TPA: นวัตกรรมที่เกิดขึ้น แรงบันดาลใจและสิ่งกระตุ้น ให้คิดค้นนวัตกรรม เกิดขึ้นจาก
คุณบัณฑิต: เกิดจากคำว่า Nature is Future คือ
ธรรมชาติ คือ อนาคต จะสังเกตเห็นว่า เทคโนโลยี หรือสิ่งประดิษฐ์หลายๆ อย่างในปัจจุบันนั้นเลียนแบบคุณสมบัติของธรรมชาติ ยกตัวอย่างในสิ่งทอ คือ โพลิเอสเตอร์เลียนแบบคุณสมบัติของฝ้าย เรย่อนเลียนแบบคุณสมบัติของไหม อะคริลิคเลียนแบบคุณสมบัติ
ของขนสัตว์
TPA: มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากผ้าทอชนิดอื่นอย่างไรบ้าง?
คุณบัณฑิต: คุณสมบัติพิเศษมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยจะย้อมด้วย ชา หมาก และครั่ง
2. เอาเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ข่า สัปปะรด โดยการเอาเส้นใยมาผสมฝ้ายและก็ปั่นเป็น
ด้ายเพื่อนำมาทอเป็นผ้า
3. การปั่นด้ายโดยใช้เครื่องปั่นด้าย ไทยนำโชค โดยเครื่องจะมีลักษณะคล้ายการปั่นมือ ทำ Small Lot และทำด้ายที่มีความ
หลากหลาย และมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ลักษณะดังกล่าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครื่องปั่นด้ายของไทยนำโชค โดยเฉพาะ
TPA: การวางแผนการตลาดเพื่อขยายและพัฒนาธุรกิจในอนาคตเป็นอย่างไรบ้างและตลาดของลูกค้ามีที่ใดบ้าง?
คุณบัณฑิต: นวัตกรรมในมุมมองของเรา และวิธีสำรวจความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่อสินค้าโดยการเข้าประกวดหลายๆงาน หลังจากนั้น
ก็ได้รางวัลมา และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้น Marketing Point ที่ช่วยในการทำตลาด การออกแสดงสินค้า หรือเสนอขายลูกค้า และกลุ่มตลาด
ที่ได้เข้าไป คือ กลุ่มเสื้อผ้าและเคหะสิ่งทอ ตลาดที่เน้น คือ ตลาดญี่ปุ่นกับยุโรป
TPA : รางวัลที่ได้รับ มีอะไรบ้าง ?
คุณบัณฑิต :
-รางวัลที่ได้คือรางวัลไทยสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและหัตถกรรม โดย OKMD และ โดยได้รับพระราชทานโล่เกียรติของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
-รางวัลชนะเลิศการออกแบบเชิงนวัตกรรม ด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม(Design Innovation Contest 2010 ของสำนักงานนวัตกรรม)
-รางวัล DEmark ( The Winners of Design Excellence Award 2010 ) ประเภท Fashion Products
สุดท้ายก็คือรางวัล PMs Creative Award คือ รางวัลนายกรัฐมนตรี ผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดีเด่น
TPA: มองตลาดในอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยอย่างไร?
คุณบัณฑิต: สิ่งทอในประเทศไทยขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการซื้อสินค้า สังเกตุได้จากลูกค้าที่เคยซื้อจากจีนเริ่มจะหันมาซื้อ
ทางอาเซียน (ASEAN) มากขึ้นโดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับประเทศเราครับ
TPA: การได้รับรางวัล มีผลดีกับบริษัทอย่างไรบ้าง?
คุณบัณฑิต: เป็นทั้งความภาคภูมิใจ และเป็นจุด Marketing point ที่สามารถนำไปใช้ในการนำเสนอความหลากหลายและความ
พิเศษของผ้า ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นครับ
ที่มารางวัลไทยสร้างสรรค์
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน)จัดทำโครงการ OKMD Creative Awards ขึ้นเพื่อคัดเลือกธุรกิจที่มีผลงานเชิงสร้างสรค์เข้ารับรางวัลพระราชทาน ไทยสร้างสรรค์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมกุมารีรางวัลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลจให้ผู้ประกอบการทุกระดับมีความิเริ่มสร้างสรรค์ เกิดความอุตสาหะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม รวมทั้งเพื่อขยายแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปยังภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
รางวัล ไทยสร้างสรรค์ประจำปี 2553
มี 6 รางวัล จำแนกเป็น 2 สาขา
สาขางานฝีมือและหัตถกรรม 3 รางวัล รกิจที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือกได้แก่กิจการผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์งานจักสาน ถักทอ เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ในครัว เรือนทำจากไม้ ดอกไม้ใบไม้ประดิษฐ์ เรามิกและเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับเพชรพลอยเจียระไนหรือเพชรพลอยร่วง โดยเป็นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คนมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 50 ล้านบาท
สาขางานออกแบบ 3 รางวัล ธุรกิจที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือก แก่ บุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานออกแบบ ครอบคลุมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว เครื่องแก้ว ของเล่นและอื่นๆ โดยไม่จัดขนาดธุรกิจ ภายใต้หัวเรื่อง การประกวด คือ The most Innovative Design ซึ่งเน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ที่มีแนวคิดไม่เหมือนใคร (Originality)
เกณฑ์การพิจารณามอบรางวัล ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1.ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
2.ความเป็นได้ทางธุรกิจ (Business Opportunity)
ศักยภาพในการประกอบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Business Potentials)
3.ประโยชน์ใช้สอย (Functionality) ของผลิตภัณฑ์ / คุณภาพ (Quality)
4.ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Benefits and Environmentel Responsibility)
รางวัลทีได้รับ
- โล่พระราชทาน ไทยสร้างสรรค์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- ใบเกียรติบัตร
- เงินรางวัลๆละ 100,000 บาท
ธุกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับรางวัลพระราชาน ไทยสร้างสรรค์ ประจำปี 2553 สาขางานฝีมือและหัตกรรม
บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด ผู้ผลิตผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
คุณค่าที่สมควรได้รับรางวัล
มีกานำวัสดุธรรมชาติเหลือใช้และภูมิปัญญท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถใช้งานได้ดี และมีการวิจัยและพัฒนาเส้นใยจากธรรมชาติและสีธรรมชาติอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมการทำสิ่งทอที่น่าสนใจอีกทั้งยังมีโอกาสที่จะพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายช่องทางการตลาดในระยะต่อไป
ข้อมูลธุรกิจเชงสร้างสรรค์
ก่อตั้งเมื่อปี 2535 ดำเนินกิจการทอผ้า ผลิตและจำหน่ายผ้าทอสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เคหะ สิ่งทอ รองเท้า กระเป๋า บรรจุภัณฑ์ ผ้าเคลือบพียูและพีวีซี เป็นต้น บริษัทให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผ้าทอมีความหลากหลาย (Varieties & Differentiate) มีความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative & Innovative) ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ( Dynamic changes & requirement) โดยมีการนำวัสดุเหลือใช้จากธรมชาติมาปั่นเป็นเส้นด้ายและทอผ้า มีการวิจัยการย้อมสีธรรมชาติจากใบชา หมาก ใบหูกวาง ครั่ง เปลือกกาแฟ บนเส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และเสื้อผ้า รวมทั้งบริษัทยังได้สร้างเครื่องปั่นด้ายต้นแบบ ไทยนำโชค ที่มีจุดเด่น คือ ลักษณะของเส้นด้ายที่ผลิตออกมามีลักษณะและลวดลายพิเศษกว่าการปั่นด้วยมือหรือเครื่องจักร ทำให้เกิด Texture ที่หลากหลาย มีน้ำหนักเบา และสัมผัสที่นุ่มเหมาะแก่การสวมใส่ อีกทั้งยังได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 9002 จาก SGS อีกด้วย
คุณลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติที่เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ เช่น ใยกล้วย ใยข่า ใยไผ่ ใยคล้า ใยแฝก มาปั่นด้วย เครื่องปั่นด้วย ไทยนำโชค ทอจนได้ผ้าไหมและฝ้ายผสม ใยกล้วย ผ้าที่ใช้ชาและหมากย้อมเส้นด้าย ผ้าย้อมครามและฝ้ายสีธรรมชาติ จึงเป็นการผลิตผ้าทอที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมที่ใช้ทั้งสารเคมี สีสังเคราะห์และพลังงานที่ใช้ในการฟอกย้อม
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที