นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4298867 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


78 การคิดค่าความแข็งจากแผนภาพ, การพล็อตแผนภาพ

13.10 การคิดค่าความแข็งโดยดูจากแผนภาพ

 

      ค่าความแข็งสำหรับโครงสร้างที่ต่างกันของเหล็กกล้า สามารถคำนวณได้โดยการใช้สเกลค่าความแข็งทางด้านขวาของแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม โดยปกติค่าความแข็งที่ใช้วัดในแผนภาพจะเป็นค่าความแข็งแบบสเกลร็อคเวลซี  ดูที่รูป

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหรรม เหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

 

รูปตัวอย่างการนำไปใช้งาน

 

ค่าที่ใช้อ่านอยู่ในแนวเส้นตั้งทางด้านขวาของแผนภาพ ประกอบติดกันกับเส้นอุณหภูมิ-เวลา ที่มีการลากเส้นกราฟเปลี่ยนแปลงตามการชุบแข็งของเหล็กกล้า

 

      ในการกำหนดค่าความแข็งให้เป็นไปตามต้องการโดยทั่วไปไม่สามารถคำนวณได้แน่นอน แต่สามารถประมาณการของช่วงค่าความแข็งได้ โดยระบุค่าของความแข็งระหว่างช่วงค่าความแข็งต่ำสุด และค่าความแข็งสูงสุด ค่าของความแข็งถ้าดูจากแผนภาพแล้วจะเห็นว่าด้านบนจะเป็นค่าความแข็งที่ต่ำ (อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูง) เมื่อทำให้เหล็กเย็นตัวค่าความแข็งมันจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น

 

      การอ่านค่าความแข็งก็คืออ่านจากแนวเส้นเวลาที่ลากไปถึงเส้นโค้งซีจากเส้นกราฟทางด้านซ้ายลากผ่านเส้นโค้งซีทางด้านขวา นี่คือช่วงของการอ่านค่าความแข็ง แต่ถ้าแนวเส้นเวลาลากไม่ผ่านเส้นโค้งซี ก็จะคิดค่าความแข็งเมื่อเข้าสู่บริเวณมาเทนไซต์  

 

      ยกตัวอย่างการอ่านช่วงค่าความเข็งในเหล็กกล้าเอไอเอสไอ 52100

 

รูปแผนภาพไอทีอุตสาหกรรมที่มีแนวเส้นเวลาดูค่าความแข็งของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 52100

 

จะเห็นว่า

แนวเส้นเวลา A ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 18 Rc ถึง 28 Rc  

 

แนวเส้นเวลา B ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 28 Rc ถึง 53 Rc

 

แนวเส้นเวลา C ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 32 Rc ถึง 66 Rc

 

แนวเส้นเวลา D ค่าของความแข็งอยู่ระหว่าง 58 Rc ถึง 66 Rc

 

 

13.11 การพล็อตแผนภาพไอที

 

      นักโลหะวิทยา และองค์กรที่มีหน้าที่ผลิตเหล็กกล้า ได้สร้างแผนภาพไอทีขึ้นมา โดยใช้ข้อมูลจากพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของกลุ่มทดสอบที่ได้จากการชุบแข็งในเหล็กกล้า โดยมีการพล็อตเก็บเอาไว้อย่างมากมาย มีการใช้ชิ้นงานทดสอบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มิลลิเมตร (1²) หรือชิ้นงานที่มีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร (1/16²)

 

      ในแต่ละชิ้นงานตัวอย่างจะถูกให้ความร้อนเกิน แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง แล้วจากนั้นก็นำไปทำการชุบแข็ง ซึ่งวิธีการทำความเย็นชุบแข็งจะมีวิธีการที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้นงานตัวอย่าง

 

      ในส่วนที่แสดงให้เห็นถึงแนวเส้นเวลาที่เป็นอุณหภูมิคงที่ จากชิ้นงานตัวอย่างจะทำการคงความร้อนเอาไว้ในระหว่างการชุบแข็ง อาทิเช่น ชิ้นงานตัวอย่างชิ้นหนึ่งอาจคงความร้อนไว้ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่โดยให้ความร้อนแช่ไว้ที่อุณหภูมิ 260 °C (500 °F), 427 °C (800 °F) หรือ 538 °C (1000 °F)

 

      หลังจากนั้นชิ้นงานตัวอย่างที่ถูกให้ความร้อนก็ถูกนำออกจากเตา จากนั้นก็ไปทำการชุบแข็ง แล้วทำการทดสอบเพื่อหาค่าความแข็ง จากข้อมูลชิ้นงานตัวอย่างเหล่านี้ ก็นำไปสู่การพล็อตกราฟรูปร่างจริงของเส้นโค้งตัวซี นำข้อมูลมาใช้พล็อตเป็นแผนภาพ แล้วก็นำมาเทียบกับการคำนวณ ก็จะเหมือน หรือใกล้เคียงกันในการคำนวณหาค่าความแข็งสำหรับสเกลความแข็งในแผนภาพ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถึงจะรู้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ก็ไม่สู้รู้เรื่องดับทุกข์
ถึงจะทำได้ร้อยอย่างพันอย่าง
ก็ไม่สู้ทำใจ....”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที