอร์นิเจอร์, อาหาร, และของเล่น นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Amazon.comเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบBusiness-to-Consumer ผู้บริโภคสามารถซื้อจาก Amazon ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต: Silicon Graphics, ใช้อินทราเน็ตเพื่อช่วยให้พนักงานของการสื่อสารและแลกเปลี่ยนแฟ้มงานได้ง่ายขึ้นและ และพวกเขายังใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Business to Consumer) บนอินทราเน็ตสำหรับการสนับสนุนแผนกจัดซื้อจัดจ้างของ บริษัท ฯ เพื่อให้พนักงานของทุกสาขาสามารถสั่งซื้อเครื่องใช้ในสำนักงานได้ตลอดเวลา
4. ข้อสรุป
ปัจจุบันการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือเครื่องมือที่สำคัญในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางเช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ซื้อเข้าถึงสินค้าและบริการได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถช่วยผู้ขายเก็บข้อมูลทางด้านพฤติกรรมการซื้อของผู้ซื้อเพื่อใช้ในการวางแผนทางการตลาดสำหรับการค้าขายในอนาคต ซึ่งถือว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจขององค์กรให้มากขึ้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่ออินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต