ChanoLogy

ผู้เขียน : ChanoLogy

อัพเดท: 23 พ.ย. 2006 22.16 น. บทความนี้มีผู้ชม: 74448 ครั้ง

KAIZEN Society
สังคมของคนที่รักการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งในยุค Knowledge Society


ไคเซ็นเริ่มต้นอย่างไร?

ไคเซ็นเริ่มต้นอย่างไร?

ระบบไคเซ็น คือ ระบบการเสนอแนะที่ต่อเนื่อง และมีสัมพันธภาพจากล่างขึ้นบน (Bottom up) โดยผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้เริ่มลงมือทำ เริ่มแสดงความคิดเห็น เป็นกลยุทธ์การค้นหาเพชรในตม จากแนวคิดที่ว่า

·        การแสดงความคิดเห็นเป็นสัญชาตญาณของมนุษยชาติ

·        ข้อเสนอแนะคือน้ำใจไมตรี เป็นสื่อสัมพันธ์อย่างดีที่มีอยู่ในองค์กร

·        มนุษย์มีจิตวิญญาณ ต้องการทำงานอย่างมีความสุข

·        การทำงานนั้น จำเป็นหรือ ที่ต้องยากลำบากและสูญเปล่าปานนั้น

·        มนุษย์จัดการกับ “MUDA, MURA, MURI” ได้เพราะไม่ใช่หุ่นยนต์

 

ระบบไคเซ็นคือการทำงานให้น้อยลง

“ทำให้มาก” คือ การเพิ่มแรงงานและเวลาเพื่อที่จะทำให้ผลงานเพิ่มขึ้น ในสมัยที่ยังมีเวลาหรือแรงงานเหลืออยู่ หรือในสมัยที่ผู้คนยังชอบทำงานล่วงเวลา หรือมาทำงานในวันหยุดนั้น วิธีนี้เป็นที่มีประสิทธิผล ในทางตรงกันข้าม “ทำให้น้อย” นั้นก็คือ การลดหรือไม่เพิ่มปัจจัยนำเข้า (Input) แต่กลับสามารถสร้างผลงานได้มากขึ้น การจะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต้องเกิดจากการเปลี่ยน “ขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทาง หรือวิธีการทำงาน”

“ทำให้มาก” นั้นแม้ว่าจะได้ผลพอสมควรแต่เมื่อ “วิธีการทำงาน” ไม่เปลี่ยนแม้เวลาจะผ่านไปนานสักเท่าไร ผลที่ได้รับก็จะอยู่แต่เพียงระดับเดิมเท่านั้น ถ้าบริษัทคู่ต่อสู้เพิ่มผลผลิตโดยใช้ “ทำให้น้อย” ได้สำเร็จ ก็จะทำให้เราพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง

เริ่มที่การค้นหา และขจัด MUDA

เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการมองหาสิ่งผิดปรกติจากความสูญเปล่า ที่เกิดขึ้นรอบๆ บริเวณที่ตัวเราเองคุ้นเคยในชีวิตประจำวันซึ่งเรารู้สึกได้เอง

3 MU ตัวร้ายได้แก่

1)  MUDA  ความสูญเปล่า   (มี 3 ลักษณะ space time motion)

         เกิดทุกทีเมื่อทำงานแบบ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” ใส่ In put มาก แต่ได้ Out put น้อย

2)  MURA  ความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอ

         เกิดทุกทีเมื่อทำงานแบบ “จับปูใส่กระด้ง” การทำงานแบบไม่มีมาตรฐาน

3)   MURI  ลำบาก เกินกำลัง

          เกิดทุกทีเมื่อทำงานแบบ “สาหัสสากรรจ์” การทำงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมากเกินไป งานเสี่ยงอันตราย

 

เมื่อค้นพบแล้ว หาวิธีคิดเพื่อหาทางปรับปรุงโดยการตั้งคำถาม

ระบบคำถาม 5W 1 H คือการถามคำถามเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลในการทำงานตามวิธีเดิม และหาช่องทางปรับปรุงให้ดีขึ้น ประกอบด้วยคำถามดังนี้

What? ถามเพื่อหาจุดประสงค์ของการทำงาน   ทำอะไร ? ทำไมต้องทำ ? ทำอย่างอื่นได้หรือไม่ ?

When ? ถามเพื่อหาเวลาในการทำงานที่เหมาะสม ทำเมื่อไหร่ ? ทำไมต้องทำตอนนั้น ? ทำตอนอื่นได้หรือไม่ ?

Where ? ถามเพื่อหาสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ทำที่ไหน ? ทำไมต้องทำที่นั่น ? ทำที่อื่นได้หรือไม่ ?

Who? ถามเพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงาน ใครเป็นคนทำ ? ทำไมต้องเป็นคนนั้นทำ ? คนอื่นทำได้หรือไม่ ?

How ? ถามเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับงาน ทำอย่างไร ? ทำไมต้องทำอย่างนั้น ? ทำวิธีอื่นได้หรือไม่ ?

Why ? เป็นคำถามที่ถามครั้งที่ 2 ของคำถามข้างต้นเพื่อหาเหตุผลในการทำงาน

คนทำไคเซ็น คือคนขี้เกียจ (ขี้เกียจทำงานหนัก) เป็นมนุษย์เจ้าปัญหา (5W 1H) เป็นจอมหาเรื่อง (ปรับปรุง)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที