แพรวา

ผู้เขียน : แพรวา

อัพเดท: 18 พ.ค. 2011 14.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 14614 ครั้ง

สำหรับสกู๊ปบทสัมภาษณ์ Executive Interview ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากบริษัท ไทยนำโชค เท็กไทล์ ผู้นำทางด้านนวัตกรรมผ้าย้อมสีธรรมชาติและเส้นใยธรรมชาติ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และถือว่าเป็นนักค้นคว้าวิจัย จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์


นวัตกรรมกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ อย่างสร้างสรรค์


สำหรับสกู๊ปบทสัมภาษณ์ Executive Interview ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากบริษัท ไทยนำโชค เท็กไทล์ จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำทาง
ด้านนวัตกรรมผ้าย้อมสีธรรมชาติและเส้นใยธรรมชาติ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และยังถือว่าเป็นนักค้นคว้าวิจัย จนได้รับรางวัลต่างๆ
มากมาย    โดยเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์  สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงคุณภาพต้องดีเยี่ยม  และสิ่งสำคัญที่สุดคือ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ซึ่งบุคคลที่จะพาเราไปพบกับนวัตกรรมเหล่านั้น  คือ คุณบุณฑิต พงศาโรจนวิทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ   


                               

 
TPA: บริษัท ดำเนินธุรกิจเป็นมาอย่างไร?
คุณบัณฑิต
: บริษัท ไทยนำโชค เท็กไทล์ได้ ดำเนินกิจการทอผ้ามาประมาณ 20 ปีกว่าปีแล้วครับ   ซึ่งมีบริษัทในเครือ คือ บริษัท
เอสทีเท็กไทล์ จำกัด  ซึ่งผลิตการทอ เป็นโรงงานปั่นด้ายครับ

TPA: นวัตกรรมที่เกิดขึ้น แรงบันดาลใจและสิ่งกระตุ้น ให้คิดค้นนวัตกรรม เกิดขึ้นจาก
คุณบัณฑิต:
เกิดจากคำว่า  Nature is Future คือ
ธรรมชาติ คือ อนาคต จะสังเกตเห็นว่า เทคโนโลยี หรือสิ่งประดิษฐ์หลายๆ อย่างในปัจจุบันนั้นเลียนแบบคุณสมบัติของธรรมชาติ ยกตัวอย่างในสิ่งทอ คือ โพลิเอสเตอร์เลียนแบบคุณสมบัติของฝ้าย  เรย่อนเลียนแบบคุณสมบัติของไหม อะคริลิคเลียนแบบคุณสมบัติ
ของขนสัตว์

                          85203_DSC00325.JPG  85203_1.jpg   85203_Naturopathy.JPG

TPA: มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากผ้าทอชนิดอื่นอย่างไรบ้าง?
คุณบัณฑิต:
คุณสมบัติพิเศษมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยจะย้อมด้วย ชา หมาก และครั่ง
2. เอาเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ข่า สัปปะรด โดยการเอาเส้นใยมาผสมฝ้ายและก็ปั่นเป็น
ด้ายเพื่อนำมาทอเป็นผ้า
3. การปั่นด้ายโดยใช้เครื่องปั่นด้าย “ไทยนำโชค” โดยเครื่องจะมีลักษณะคล้ายการปั่นมือ ทำ Small Lot และทำด้ายที่มีความ
หลากหลาย และมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ลักษณะดังกล่าว     ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครื่องปั่นด้ายของไทยนำโชค โดยเฉพาะ 

                   85203_Dress1.JPG85203_Dress.JPG     85203_C.JPG


TPA: การวางแผนการตลาดเพื่อขยายและพัฒนาธุรกิจในอนาคตเป็นอย่างไรบ้างและตลาดของลูกค้ามีที่ใดบ้าง?
คุณบัณฑิต:
นวัตกรรมในมุมมองของเรา และวิธีสำรวจความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่อสินค้าโดยการเข้าประกวดหลายๆงาน  หลังจากนั้น
ก็ได้รางวัลมา และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้น Marketing Point  ที่ช่วยในการทำตลาด การออกแสดงสินค้า หรือเสนอขายลูกค้า และกลุ่มตลาด
ที่ได้เข้าไป คือ กลุ่มเสื้อผ้าและเคหะสิ่งทอ ตลาดที่เน้น คือ ตลาดญี่ปุ่นกับยุโรป

TPA :  รางวัลที่ได้รับ มีอะไรบ้าง ?
คุณบัณฑิต :
 

   -รางวัลที่ได้คือรางวัลไทยสร้างสรรค์  สาขางานฝีมือและหัตถกรรม โดย OKMD และ โดยได้รับพระราชทานโล่เกียรติของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 


   -รางวัลชนะเลิศการออกแบบเชิงนวัตกรรม ด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม(Design Innovation Contest 2010 ของสำนักงานนวัตกรรม

 
   -รางวัล DEmark  ( The Winners of Design Excellence Award 2010 )  ประเภท  Fashion Products

85203_DEMARK.JPG


   สุดท้ายก็คือรางวัล  PM’s Creative Award   คือ รางวัลนายกรัฐมนตรี ผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดีเด่น

85203_kbundid.JPG


TPA: มองตลาดในอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยอย่างไร?
คุณบัณฑิต:
สิ่งทอในประเทศไทยขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการซื้อสินค้า สังเกตุได้จากลูกค้าที่เคยซื้อจากจีนเริ่มจะหันมาซื้อ
ทางอาเซียน (ASEAN) มากขึ้นโดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับประเทศเราครับ

TPA: การได้รับรางวัล มีผลดีกับบริษัทอย่างไรบ้าง?
คุณบัณฑิต:
เป็นทั้งความภาคภูมิใจ และเป็นจุด Marketing point ที่สามารถนำไปใช้ในการนำเสนอความหลากหลายและความ
พิเศษของผ้า ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นครับ 




        ที่มารางวัลไทยสร้างสรรค์
        สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน)จัดทำโครงการ OKMD Creative Awards ขึ้นเพื่อคัดเลือกธุรกิจที่มีผลงานเชิงสร้างสรค์เข้ารับรางวัลพระราชทาน  ‘’ไทยสร้างสรรค์’’ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมกุมารีรางวัลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลจให้ผู้ประกอบการทุกระดับมีความิเริ่มสร้างสรรค์ เกิดความอุตสาหะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม รวมทั้งเพื่อขยายแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปยังภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

      รางวัล ‘’ไทยสร้างสรรค์’’ประจำปี 2553
มี 6 รางวัล จำแนกเป็น 2 สาขา
   สาขางานฝีมือและหัตถกรรม 3 รางวัล  รกิจที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือกได้แก่กิจการผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์งานจักสาน ถักทอ เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ในครัว เรือนทำจากไม้ ดอกไม้ใบไม้ประดิษฐ์ เรามิกและเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับเพชรพลอยเจียระไนหรือเพชรพลอยร่วง โดยเป็นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คนมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 50 ล้านบาท
   สาขางานออกแบบ 3 รางวัล ธุรกิจที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือก แก่ บุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานออกแบบ ครอบคลุมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว เครื่องแก้ว ของเล่นและอื่นๆ โดยไม่จัดขนาดธุรกิจ ภายใต้หัวเรื่อง การประกวด คือ The most Innovative Design ซึ่งเน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ที่มีแนวคิดไม่เหมือนใคร (Originality)
     เกณฑ์การพิจารณามอบรางวัล ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1.ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
2.ความเป็นได้ทางธุรกิจ (Business Opportunity)
   ศักยภาพในการประกอบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Business Potentials)
3.ประโยชน์ใช้สอย (Functionality) ของผลิตภัณฑ์ / คุณภาพ (Quality)
4.ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Benefits and Environmentel Responsibility)
    


รางวัลทีได้รับ
- โล่พระราชทาน ‘’ไทยสร้างสรรค์’’ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- ใบเกียรติบัตร
- เงินรางวัลๆละ 100,000 บาท
ธุกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับรางวัลพระราชาน ‘’ไทยสร้างสรรค์’’ ประจำปี 2553 สาขางานฝีมือและหัตกรรม
บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด ผู้ผลิตผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
      คุณค่าที่สมควรได้รับรางวัล
มีกานำวัสดุธรรมชาติเหลือใช้และภูมิปัญญท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถใช้งานได้ดี และมีการวิจัยและพัฒนาเส้นใยจากธรรมชาติและสีธรรมชาติอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมการทำสิ่งทอที่น่าสนใจอีกทั้งยังมีโอกาสที่จะพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายช่องทางการตลาดในระยะต่อไป
      ข้อมูลธุรกิจเชงสร้างสรรค์
ก่อตั้งเมื่อปี 2535 ดำเนินกิจการทอผ้า ผลิตและจำหน่ายผ้าทอสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เคหะ สิ่งทอ รองเท้า กระเป๋า บรรจุภัณฑ์ ผ้าเคลือบพียูและพีวีซี เป็นต้น บริษัทให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผ้าทอมีความหลากหลาย (Varieties & Differentiate) มีความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative & Innovative) ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ( Dynamic changes & requirement) โดยมีการนำวัสดุเหลือใช้จากธรมชาติมาปั่นเป็นเส้นด้ายและทอผ้า มีการวิจัยการย้อมสีธรรมชาติจากใบชา หมาก ใบหูกวาง ครั่ง เปลือกกาแฟ บนเส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และเสื้อผ้า รวมทั้งบริษัทยังได้สร้างเครื่องปั่นด้ายต้นแบบ ‘’ไทยนำโชค’’ ที่มีจุดเด่น คือ ลักษณะของเส้นด้ายที่ผลิตออกมามีลักษณะและลวดลายพิเศษกว่าการปั่นด้วยมือหรือเครื่องจักร ทำให้เกิด Texture ที่หลากหลาย มีน้ำหนักเบา และสัมผัสที่นุ่มเหมาะแก่การสวมใส่ อีกทั้งยังได้รับการรับรอง มาตรฐาน  ISO 9002 จาก SGS อีกด้วย
      คุณลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติที่เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ เช่น ใยกล้วย ใยข่า ใยไผ่ ใยคล้า ใยแฝก มาปั่นด้วย เครื่องปั่นด้วย ‘’ไทยนำโชค’’ ทอจนได้ผ้าไหมและฝ้ายผสม ใยกล้วย ผ้าที่ใช้ชาและหมากย้อมเส้นด้าย ผ้าย้อมครามและฝ้ายสีธรรมชาติ จึงเป็นการผลิตผ้าทอที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมที่ใช้ทั้งสารเคมี สีสังเคราะห์และพลังงานที่ใช้ในการฟอกย้อม


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที