นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4292063 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น

4.1.4 ความแข็งแกร่ง

 

      ความแข็งแกร่ง (Strength) หรือความทนทาน เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัสดุ ซึ่งความแข็งแกร่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการดึง (Tensile strength)

 

รูปการทดสอบหาความแข็งแกร่งต่อการดึงในรูปเป็นโฟม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการอัด (Compressive strength)

 

รูปการทดสอบหาความแข็งแกร่งต่อการอัดตัว ในรูปเป็นแท่งคอนกรีต

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการเฉือน (Shear strength)

 

รูปแสดงการเฉือนที่ตัวสลักเกลียว

 

รูปการทดสอบการเฉือน

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการบิด (Torsional strength)

 

รูปชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบการบิด

 

รูปการบิดตัวของแท่งวัสดุ

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการโค้งงอ (Flexural strength)

 

รูปการทดสอบการโค้งงอ

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการล้าตัว (Fatigue strength) หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงที่กระทำซ้ำ ๆ ตลอดเวลาจนกระทั่งวัสดุเกิดความล้า

 

รูปการทดสอบการล้าตัว

 

-                   ความแข็งแกร่งต่อการกระแทก (Impact strength) หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงกระทำที่หนักหน่วงแบบฉับพลันทันที

 

รูปการทดสอบกระแทกชิ้นงานแบบชาร์ปี 1

 

รูปการทดสอบกระแทกชิ้นงานแบบชาร์ปี 2

 

ความแข็งแกร่งแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่สามารถตอบสนองต่อประเภทของแรงที่กระทำที่กับวัสดุ

 

4.1.5 ความเค้น

 

      ความเค้น (Stress) คือความพยายามที่จะทำให้วัสดุเกิดความเสียหาย แตกร้าว ส่วนความสามารถต้านทานต่อความเค้นเราเรียกมันว่า ความแข็งแกร่ง หรือความทนทาน (ดูที่หัวข้อ 4.1.4) ความเค้นที่เกิดในชิ้นงานมากเกินไปอาจทำให้ชิ้นงานเกิดรอยแตกร้าวได้

      สมการความเค้นในทางคณิตศาสตร์คือ แรงที่กระทำต่อพื้นที่หน้าตัดที่แรงกระทำ หน่วยของความเค้นคือ นิวตันต่อตารางเมตร (N/m2), ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) ฯลฯ สมการจะเป็นดังนี้

 

ความเค้น = แรง/พื้นที่

 

                          s   25769_4_1.JPG                 (4.1)

 

กำหนดให้      s  (อ่านว่า ซิกม่า)= ความเค้น หน่วย N/m2, psi

                        F = แรงกระทำ หน่วย N, lbs

                        A = พื้นที่ที่ถูกแรงกระทำ m2,mm2,  in2

 

วิดีโอแสดงการทดสอบดึงโลหะจนเกิดความเค้น

 

ตัวอย่างที่ 4.1(หน่วย SI) เพลาตันขนาด 10 มิลลิเมตร ถูกดึงหัวท้ายด้วยแรงกระทำ 2,000 นิวตัน จงคำนวณหาความเค้นที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน

วิธีทำ   โจทย์กำหนดให้ เส้นผ่านศูนย์กลางเพลา (f) = 10 mm , แรงดึง (F) = 2,000 N ให้หา s =? N/mm2

ขั้นตอนที่ 1 หาพื้นที่หน้าตัดที่แรงกระทำ

A = 25769_4_2.JPG

= 25769_4_3.JPG

= 78.5 mm2

ขั้นตอนที่ 2 หาค่าความเค้นโดยใช้สมการ (4.1)

s = 25769_4_1.JPG

= 25769_4_4.JPG

   \ค่าความเค้นดึงที่เกิดขึ้นในเพลา  = 25.477 N/mm2        ตอบ

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“เราน่าจะเปลี่ยนปัญหากันได้
เพราะเรามักจะแก้ปัญหา ของผู้อื่นได้”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที