ในประเทศไทยมีความผิดปกติของ Thallassemia ได้แก่ α thallassemia, β thallassemia, δβ thallassemia semia ใครมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกได้แก่ กลุ่ม β thallassemia ซึ่งเป็นกลุ่มที่ severe ที่นี้เรามาลองดูรายละเอียดผู้ป่วยในกลุ่มนี้กันนะค่ะ
ในประเทศไทยมีกลุ่มคนที่เป็น β thallassemia ค่อนข้างเยอะ โดยแบ่งประเภทเป็น 3 กลุ่ม คือ β thallasemia major (รุนแรงมากที่สุด) β thallasemia intermedia และกลุ่ม β thallasemia minor (รุนแรงน้อยที่สุด)
ความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมีย
Ø ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกรุนแรงมาก ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีอาการซีด ตั้งแต่อายุ 2 ขวบปีแรก
- ผู้ป่วยที่มี Hb 4-6 g/dl,Hct 12-18%
- ต้องได้รับเลือดตั้งแต่อายุ 4 ปีแรก
ในผู้ป่วย Thallasemia ที่ได้รับเลือดจำเป็นต้องได้รับยาขับเหล็กออกจากร่างกายเนื่องจากการได้รับเลือดบ่อยๆ ทำให้มีธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดสะสมอยู่ในร่างกายด้วยทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำกว่าปกติ
การรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกสามารถรักษาโรค thallasemia ได้โดยจะได้ผลดีในกลุ่มที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ตับไต เป็นต้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที