หลายคนอาจจะสงสัยว่า การดำเนินกิจกรรมของ Lean Manufacturing นั้น ระหว่าง Top down management และ Bottom up นั้น ควรจะเริ่มจากตรงไหน การแปรนโยบาย สู่ภาคปฏิบัตินั้น ควรจะทำอย่างไร และควรจะมีองค์กร หรือ การจัดโครงสร้างองค์กรอย่างไร ให้สามารถที่จะ นำระบบ Lean เข้ามาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านๆมาก็มีหลายในทางที่เริ่มกัน โดยจะขอพูดถึง การดำเนินการ Lean ที่นิยมโดยทั่วไปก่อนคือ
Bottom up การดำเนินการแบบ Bottom up เป็นอย่างไร โดยทั่วไปก็จะเริ่มจาก 5ส และ Suggestion Kaizen, QCC แล้วค่อยปรับปรุงไปทีละเล็กละน้อย โครงสร้างองค์กรนี้ จะมีลักษณะ แผนกใครแผนกมัน ดูแล 5ส. โดยแบ่งพื้นที่ กันรับผิดชอบ แต่ยังคงผลิตแบบ คราวละมากๆอยู่ ซึ่งหลายๆท่านก็คงคุ้นเคยดี อยู่แล้ว วิธีการนี้ให้ผลสำเร็จต่อ Lean เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอาจจะดูเหมือนว่า ไม่ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมากมาย ตามที่คาดหวังไว้ และถูกมองว่า Lean เป็นสิ่งที่ไกล กว่าจะไปถึง ในรูปแบบของ One piece Flow ในบทความต่อไป จะกล่าวถึง One piece Flow เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก หรือ สิ่งสุดท้ายที่คุณจะเป็น?
Top down Management การแปรนโยบายสู่ภาคปฏิบัตในกรณีนี้ จะเหมือนกับที่ Taiichi Ohno ได้เคยทำ เมื่อตอนที่เริ่มทำระบบ TPS ในครั้งแรก โดยการออกคำสั่งจากระดับสูง ในครั้งนั้นเอง Ohno ถึงกับเคยให้ ผู้จัดการที่ไม่ให้ด้วยกับเค้าออก กว่า 30% แต่ในตอนนั้น ยังเป็นการพัฒนาระบบ TPS อยู่ และลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง และได้รับความช่วยเหลือจาก Dr.Shingeo Shingo ในการพัฒนาเทคนิค ต่างๆ เพื่อให้ หลักการ JIT เป็นจริง เช่น Single Minute Exchange of Dies และ Zero Defect และจาก ประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า หากต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแห่ง Lean อย่างรวดเร็ว ต้องเริ่มจากตรงนี้ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว รวมถึงจะเกิดความร่วมมือกันทุกแผนก ตลอดทั้ง Supply Chain กล่าวได้ว่า การดำเนินการ Lean เหมือนในอดีตนั้น ยังคงให้ผลที่ดีเสมอ
ในทัศนะของผู้เขียน จะควรจะเริ่มจาก Top down ก่อน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อ ผู้บริหารระดับสูง มีนโยบายแข็งขันออกมา ก็จะเกิดความมั่นใจจากทุกระดับว่า หัวหน้าเอาจริง(เมื่อหัวมังกรขยับ)รวมถึงการสนับสนุนทีมงาน ในการทำงาน แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของการลดต้นทุน พร้อมๆกับ Lead time ที่เร็วขึ้น แล้วจึงใช้ Bottom up เมื่อต้องการปรับปรุง ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย ในการทำงานของพนักงาน บนหลักการที่ว่า Get more with Less Effort.
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที