นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4371073 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล

3.4 หน่วยของความแข็ง

      

      ทั้งหน่วยเวลา (วินาที, นาที, ชั่วโมง ฯลฯ), น้ำหนัก (นิวตัน, ปอนด์), ระยะทาง (เมตร, ไมล์ ฯลฯ)  ต่างก็มีหน่วยที่ใช้เรียกขานในการวัดทั้งนั้น ความแข็งก็มีหน่วยที่ใช้เรียกเช่นกันหน่วยวัดความแข็งนั้นมีการเรียกกันอยู่หลายหน่วย ยกตัวอย่างเช่น BHN, DPH, หน่วยชอร์ (Shore units), หน่วยคนูบ (Knoop units), RC และ15N (จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป) ในทางสากลจะไม่มีการใช้หน่วยใดหน่วยหนึ่งเฉพาะ แต่มันจะขึ้นอยู่กับวิธีการ และเครื่องทดสอบ ที่จะใช้ตรวจสอบชิ้นงาน หรือทำการเทียบค่าความแข็งจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยหนึ่งได้ โดยจะมีตารางเปรียบเทียบค่าความแข็ง       

 

3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง

 

      มีวิธีการทดสอบในการหาค่าความแข็ง และเครื่องทดสอบความแข็งซึ่งมีอยู่มากมาย ให้เลือกใช้งาน ในหนังสือเล่มนี้จะทำการทดสอบความแข็งอยู่ 9 แบบ ซึ่งแต่ละวิธีจะมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในการที่จะนำวิธีใดวิธีหนึ่งมาทำการทดสอบ จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่ทดสอบเองที่จะเลือกใช้งาน

 

วิธีการทดสอบความแข็งในหนังสือเล่มนี้มีได้แก่

 

·       กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล (Brinell hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบบริเนล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

·       การทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบวิคเกอร์ (Vickers microhardness)

 

รูปตัวอย่างเครื่องทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบวิกเกอร์

 

·       การทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบคนูบ (Knoop microhardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบคนูบ

 

·       วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล (Rockwell Hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

·       วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ (Rockwell Superficial hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ

 

·       วิธีการทดสอบควาแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป (Shore Scleroscope hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคป

 

·       กรรมวิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ (Sonodur hardness)

·       วิธีการทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล (Mohs Scale hardness)

 

รูปการทดสอบโดยการเปรียบเทียบแบบโมห์สเกล

 

·       วิธีการทดสอบความแข็งแบบตะไบ (File hardness)

 

รูปตัวอย่างตะไบที่นำมาทดสอบความแข็ง

 

3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

       กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่ง แสดงในรูป ที่ปลายหัวกดจะใช้ลูกบอลโลหะกดชิ้นงานทดสอบให้เกิดรอยบุ๋ม ลูกบอลกดทำมาจาก ทังสเตนคาร์ไบน์ (Tunsten-carbide) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 10 มิลลิเมตร โดยทั่วไปแรงที่ใช้ในการทดสอบอยู่ที่ 3000 กิโลกรัม โดยมีการใช้แรงเบื้องต้นจากการหมุนทั่งวางงาน (Anvil) เข้าไปกดเป็นอันดับแรกด้วยแรงกด 500 กิโลกรัม เป็นเบื้องต้น จากนั้นก็ใช้หัวกดเลื่อนกดลงมาอีก 2500 กิโลกรัม แรงที่กระทำควรจะค้างอยู่บนชิ้นงานอย่างน้อย 15 วินาที สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งชิ้นงานทดสอบควรจะ ราบเรียบ, อยู่ในระนาบ, สะอาด และวางในแนวนอน  ส่วนหน่วยที่ใช้วัดก็คือ BHN

 

รูปหัวกด และลูกบอลทำจากทังสเตนคาร์ไบน์

 

      ลูกบอลโลหะถูกกระทำด้วยแรงกดที่มีมากกระทำกับชิ้นงานตัวอย่าง จนชิ้นงานที่ทำการทดสอบบุ๋มเป็นวงกลมลึกลงไปในชิ้นงานเป็นจุดเล็ก ๆ ไม่ทำให้รูปร่างชิ้นงานผิดเพี้ยนไปมากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ของชิ้นงานส่วนใหญ่ ข้อด้อยของการทดสอบแบบบริเนลก็คือ มันไม่สามารถใช้ทดสอบกับชิ้นงานที่มีความบางมากได้

วิดีโอการทดสอบแบบบริเนล

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“พูดให้ช้า แต่ต้องคิดให้เร็ว”

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที