SHE Zone

ผู้เขียน : SHE Zone

อัพเดท: 25 ก.พ. 2012 11.16 น. บทความนี้มีผู้ชม: 7645 ครั้ง

สารเคมีเป็นสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษในตัวมันเอง ดังนั้นความท้าทายอยู่ตรงที่ว่าจะใช้ประโยชน์จากสารเคมีอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และปลอดภัย โดยปราศจากโทษต่อตัวเรา


กุญแจ 5 ดอกในการป้องกันการสัมผัสสารเคมี

136264_rsz_prevent_exposure.jpg

         สารเคมีเป็นสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษในตัวมันเอง ที่เป็นคุณก็คือเรานำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ อย่างทั้งในชีวิตประจำวัน และในทางอุตสาหกรรม และที่เป็นโทษคือมันสามารถทำอันตรายให้กับผู้ใช้งานได้ ดังนั้นความท้าทายอยู่ตรงที่ว่าจะใช้ประโยชน์จากสารเคมีอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และปลอดภัย โดยปราศจากโทษต่อตัวเรา ซึ่งบทความนี้ได้นำแนวทางกุญแจ 5 ดอก
(PHKEY) ในการป้องกันการสัมผัสสารเคมีมาฝากกันค่ะ
        
ทุก ๆ ครั้งที่ต้องทำงานกับสารเคมี/วัตถุอันตราย มักจะได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสด้วยทุกครั้ง ซึ่งการหลีกเลี่ยง/ป้องกันการสัมผัสกับสารเคมี/วัตถุอันตราย อย่างมีชั้นเชิงหรือกลยุทธ์ ตามหลัก PHKEY ประกอบด้วย
           1.     PPE อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล. (P)

            ·         ควรอ่านฉลากกำกับสารเคมี หรือเอกสารกำกับสารเคมีทุกครั้งก่อนการปฎิบัติงานกับสารเคมีอันตราย

         เพื่อที่จะได้ทราบถึงชนิดของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการป้องกันตัว.

            ·         ควรมีการตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้งก่อนใช้งานว่ามีสภาพพร้อมใช้

         งานหรือไม่ และเมื่อปฎิบัติงานเสร็จก็ควรทำการถอด และกำจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างถูกวิธี

         เช่นกัน

           2.     Safe Handling การปฎิบัติงานที่ปลอดภัย (H)

            ·         ควรทำการตรวจเช็คสภาพภาชนะบรรจุสารเคมีเป็นประจำ และรายงานผู้เกี่ยวข้องหากพบการรั่วไหล

          หรือฉลากกำกับชำรุด หรือไม่มีฉลากกำกับ.

            ·         ควรถ่ายเทสารเคมีออกมาใช้งานเท่าที่จำเป็น และปิดฝาภาชนะทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน

            ·         ควรใช้ระบบระบายอากาศเพื่อระบายไอระเหยของสารเคมี

            ·         ควรเก็บสารเคมีอันตรายให้ห่างจากสารที่สามารถทำปฎิกริยากันได้

           3      Knowledge   ความรู้ความเข้าใจ (K)

            ·        ผู้ที่ปฎิบัติงานกับสารเคมีต้องให้ความสนใจกับการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัยและนำไปใช้ในการปฎิบัติงาน

         ดังนั้นเมื่อพนักงานมาเข้ารับการฝึกอบรมหรือประชุม พนักงานจึงควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าและให้ความสนใจ

         กับการเรียนรู้

            ·        ผู้ที่ปฎิบัติงานกับสารเคมีต้องทำความรู้จักหรือเรียนรู้ในเรื่องฉลากกำกับสารเคมี และเอกสารกำกับสารเคมี

         ซึ่งรวมถึง คำศัพท์ทางเทคนิคต่าง ๆ คำเตือน สัญญลักษณ์ต่าง ๆ  เป็นต้น

            4.     Emergency Response การตอบสนองกรณีฉุกเฉิน. (E)

             ·         เมื่อผู้ปฎิบัติงานพบสารเคมีหกรั่วไหลควรรายงานผู้เกี่ยวข้องทันที และดำเนินการจัดการตามความเหมาะสม

          ตามที่ได้รับการอบรมมา หากไม่รับการอบรมก็ให้ออกจากบริเวณที่มีการหกรั่วไหล และให้ทีมงานที่ได้รับการ

          อบรมมาเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขหรือทำความสะอาด.

             ·         ผู้ปฎิบัติงานควรมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีสัมผัสสารเคมีทั้งทางการหายใจ การสัมผัสทาง

            5.    Good Hygiene สุขอนามัยที่ดี (Y)

            ·         ควรล้างมือหรือทำความสะอาดร่างกายหลังการปฎิบัติงานทุกครั้ง

            ·         ควรเก็บอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวอื่น  ๆ ให้ห่างจากสารเคมีเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

 

         ลองเปิดใจเรียนรู้และปฎิบัติตามกันดูนะค่ะ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานค่ะ

         หากอ่านแล้วเห็นว่าดี มีประโยชน์ อย่าลืมช่วยโหวตเป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะค่ะ

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที