นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4297095 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน

 

        จุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือ ไม่ได้เขียนให้อ่านไว้เพื่อนำไปสอบอย่างเดียว แต่เขียนไว้เพื่อเป็นความรู้เพื่อนำมาใช้งาน ให้เกิดขึ้นจริงจากภาคปฏิบัติ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติ เพราะไม่สามารถทำเพียงคนเดียว หรือคนไม่กี่คนได้   

 

        ตอนนี้หาเวลามาเขียนให้อ่านยากพอสมควร ทั้งที่งานจริงแปลจากหนังสือต่างประเทศ ประมาณ 400 กว่าหน้าแปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องนำมาขัดเกลา มากรองตัวหนังสือ เพิ่ม เสริม เติม แต่ง เพื่อให้อ่านง่าย นำความรู้ของตัวเองจากการอ่านหนังสือหลายเล่ม และประสบการณ์ที่เคยทำ เข้ามาประยุกต์ให้อ่าน 

 

        คำติชมเยอะ แต่ไม่ทราบว่าอะไรบ้าง เพราะคำติชมไม่ค่อยขึ้น ถ้าต้องการถามเกี่ยวกับความรู้ ให้เข้าไปถามได้ในอีเมล์ Pa19497@yahoo.co.th  ถ้าทราบก็จะตอบให้ในบทความถัดไป อีกไม่นานจะนำมาความรู้ด้านฟิสิกส์มาให้อ่าน เขียนเสร็จหลายบทแล้ว ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน  

 

 

 

9.2 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน

 

 

 

      แผนผังแสดงระยะ หรือเฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน (Iron-carbon phase diagram) คือแผนผังแสดงโครงสร้างของเหล็กกล้าที่ผสมกับคาร์บอนในปริมาณที่แตกต่างกัน และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามการเปลี่ยนไปของอุณหภูมิ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของแผนผังไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนให้ดีเสียก่อน ผังไดอะแกรมจะดูได้ในรูป

 

 

 

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่ใช้ในการศึกษา โดยในแกนดิ่งเป็นสเกลอุณหภูมิสำหรับของเหล็กกล้า ในแกนนอนเป็นเปอร์เซ็นต์คาร์บอน

 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็กคาร์บอนที่ใช้ในด้านการศึกษา อีกรูป

 

 

 

ส่วนแผงผังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม จะใช้แผนผังโดยดูได้ที่รูป

 

 

 

รูปแสดงสภาวะการเปลี่ยนรูปของเหล็กกล้าคาร์บอน ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

 

 

 

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม อีกรูป

 

 

 

จากเฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน จะบ่งบอกถึงโครงสร้างเหล็กที่อยู่ในอุณหภูมิต่าง ๆ ได้ ถ้าเราทราบเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนที่มาผสม โดยสามารถคิดได้จากไดอะแกรม หรือสามารถหาเหล็กกล้าที่อยู่ในรูปแบบเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์, ซีเมนต์ไต, ออสเตนไนต์ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของรูปแบบต่าง ๆ

 

 

 

จากที่กล่าวเหล่านี้ ในขั้นตอนแรกก่อนที่จะอ่านผังไดอะแกรม จะต้องทราบสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เสียก่อน ได้แก่

 

ü  อุณหภูมิของเหล็กกล้า

 

ü  เปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในเหล็กกล้า

 

ü  เส้นทางเดินของเหล็ก ที่ผ่านการปรับสภาพทางความร้อน

 

 

 

      ในรูปผังไดอะแกรมจะมีเส้นที่สำคัญอยู่สองเส้นที่แสดงในไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน เส้นล่างคือ  แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ (Lower transformation temperature line) ส่วนเส้นบนคือเส้น แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง (Upper transformation temperature line) อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้อธิบายเอาไว้แล้วใน บทที่ 7 แล้ว ณ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ เหล็กจะเริ่มต้นการเปลี่ยนรูปไปเป็นออสเตนไนต์ ส่วนที่เหนือ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง เหล็กเกิดการเปลี่ยนรูปเป็น ออสเตนไนต์บริสุทธิ์ ทั้งหมด ดูรูปที่

 

 

 

รูปเหนือ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง เหล็กเกิดการเปลี่ยนรูปเป็น ออสเตนไนต์บริสุทธิ์

 

 

 

      เหล็กกล้าที่อยู่ใต้ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ ทุกโครงสร้างจะไม่มีการเกิดออสเตนไนต์ขึ้นรูปแบบของเหล็กที่อยู่บริเวณต่ำว่าเส้นนี้ จะเป็น เฟอร์ไรต์, เพิลไลต์, ซีเมนไต หรือเกิดการผสมผสานกันของโครงสร้างเหล่านี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสม  ดูที่รูป

 

 

 

 

 

รูปโครงสร้างที่เกิดขึ้นต่ำกว่าแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำจะเกิดเป็นรูปแบบเหล็กต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ และซีเมนไต ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสมเข้าไป โดยเหล็กเหล่านี้ยังไม่ได้มีการปรับสภาพทางความร้อน หรือชุบแข็งมาก่อน

 

 

 

      ในพื้นที่สามเหลี่ยมทั้งสองระหว่างแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ง และแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ เป็นการผสมกันของเฟอร์ไรต์กับออสเตนไนต์ หรือซีเมนไตกับออสเตนไนต์ หรือผสมผสมร่วมกันของ เฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนไต (ตรงจุดดำ) ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ผสมเข้าไป และการให้ความร้อนในเหล็กกล้า ทางด้านซ้ายจะเห็นบริเวณสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นบริเวณของเฟอร์ไรต์ 100%  ดูที่รูป

 

 

 

รูปบริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการผสมผสานของออสเตนไนต์ กับเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ และ/หรือซีเมนต์ไตที่เกิดขี้นระหว่าง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง และแนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ โดยเหล็กยังไม่มีการปรับสภาพทางความร้อน หรือชุบแข็งมาก่อน

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความพยายามครั้งที่ 100 ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ”

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที