74 เส้นอุณหภูมิเวลา, การนำไปใช้ และอาณาบริเวนในแผนภาพไอที
13.3 เส้นอุณหภูมิ-เวลา
รูปแผนภาพไอที
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
เส้นอุณหภูมิ-เวลา (Temperature-time line) (เรียกเส้นเวลา (Timeline)) ที่แสดงในแผนภาพด้านบน ไอ-ที แนวเส้นไปตามทางของอุณหภูมิของเหล็กกล้าหลังจากเริ่มการชุบแข็ง เส้นนี้แสดงความก้าวหน้าของแต่ละช่วงของการชุบแข็ง
อันดับแรกเหล็กกล้าถูกให้ความร้อนเหนือแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ถึง 927 °C (1700°F) ณ จุด A สถานะนี้มีความพร้อมสำหรับการชุบแข็งแล้ว เมื่อทำการชุบแข็งอุณหภูมิจะลดลงจากจุด A ไปจนถึง 370 °C (700°F) ที่เป็นจุด B ใช้เวลา 10 วินาที เมื่อเหล็กกล้าไปถึงจุด B ทำการคงความร้อนเพื่อให้อุณหภูมิคงที่
แช่เหล็กกล้าไว้ที่ความร้อนอุณหภูมิ 370 °C เป็นเวลา 90 วินาที จนกระทั่งมันเคลื่อนไปถึงจุด C จนในที่สุดก็ ถูกทำความเย็นอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่จุด D
รูปการเปรียบเทียบการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว กับการทำความเย็นอย่างช้า ๆ
ในรูปกราฟ จะเป็นการเปรียบเทียบการชุบแข็งอย่างเร็ว กับการทำความเย็นอย่างช้า ๆ แสดงเส้นร่วมกัน เส้นวี1 (V1) แสดงถึงเหล็กกล้าที่มีการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว มันสามารถไปถึงอุณหภูมิห้องได้ภายใน 2 วินาที ส่วนอีกสองเส้นที่เหลือวี 2 และวี 3 (V2 &V3) แสดงให้เห็นเหล็กกล้ามีการทำความเย็นช้ามาก ๆ บางครั้งใช้เวลาถึง 10,000 วินาที (เกือบ 3 ชั่วโมง) ก่อนที่มันจะไปถึงอุณหภูมิห้อง
รูปแผนภาพไอที
วิดีโอนำเสนอแผนภาพไอที
จากการเปรียบเทียบวิธีการทำความเย็นทั้งสองวิธี โดยแนวเส้นวี1 จะเปลี่ยนโครงสร้างทำให้เหล็กมีความแข็ง และความแข็งแกร่ง (โครงสร้างเป็นมาเทนไซต์) ส่วนแนวเส้นวี2 และวี3 จะเกิดขึ้นอย่างช้ากว่ามาก โดยจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างไปอย่างช้า ๆ จะกลายไปเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนต์ไต
13.4 ข้อจำกัดของแผนภาพไอที
ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของแผนภาพไอที ที่มีความเหนือกว่าเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน ก็คือแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเหล็กกล้าอ้างอิงไปกับเวลา แต่ถึงอย่างไร ในการใช้งานก็มีขีดจำกัด โดยแผนภาพไอทีไม่ได้แสดงเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในเนื้อเหล็กกล้า
ด้วยเหตุผลนี้ ไดอะแกรมไอทีต้องคอยเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์คาร์บอนใหม่ตลอดเวลา แต่ในการทำงานจริง แผนภาพไอทีมีความจำเป็นที่จะต้องพล็อตกราฟในเหล็กกล้าทุก ๆ ประเภท หรือเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอน เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน
13.5 การใช้งานแผนภาพไอที
แผนภาพไอที จะช่วยในการคำนวณโครงสร้างเหล็กกล้าได้อย่างไร จะได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำให้เหล็กกล้าเย็นตัวลงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ความแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบของแผนภาพไอทีอย่างง่ายดูที่รูป
แผนภาพไอทีที่ดูง่าย เหล็กกล้าสามารถผ่านความเปลี่ยนแปลงเฟสที่แตกต่างมันเป็นความเย็นจากแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง
โค้งรูปตัวซีทางด้านซ้ายชี้ให้เห็นถึงการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากโครงสร้างออสเตนไนต์ เพราะฉะนั้น เมื่อเส้นอุณหภูมิ-เวลาที่ด้านซ้ายเส้นโค้งตัวซี เหล็กกล้าจะมีสภาพเป็นออสเตนไนต์ 100% และยังคงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จนเมื่อเหล็กกล้าเริ่มเย็นตัว และข้ามผ่านเส้นโค้งตัวซีไปทางขวาทั้งคู่ก็จะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง (บางส่วนยังเป็นออสเตนไนต์อยู่)
บริเวณระหว่างเส้นโค้งซีฝั่งซ้าย และเส้นโค้งซีฝั่งขวา เป็นบริเวณเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโครงสร้างจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยทั้งหมดเริ่มจากโครงสร้างออสเตนไนต์จะเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างอื่น เช่น เพิลไลต์ หรือมาเทนไซต์
รูปตัวอย่างแผนภาพไอที
แนวจุดเส้นประในระหว่างเส้นโค้งตัวซี เป็น เส้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง 50% (50% transformation line) เมื่อกราฟเส้นอุณหภูมิ-เวลา ลากไปยังเส้นประ จะเกิดออสเตนไนต์ 50% และโครงสร้างอื่น 50% ตัวอย่างในรูปด้านบน เหล็กกล้าที่จุด ก จะเป็นออสเตนไนต์ 100% เมื่อไปถึงจุด ข จะประกอบไปด้วย ออสเตนไนต์ 50% และเพิลไลต์ 50% ที่จุด ค จะเกิดเป็นโครงสร้างเพิลไลต์ 100% ไม่มีออสเตนไนต์เหลืออยู่
13.6 อาณาบริเวณในแผนภาพไอที
มีอาณาเขตบริเวณมากมายที่เกิดขึ้นภายในแผนภาพไอที ในบริเวณออสเตนไนต์ (A) เป็นพื้นที่ที่อยู่ทางด้านซ้ายของบริเวณการเปลี่ยนแปลง เหล็กกล้าที่เกิดขึ้นในบริเวณออสเตนไนต์จะเป็น ออสเตนไนต์ 100% บริเวณต่าง ๆ ที่ถูกแบ่ง จะมี 4 บริเวณ ซึ่งบริเวณเหล่านี้จะมีความแตกต่างในแต่ละโครงสร้างของเหล็กกล้า ซึ่งทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงเริ่มต้นมาจากโครงสร้างออสเตนไนต์ ดูที่รูป
รูปอาณาบริเวณในแผนภาพไอที
รูปโครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ a) โครงสร้างเพิลไลต์ ณ อุณหภูมิ 720° C; b) โครงสร้างไบย์ไนต์ ณ อุณหภูมิ 290° C; c) โครงสร้างไบย์ไนต์ ณ อุณหภูมิ 180° C; d) โครงสร้างมาเทนไซต์
อาณาบริเวณทั้งสี่ได้แก่
-
บริเวณเพิลไลต์หยาบ (Coarse pearlite region)
-
บริเวณเพิลไลต์ละเอียด (Fine pearlite region)
-
บริเวณไบย์ไนต์ (Bainite region)
-
บริเวณมาเทนไซต์ (Martensitic region)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ผอมโซอย่างราชสีห์
ดีกว่าอ้วนพีเหมือนสุนัข”
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : บทที่ 1 การนำทฤษฏีโลหะไปใช้งาน
- ตอนที่ 2 : 1.2 ประโยชน์ของโลหะวิทยาในภาคอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 3 : 1.3 ผู้ที่เหมาะจะนำไปใช้ กับสิ่งที่พบในหนังสือเล่มนี้ (จบบทที่ 1)
- ตอนที่ 4 : บทที่ 2 พื้นฐานเคมีในโลหะวิทยา 2.1-2.3
- ตอนที่ 5 : 2.4 โมเลกุล ,เกรน และผลึก, สารประกอบ
- ตอนที่ 6 : 2.7 ของผสม, สารละลาย และชนิดของสารละลาย
- ตอนที่ 7 : สารละลายของแข็ง (จบบทที่ 2)
- ตอนที่ 8 : ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ / บทที่ 3 ความแข็ง
- ตอนที่ 9 : 9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 10 : 10 3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 11 : 11 การทดสอบความแข็งแบบวิคเกอร์
- ตอนที่ 12 : 12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ
- ตอนที่ 13 : 13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล
- ตอนที่ 14 : 14. การแบ่งสเกลร็อคเวล
- ตอนที่ 15 : 15. 3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ
- ตอนที่ 16 : 17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
- ตอนที่ 17 : 3.13 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล และตะไบ
- ตอนที่ 18 : 18 การเปรียบเทียบค่าความแข็ง (จบบทที่ 3)
- ตอนที่ 19 : บทที่ 4 คุณสมบัติโลหะ
- ตอนที่ 20 : 20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น
- ตอนที่ 21 : 21 ความแข็งแกร่งต่อการดึง, การอัด, การเฉือน
- ตอนที่ 22 : 22 ความแข็งแกร่งต่อการบิด, การโค้งงอ
- ตอนที่ 23 : ความทนทานต่อการล้าตัว และการกระแทก
- ตอนที่ 24 : 24 คุณสมบัติที่สัมพันธ์กันระหว่างความเค้น /ความเครียด
- ตอนที่ 25 : 25 โมดูลัสความยืดหยุ่น
- ตอนที่ 26 : 26 ขอบเขตความยืดหยุ่น, การคืบคลาน และอัตราส่วนพอยส์สัน
- ตอนที่ 27 : 27 คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางไฟฟ้า
- ตอนที่ 28 : 28 คุณสมบัติทางแม่เหล็ก และทางความร้อน
- ตอนที่ 29 : 29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ
- ตอนที่ 30 : 30 คุณสมบัติอื่น ๆ ของวัสดุ(จบบทที่ 4)
- ตอนที่ 31 : 31 บทที่ 5 เหล็กกล้า
- ตอนที่ 32 : 32 ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็ก, ชนิดของเหล็กกล้า
- ตอนที่ 33 : 33 เหล็กกล้าคาร์บอน
- ตอนที่ 34 : 34 เหล็กกล้าผสม
- ตอนที่ 35 : 35 เหล็กกล้าโครงสร้าง, เหล็กกล้ามาราจิง, เหล็กกล้าเครื่องมือ
- ตอนที่ 36 : 36 เหล็กกล้าไร้สนิม, เหล็กกล้าสปริง,เหล็กกล้าผสมพิเศษ
- ตอนที่ 37 : 37 เหล็กหล่อ
- ตอนที่ 38 : 38 เหล็กหล่อสีขาว, เหล็กหล่อมัลลีเบิล, เหล็กหล่อเหนียว, เหล็กบริสุทธิ์ (จบบทที่ 5)
- ตอนที่ 39 : 39 บทที่ 6 การถลุงเหล็ก
- ตอนที่ 40 : 40 ชนิดของแร่เหล็ก, กระบวนการจัดการแร่เหล็ก
- ตอนที่ 41 : 41 เตาบลาสต์
- ตอนที่ 42 : 42 การผลิตเหล็กกล้าด้วย เตาออกซิเจนพื้นฐาน
- ตอนที่ 43 : 43 เตาอาร์คไฟฟ้า
- ตอนที่ 44 : 44 เตาโอเพนฮาร์ท
- ตอนที่ 45 : 45 การทำเหล็กอินก็อท
- ตอนที่ 46 : 46 โรงรีดเหล็ก
- ตอนที่ 47 : 47 การจัดวางลูกรีด
- ตอนที่ 48 : 48 รีดเหล็กเป็นแผ่นแบน แท่ง และท่อนกลม กับการผลิตต่อเนื่อง
- ตอนที่ 49 : 49 การผลิตเหล็กหล่อด้วยเตาคิวโพล่า
- ตอนที่ 50 : 50 เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการควบคุมมลภาวะ (จบบทที่ 6)
- ตอนที่ 51 : 51 บทที่ 7 โครงสร้างผลึก
- ตอนที่ 52 : 52 สเปซแลตทิซแบบบีซีซี, เอฟซีซี
- ตอนที่ 53 : 53 สเปซแลตทีซ ซีพีเฮช, บีซีที, โครงสร้างสเปซแลตทีซในเหล็ก
- ตอนที่ 54 : 54อุณหภูมิเปลี่ยนรูป, การเติบโตของผลึก
- ตอนที่ 55 : 55 ขนาดเกรนกับช่วงเวลาทำความเย็น (จบบทที่ 7)
- ตอนที่ 56 : 56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ
- ตอนที่ 57 : 57 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน
- ตอนที่ 58 : 58 ผลของขนาดผลึก และการเพิ่มความแข็งในงาน (จบบทที่ 8)
- ตอนที่ 59 : 59 บทที่ 9 แผนผังเหล็กคาร์บอน
- ตอนที่ 60 : 60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน
- ตอนที่ 61 : 61 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมเหล็กกล้า-คาร์บอน
- ตอนที่ 62 : 62 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มาเทนไซต์ ,โครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ
- ตอนที่ 63 : 63 บริเวณเปลี่ยนรูป, อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกับคุณสมบัติทางกล, ปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น (จบบทที่ 9)
- ตอนที่ 64 : 64 บทที่ 10 การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
- ตอนที่ 65 : 65 โครงสร้าง มาเทนไซต์, ออสเตนไนต์ และโครงสร้างผสม
- ตอนที่ 66 : 66 การเตรียมชิ้นงานก่อนส่องกล้องจุลทรรศน์ (จบบทที่ 10)
- ตอนที่ 67 : 67 บทที่ 11 การปรับสภาพทางความร้อน และการชุบแข็ง
- ตอนที่ 68 : 68 เทคนิคและ สารตัวกลางชุบแข็ง
- ตอนที่ 69 : 69 อุณหภูมิสารตัวกลาง, เทคนิคการชุบแข็ง (จบบทที่ 11)
- ตอนที่ 70 : 70 บทที่ 12 การอบอ่อน และการอบปกติ
- ตอนที่ 71 : 71 ตอบคำถามจากอีเมล์, ผลที่ได้จากการอบ, การอบอ่อนเต็ม
- ตอนที่ 72 : 72 การอบอ่อนหลังการขึ้นรูปเย็น, การเปลี่ยนเป็นคาร์ไบต์เม็ดกลม, การอบปกติ (จบบทที่ 12)
- ตอนที่ 73 : 73 บทที่ 13 ผังไดอะแกรมการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 74 : 74 เส้นอุณหภูมิเวลา, การนำไปใช้ และอาณาบริเวนในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 75 : 75 อาณาบริเวณต่าง ๆ ในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 76 : 76 การใช้แผนภาพไอทีเพื่อระบุเหล็กกล้า
- ตอนที่ 77 : 77 แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม, การเปรียบเทียบแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 78 : 78 การคิดค่าความแข็งจากแผนภาพ, การพล็อตแผนภาพ
- ตอนที่ 79 : 79 ตอบคุณ Ekakrat Gmail, การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 80 : 81 ตัวอย่างเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ (จบบทที่ 13)
- ตอนที่ 81 : 80 บทที่ 14 การอบคืนตัว / ความจริงของการศึกษาไทย
- ตอนที่ 82 : 82 กลไกการอบคืนตัว, คำถามก่อนทำการอบคืนตัว
- ตอนที่ 83 : 83 ประเภทการอบคืนตัว
- ตอนที่ 84 : 84 ออสเทมเปอร์ริ่ง , การชุบแข็ง และการอบคืนตัวความร้อนคงที่ (จบบทที่ 14)
- ตอนที่ 85 : 85 บทที่ 15 การชุบผิวแข็ง
- ตอนที่ 86 : 86 การชุบผิวแข็งเครื่องมือ เครื่องกล และวิธีการพื้นฐาน
- ตอนที่ 87 : 87 กระบวนการชุบผิวแข็ง