สุรวิช

ผู้เขียน : สุรวิช

อัพเดท: 04 พ.ค. 2010 10.13 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6134 ครั้ง

Column: Cover Story


คนคุณภาพสู่องค์กรคุณภาพ

คนคุณภาพสู่องค์กรคุณภาพ
รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์

��������������� “บทบาทหน้าที่ของผมนั้นไม่ได้มีหน้าที่เพียงผู้บังคับบัญชา หรือเข้ามาเป็นผู้สั่งให้พนักงานดำเนินการ
ผมเข้ามาในฐานะเพื่อนร่วมงานและต้องการทำงานร่วมกันกับพนักงานทุกคนมีอะไรที่จะให้คำแนะนำกับผมมีอะไรที่คิดว่าผมควรทำ ในฐานะผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อองค์กรทั้งหมดในตำแหน่งนี้ก็อยากได้รับคำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะต่างๆประตูห้องทำงาน ผมจะเปิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อประตูห้องเปิดนั่นหมายความว่าผมยินดีต้อนรับทุกท่าน ใครต้องการพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือมี ข้อเสนอแนะ สามารถเข้ามาได้ตลอดเวลา เพราะทุกคนคือเพื่อนของผม”
��������������� คำแนะนำตัวบางส่วนของผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ท่านใหม่ ที่ได้คัดสรรมาเป็นที่เรียบร้อย แล้ว "รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์" อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติและที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนัก งานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วารสาร TPA News ฉบับนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับท่าน และขอแนะนำท่านรวมถึง นโยบายการทำงานให้แก่สมาชิก ส.ส.ท. ทุกท่าน
��������������� รศ.ดร.ปริทรรศน์ จบปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาพาณิชยศาสตร์ (บริหารธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมโลหการ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก Nagaoka University of Technology
���������������เริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งอาจารย์พิเศษภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและวิศวกรผู้ช่วยตรี การรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนเข้ารับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโลหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2 วาระและที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ก่อนเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
��������������รศ.ดร.ปริทรรศน์ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและสนใจในด้านวิศวกรรมโลหการและวิศวกรรมอุตสาหการ มีผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ตำรา และหนังสือแปลจำนวนมาก ที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศรวมถึงการได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร และที่ปรึกษาให้แก่ ส.ส.ท. หน่วยงานชั้นนำทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

��������������ก่อนเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ ส.ส.ท. รศ.ดร.ปริทรรศน์ เคยได้ร่วมงานกับ ส.ส.ท. หลังจากจบการศึกษาจาก ประเทศญี่ปุ่น โดยการเป็นล่ามในหลักสูตรสัมมนาต่างๆ พร้อมทั้งเป็นล่ามให้กับ ดร.KANO ปรมาจารย์ด้าน TQM ด้วยหลังจาก นั้นมาได้ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรหลักสูตรต่างๆ ของ ส.ส.ท. อาทิ หลักสูตร 5ส, QC, TQM, TPM เป็นต้น นอกจากนยังเป็นี้ อนุกรรมการวิชาการ กรรมการบริหารของ ส.ส.ท. อยู่หลายวาระ ซึ่งเมื่อได้ย้ายมาทำงานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เริ่มห่างหายไป เพราะทำงานเต็มเวลาจึงไม่ค่อยได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมกับ ส.ส.ท.

�������������ผู้อำนวยการท่านใหม่ มองภาพรวมของ ส.ส.ท. จากที่ท่านรู้จักในอดีตกับปัจจุบันว่า “ผมคิดว่าการพัฒนาของ ส.ส.ท. เติบโตได้ดีและมั่นคง สมาชิกมีเพิ่มมากขึ้น หลักสูตรสัมมนาต่างๆ เพิ่มมากขึ้นชื่อเสียงของเราแพร่หลายเรียกว่าเป็นสถาบันระดับ ประเทศก็ว่าได้ เป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นช่วยให้สร้าง ความเข้าใจให้คนญี่ปุ่นเข้าใจคนไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยก็เข้าใจคนญี่ปุ่นมากขึ้นด้วยเช่นกันทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ในเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆ เพราะนอกเหนือจากหลักสูตรวิชาการทางด้านเทคนิคต่างๆ แล้ว ส.ส.ท. มีโครงการกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดให้กับทั้งคนญี่ปุ่นและคนไทยทำให้เกิดความเข้าใจกันตรงนี้เป็นเรื่องที่ สำคัญมากที่ญี่ปุ่นเองมีมิตรภาพอันดีกับประเทศไทยมากว่า 200 ปี เขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศไทยคนไทยถ้า เปิดใจที่จะยอมรับความสามารถ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ของญี่ปุ่น แล้วรับเอาเทคโนโลยีตรงนั้นของเขาพร้อมศึกษาวิธีการ ที่เขาพัฒนาประเทศขึ้นมา แล้วนำมาปรับให้เข้ากับวิธีการของไทยจะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น”

�������������จากนโยบายการทำงานที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างฐานเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ ส.ส.ท.บรรลุเป้า ประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกันนั้น รศ.ดร.ปริทรรศน์ ได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารงานยังคงสานต่อแนวทางเก่าที่วางไว้หลังจากนั้น พยายามสร้างแนวทางที่จะทำให้ ส.ส.ท. มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นและมีบทบาทสำคัญพร้อมๆ กับ การพัฒนาประเทศไทย

�������������รศ.ดร.ปริทรรศน์� กล่าวถึงแนวทางการบริหารบุคลากร ว่า ประการแรกเมื่อผมเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสมาคมฯที่สำคัญ
ที่สุด คือ ต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงานทั้งหลายว่า บทบาทหน้าที่ของผมนั้นไม่ได้มีหน้าที่เพียงผู้บังคับบัญชาหรือเข้ามา เป็นผู้สั่งให้พนักงานดำเนินการ ผมเข้ามาในฐานนะเพื่อนร่วมงานและต้องการทำงานร่วมกันกับพนักงานทุกคนมีอะไรที่จะให้ คำแนะนำกับผมมีอะไรที่คิดว่าผมควรทำในฐานะผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อองค์กรทั้งหมดในตำแหน่งนี้ก็อยากได้ รับคำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ประตูห้องทำงานผมจะเปิดอยู่ตลอดเวลาเมื่อประตูห้องเปิดนั่นหมายความว่าผมยินดีต้อนรับ ทุกท่าน ใครต้องการพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือมีข้อเสนอแนะ สามารถเข้ามาได้ตลอดเวลา เพราะทุกคนคือเพื่อนของผม

�������������"ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสเดินทางไปประเทศจีน ได้เข้าไปที่วังต้องห้ามเมื่อเข้าไปแล้วสังเกตุเห็นว่ากำแพงของวัง นั้นมีความหนาถึง 30 เมตรทำให้ผมตอบคำถามตัวเองได้ว่าเหตุใด จักรพรรด์เมืองจีนถึงอยู่ไม่ได้เพราะเขาห่างไกลจาก ประชาชนมากมายมหาศาล ไม่มีทางเลยที่ประชาชนจะเข้าถึงจักรพรรด์และจักรพรรด์เข้าถึงประชาชนเมื่อสาธารณชน ไม่สนับสนุน เขาก็ไม่สามารถอยู่ได้ เช่นเดียวกันการทำงานในองค์กร ผมไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ทุกคนต้องช่วยกัน ความรับผิดชอบสูงสุดอยู่ที่ผมในฐานะผู้อำนวยการ ผมจะทำอย่างไรให้เพื่อนร่วมงานทำงานได้อย่างสะดวกสบายที่สุด อุปสรรคขัดขวางน้อยที่สุด มอบอำนาจให้เขามากที่สุด แต่ความรับผิดชอบต้องอยู่ที่ผมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และนั่นคือโจทย์ของผม"

������������� พนักงานของ ส.ส.ท. เป็นบุคลากรที่มีคุณค่ามาก เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ที่มี ปรัชญาดี พนักงานของ ส.ส.ท. มีความตั้งอกตั้งใจและเชื่อว่าเรามีบทบาทในการพัฒนาประเทศไทยฉะนั้นทำอย่างไรให้คน ของเรานั้นสำคัญที่สุด จากหลักการที่ได้ศึกษามา กลุ่มคนที่มีบทบาทต่อ ส.ส.ท. มีอยู่ 5 กลุ่มด้วยกัน คือ

�������������กลุ่มแรก คือ กลุ่มของพนักงานและครอบครัวของพนักงาน ส.ส.ท. ที่เราต้องสร้างให้เกิดความสุขในส่วนของพนักงาน จะต้องมีความสะดวกและคล่องตัวในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

�������������กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มองค์กรต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ที่ทำงานร่วมกับ ส.ส.ท. ซึ่งสามารถให้ ส.ส.ท. ดำเนินงานต่อไปได้� ถ้าเรียกตามศัพท์ของบริษัทเอกชนก็จะเป็น supplier หรือ business partner

�������������กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการของ ส.ส.ท. จะเห็นว่าลูกค้ามาเป็นอันดับที่สาม เพราะพนักงาน ส.ส.ท.ในกลุ่ม แรกและผู้ร่วมงานกับ ส.ส.ท. ในกลุ่มที่ 2 เป็นส่วนที่จะเชื่อมต่อลูกค้า ให้กับ ส.ส.ท. ถ้า 2 ส่วนนี้ดีลูกค้าจะได้รับบริการที่ดีแล้ว ก็จะทำให้ได้คุณภาพในการบริการต่างๆ ที่ดี ลูกค้าคือส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรเรานั้นยืนอยู่ได้

�������������กลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มของสังคมโดยรอบ ส.ส.ท.

�������������กลุ่มที่ 5 คือ กลุ่มผู้ที่ช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านการเงินผู้ที่สนับสนุนให้เราสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรทั้งในประเทศ ไทยและประเทศญี่ปุ่น

��������������� ทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวมา เป็นกลุ่มที่สำคัญมาก ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจ สร้างให้เกิดความรักในองค์กรทำให้องค์กร สามารถพัฒนาและเติบโตต่อไปได้ ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ดูความต้องการของภาคเอกชนสถาบันการศึกษา ทั้งหลายที่เขาพัฒนาคน สร้างคนนั้น ยังขาดอะไรที่เราจะสามารถช่วยเสริมได้ ด้วยการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาตรง นั้นก็จะเป็นตัวช่วยทำให้ ส.ส.ท. เองในฐานะองค์กรซึ่งเผยแพร่วิทยาการ สร้างฐานเศรษฐกิจ ดังปรัชญาที่ตั้งไว้จะทำให้ องค์กรเราเป็นประโยชน์ เป็นหลัก ในการที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้

��������������� และเมื่อถามถึงแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของ ส.ส.ท. นั้น รศ.ดร.ปริทรรศน์ ได้ให้ทัศนะว่าต้องดูว่า ประเทศไทยก้าวไปถึงจุดไหน ต่อไปในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไรขณะนี้ประเทศไทยเรา อยู่ในฐานะที่โดนบีบ คือ อยู่ตรงกลาง ประเทศเวียดนาม ประเทศจีนไล่เราขึ้นมาด้วยการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศยุโรป ถึงแม้ต้นทุนสูงแต่เขาก็มีเทคโนโลยีสูงกว่าเรา หน้าที่ของ ส.ส.ท.หรือของไทยต้อง พัฒนาตัวเองก้าวขึ้นไปสู่ระดับสูงให้ได้ ทำอย่างไรจะนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนางานให้ได้มากที่สุด

��������������� ฉะนั้นต้องดูว่าประเทศไทยของเราในอีก 5 ปีข้างหน้าภาคใดที่มีความสำคัญโดยส่วนตัวผมเองมองว่าภาคเกษตร มีความสำคัญมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมทำอย่างไรถึงจะช่วยเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาพัฒนาเกษตร อุตสาหกรรมให้เจริญเติบโตให้ก้าวหน้าไปมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน นอกเหนือจากภาคเกษตรอุตสาหกรรมแล้ว อุตสาหกรรมอื่นๆซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศทำอย่างไรถึงจะให้ อุตสาหกรรม ต่างๆ เหล่านั้นยังคงอยู่กับเราต่อไปได้ โดยที่ไม่เคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่ต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ตรงนั้นก็ต้องเอาความรู้ ความคิดของเราที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงใส่เข้าไป สร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

��������������� "หากจะพิจารณากร๊าฟที่แกนตั้งเป็นมูลค่าเพิ่ม มีเส้นโค้งของกร๊าฟอยู่ 1 เส้น ลักษณะเหมือนรูปอ่างน้ำโค้งด้านหนึ่งเป็น ด้านของการออกแบบ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ� ถัดลงมาในแนวนอนเป็นด้านของการผลิตถัดขึ้นไปโค้งด้านขวาเป็นทางด้าน การตลาด การสร้างตราผลิตภัณฑ์ต่างๆขณะนี้ประเทศไทยอยู่ ตรงกลางคือเก่งด้านการผลิตซึ่งได้มูลค่าเพิ่มต่ำ ทำอย่างไร เราถึงจะขึ้นไปทางที่มูลค่าเพิ่มสูงทั้งสองด้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้านหนึ่งสร้างการตลาดที่เข้มแข็ง สร้างแบรนด์ ของ เราเอง ส.ส.ท. เองต้องสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง ในขณะเดียวกันเราก็พยายามรักษาความเป็นดั้งเดิมที่ดีไว้เป็นรูปแบบเป็น เอกลักษณ์ของเราให้ได้ ณ ตรงนั้นก็จะทำให้เกิดมูลค่าที่สูงขึ้น สร้างตราสัญลักษณ์ของเราให้ได้ตรงนี้ประเทศไทยถึงจะ พัฒนาก้าวหน้าเข้มแข็งต่อไปได้"

��������������� ก่อนจะจบการสนทนาในครั้งนี้� รศ.ดร.ปริทรรศน์ ได้ทิ้งท้ายถึงการนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤต ว่าในเรื่อง ของเทคโนโลยี หรือเทคนิค ส.ส.ท. มีอยู่แล้ว ดังนั้นในเรื่องของ Productivity การเพิ่มผลิตภาพทั้งหลายการปรับปรุง พัฒนา เป็นเรื่องของการใช้เทคนิคคุณภาพ การบริหารจัดการคุณภาพ ทั้งสิ้น เป็นกระบวนการที่ไม่สิ้นสุดถ้ามองดูในองค์กรของเรา ว่ามีความสูญเปล่า ความสิ้นเปลืองตรงจุดไหน เราช่วยกันลดตรงจุดนั้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ ของเราให้ได้มาก ตรงนั้นคือการที่จะอยู่ได้ ในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตไม่ใช่เรื่องของคุณภาพและต้นทุนคงที่หรือการ ลดต้นทุน คุณภาพคงที่อีกต่อไป แต่ต้องคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องลดต้นทุนไปด้วยเช่นกัน วิธีการนี้ไม่ใช่เพียง ส.ส.ท. เท่านั้นที่สามารถทำได้ องค์กรต่างๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที