นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4297093 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


15. 3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ

3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ (Rockwell Superficial hardness)

 

       เป็นการทดสอบที่คล้ายกับการทดสอบร็อคเวลในหัวข้อที่แล้ว แต่แตกต่างตรงที่การทดสอบแบบร็อคเวลคร่าว ๆ นี้หัวกดทดสอบจะกดลงสู่ชิ้นงานไม่ลึกเท่ากับการทดสอบร็อคเวลแบบปกติ สามารถใช้เครื่องทดสอบเดียวกันได้

 

รูปเครื่องทดสอบร็อคเวล แต่นำมาทดสอบร็อคเวลแบบคร่าว ๆ ได้

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

3.10.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งร็อคเวลแบบคร่าว ๆ

      ในการทดสอบที่พื้นผิว วิธีการทดสอบร็อคเวลแบบคร่าว ๆ ใช้แรงที่น้อยกว่าการทดสอบร็อคเวลปกติ โดยแรงที่ใช้ทำการทดสอบแบบคร่าว ๆ คือ 15 กิโลกรัม, 30 กิโลกรัม และ45 กิโลกรัม ใช้หัวกดเพชร และลูกบอลทดสอบ 1/16” เหมือนกันกับแบบปกติ แต่ไม่มีลูกบอลทดสอบ 1/8”

      มีหัวกดให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ชนิด และมีแรงกระทำให้เลือกอยู่ 3 ขนาด จึงแบ่งสเกลทดสอบออกได้เป็น 6 สเกล ก็คือ 15N, 30N, 45N, 15T, 30T หรือ 45T ดูที่ตาราง 3.6

 

                           แรงกด

หัวกด

15 กิโลกรัม

30 กิโลกรัม

45 กิโลกรัม

หัวกดเพชรทรงกรวย

สเกลร็อคเวลคร่าว ๆ 15N

30N

45N

หัวกดลูกบอล 1/16 นิ้ว

15T

30T

45T

ตารางที่ 3.6 ตารางแสดงความสัมพันธ์ของแรง และหัวกด 6 รูปแบบของการทดสอบแบบร็อคเวลคร่าว ๆ

 

ตัวอย่างการเลือกสเกลไปใช้งาน

สเกล

ขอบเขตความแข็ง

ตัวอย่างการนำไปใช้งาน

HR15N

70-94

เปลือก และพื้นผิวของเหล็กกล้าไนไตร (Nitrided steel), เหล็กแผ่นทุกชนิด, เหล็กกล้าบลิสเตอร์ (Blister steel), ชิ้นส่วนมีด และอื่น ๆ

HR30N

42-86

 

HR45N

20-77

 

HR15T

67-93

เหล็กกล้าละมุน (Mild steel) ที่เป็นแผ่น, ทองเหลือง, อลูมิเนียมผสม

HR30T

29-82

เหล็กกล้าละมุน (Mild steel) ที่เป็นแผ่น, ทองเหลือง, อลูมิเนียมผสม และอื่น ๆ

HR45T

1-72

เหล็กกล้าละมุน (Mild steel) ที่เป็นแผ่น, ทองเหลือง, อลูมิเนียมผสม

ตารางที่ 3.7

 

ตัวอย่าง ใช้วิธีการทดสอบความแข็งร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ โดยใช้หัวกดเพชร อ่านค่าได้เป็น 55-HR15Nหมายถึงวัสดุมีค่าความแข็ง 55 หน่วย และใช้แรงกระทำกับชิ้นงาน 15 กิโลกรัม

ตัวอย่างต่อไป 75-HR30T หมายถึงค่าความแข็งวัสดุ 75 หน่วย ใช้ลูกบอลทดสอบขนาด 1/16” ใช้แรงกระทำกับชิ้นงาน 30 กิโลกรัม

     

3.10.2 ข้อดีของการทดสอบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ

การทดสอบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ มีข้อดีดังนี้

·       สามารถทำการทดสอบวัสดุที่บางได้

·       การทดสอบกับวัสดุโดยกดไม่ลึก

·       ทดสอบพื้นผิวได้ในบางกรณีที่การทดสอบอื่นไม่สามารถทำได้ (ดูรายละเอียดได้ในบทที่ 15)

หลาย ๆ ที่จะใช้การทดสอบความแข็งร็อคเวลแบบคร่าว ๆ นี้ แม้ว่าจะเป็นเพียงการทดสอบความแข็งที่พื้นผิวนอก แต่ได้รับความน่าเชื่อถือในสายงานผลิต

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ผู้ชี้โทษ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้”

พุทธพจน์


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที