ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 16 เม.ย. 2010 21.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 12261 ครั้ง

" การป้องกันผิวหน้าของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างอาคาร ที่ทำจากเหล็กเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นเพื่อรักษา และยืดอายุการใช้งานของสิ่งต่างๆเหล่านั้นให้ยืนยาวเท่าที่เราปรารถนาได้ "


ตอนที่ 1 บทนำ การป้องกันการเกิดสนิมที่ผิวหน้าของเหล็ก ( surface protection of ferrous metal )

                                 

ตอนที่ 1

บทนำ

การป้องกันการเกิดสนิมที่ผิวหน้าของเหล็ก ( surface protection of  ferrous metal ) 

กล่าวนำ :  เหล็กสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในงานอุตสาหกรรม ได้หลายชนิด  ใช้เป็นโครงสร้างของเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่  ใช้ทำตัวถังรถยนต์  ส่วนประกอบของชิ้นส่วนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์  รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆอีกมากมาย  ในวงการก่อสร้าง นำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ของโครงสร้างหลักที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน  ในรูปของเหล็กรูปพรรณ (Structural steel)  ใช้เป็นวัสดุในงานก่อสร้างบ้านเรือน ตึกพักอาศัย  และอาคารสูงๆทั้งหลาย รวมถึง โรงงาน สะพาน เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง และโครงสร้างของงานก่อสร้างทั้งเล็กและใหญ่ทั่วไป นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถนำมาหลอมละลายผสมกับโลหะอื่นๆ ได้เป็นโลหะผสมที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นอีกมาก เช่น สแตนเลส (Stainless) เป็นส่วนผสมของเหล็ก นิเกิล และโครเมียม (Fe , Ni , Cr)  ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ตามชนิดของสแตนเลสนั้นๆ เป็นต้น

 
90275_Picture162.png

 

รูปที่ 1  แสดงการนำเหล็กมาใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายชนิด

 

ธาตุเหล็ก : ธาตุ (Element) เป็นสารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวอะตอมชนิดเดียว เช่น นิเกิล (Ni)  โครเมียม (Cr) โมลิบดินัม (Mo) แวนาเดียม (Va) เป็นต้น                      

                  ธาตุแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันทั้งทางฟิสิกส์และเคมี  มีการจัดหมวดหมู่ของธาตุที่เกิดในธรรมชาติตามคุณสมบัติ ที่คล้ายคลึงกันได้เป็น  3 กลุ่ม คือ กลุ่มโลหะ(metal)  อโลหะ(non-metal)  และกึ่งโลหะ(metalloid / semi metal)

                  เหล็ก (Iron) เป็นธาตุบริสุทธิ์เกิดในธรรมชาติ มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Fe (ferrum) จัดอยู่ในกลุ่ม ตารางธาตุ หมายเลขอะตอม 26 อยู่ในหมู่ 8 และคาบ 4  ……จากคุณสมบัติเฉพาะของโลหะเหล็ก (Ferrous Metal) ที่มีความแข็งแรง คงรูป คงทนถาวร  สามารถรับแรงกด แรงดัน และแรงดึงได้สูงกว่าโลหะอื่นๆหลายชนิด  มีปริมาณมากในธรรมชาติ ราคาไม่แพง มีอายุการใช้งานยาวนาน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่นำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว

ตารางธาตุ: ตารางธาตุ (Periodic Table) คือ ตารางที่จัดรวบรวมธาตุไว้เป็นหมวดหมู่โดยการจัดเรียงตามการเรียงตัวของอิเล็กตรอน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันอยู่ในพวกเดียวกัน มีการจัดเรียงลำดับธาตุตามเลขอะตอมเริ่มจากเลขน้อยไปหามาก  การจัดกลุ่มของธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆกันให้อยู่ในช่วง ตรงกับลักษณะของการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุในกลุ่มนั้นๆ   

 

 

90275_Picture164.png

  

 

 

รูปที่ 2 แสดงการจัดหมวดหมู่ของธาตุและจัดเรียงอะตอมตาม Periodic Table

 

                ตารางธาตุในรูปที่ 2  เป็นตารางที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งธาตุเป็น 18 หมู่ ตามแถวแนวตั้งเป็น 18 แถว  และแบ่งกลุ่มของธาตุทั้ง 18 แถว เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม A แบ่งออกเป็น 8 หมู่ คือหมู่ IA ถึง VIIIA และกลุ่ม B อยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA แบ่งเป็น 8 หมู่ คือ หมู่ IB ถึง VIIIB (10 columns of transition) เรียกธาตุในหมู่นี้ว่า......“ ธาตุทรานซิชัน (transition element)”

  

 

Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe  Fe

16 / 4 / 2553

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที