5. Improve constantly and forever the system of production and service, to improve quality and productivity, and thus constantly decrease costs.
ต้องพัฒนาระบบการผลิต รวมทั้งการให้บริการอย่างต่อเนื่องและตลอดไป เพื่อยกระดับคุณภาพ ผลผลิต และการลดต้นทุน
ในหัวข้อนี้ ดร. เด็มมิ่ง ให้ข้อคิดสำคัญ 5 ประการเพิ่มเติมคือ
1. การพัฒนาคุณภาพไม่ใช่งานที่ทำครั้งเดียวเสร็จ แต่เป็นงานที่ต้องค่อยๆทำ ค่อยๆไป และต่อเนื่องตลอดไป (ตามแนวคิดการบริหารงานสมัยใหม่ ว่าไม่มีวิธีการใดที่พัฒนาถึงที่สุดแล้วในโลกนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมมีเทคโนโลยีที่ดีกว่า
2. การพัฒนาคุณภาพจะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์
3. โดยลำพังของตัวพนักงานแต่ละคนแล้ว พวกเขาจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของงานไม่ได้มาก ระบบงาน และการบังคับบัญชาของฝ่ายจัดการเท่านั้นที่จะเอื้ออำนวยให้การปรับปรุงคุณภาพเป็นไปอย่างมีคุณประโยชน์
4. การค้นพบปัญหาคุณภาพจากการตรวจสอบ แล้วหาทางแก้ไขปัญหานั้น เหมือนการค้นพบจุดที่ไฟไหม้ประจำวัน แต่ไม่ใช่การปรับปรุงคุณภาพ (PUTTING OUT A FIRE IS NOT IMPROVEMENT)
5. การใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพเพียงอย่างเดียว เป็นหนทางที่นำไปสู่การพาองค์การออกไปจากธุรกิจ องค์การใดๆก็ตามจะต้องศึกษากระบวนการผลิตและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้
ดร. เด็มมิ่ง กล่าวว่า A PROCESS THAT IN A STATE OF STATISTICAL CONTROL CAN BE IMPROVE ONLY BY STUDY OF THE PROCESS เพื่อเตือนใจว่า อย่าหยุดการพัฒนาคุณภาพ เพียงเพราะว่าได้มีการใช้หลักสถิติในการควบคุมกระบวนการผลิต และผลการดำเนินการผลิตได้อยู่ภายในเส้นกราฟควบคุมแล้ว เพราะการที่กระบวนการผลิตอยู่ใต้การควบคุม มิได้แปลว่า เกิดการพัฒนา เพราะหากมองลึกๆ มันเป็นเพียงแค่การรักษาสภาพให้ทำงานได้ตามสเป็กเท่านั้น เว้นแต่จะมีการใช้เพื่อการปรับปรุงไปเรื่อยๆ โดยการบีบเส้น Upper และ Lower Control Limit ดังนั้นคุณภาพจะต้องไปพัฒนาที่กระบวนการผลิตเท่านั้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที