นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 403189 ครั้ง

www.thummech.com
ดาวเทียม คือเทคโนโลยีด้านอวกาศ หนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใช้งาน ใช้ในการทำหน้าที่เฝ้าสังเกต, สอดแนม, ค้นหา, ตรวจการณ์, พยากรณ์ ฯลฯ บทความนี้จะนำท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับเครื่องกลที่ลอยอยู่ในอวกาศที่เรียกกันว่า "ดาวเทียม"


5. ความเร็ว และความสูงของดาวเทียมในวงโคจร

5. ความเร็ว และความสูงของดาวเทียมในวงโคจร

      จรวดต้องมีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 40,320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (25,039 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก และทะยานขึ้นสู่อวกาศ ความเร็วนี้เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape velocity) ความเร็วหลุดพ้นที่บินอยู่ในโลกต้องใช้มากในการส่งดาวเทียมปล่อยเข้าสู่วงโคจร

 

วิดีโอแอนิเมชัน ปล่อยจรวดพุ่งขึ้นสู่อวกาศ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอแสดงภาพสไลด์ ความเร็วหลุดพ้นพร้อมเพลงประกอบสไลด์

 

รูปดาวเทียมลอยในอวกาศ

 

      เมื่อจรวดบรรทุกดาวเทียมทะยานไปถึงจุดวงโคจรที่เตรียมปล่อยดาวเทียม ณ จุดปล่อยนี้จะต้องมีความสมดุลระหว่างแรงดึงดูดของโลกที่จะคอยดึงดาวเทียมให้ตกลงสู่พื้นโลก และความเฉื่อย (Inertia) ในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมในอวกาศ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมในวงโคจรมีค่าความเร็วประมาณ 27,359 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) เราเรียกความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมโดยไม่ตกสู่พื้นโลก และไม่ล่องลอยออกไปในอวกาศ เรียกว่า ความเร็ววงโคจร (Orbital velocity) ความสูงจากพื้นโลกของดาวเทียมในอวกาศมีค่าประมาณ 242 กิโลเมตร (150 ไมล์)

 

รูปวงโคจรดาวเทียม 1

 

รูปวงโคจรดาวเทียม 2

 

      ความสำคัญของแรง และความเร็วที่กระทำกับดาวเทียม

      - ถ้าโลกไม่มีแรงโน้มถ่วงช่วยดึงดาวเทียม มันจะเคลื่อนที่ลอยออกไปในอวกาศ

      - ถ้าดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เร็วเกินไป มันจะหลุดออกไปจากเส้นทางวงโคจร ในทางกลับกัน

      - ถ้าดาวเทียมเคลื่อนที่ช้าเกินไป แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดาวเทียมตกลงสู่พื้นผิวโลก   


     
ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ในวงโคจรจะมีแรงจากที่กล่าวข้างต้นมาฉุด จนเกิดเป็น แรงฉุด(
Drag) เพื่อให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรได้นาน ๆ โดยไม่ตกผ่านชั้นบรรยากาศ และถูกเผาไหม้ไปจนหมด และเพื่อไม่ให้ดาวเทียมออกไปจากเส้นทางวงโคจร จะต้องรักษาสมดุลของแรงไว้ให้ดี ในการโคจรรอบโลก

       สถานีควบคุมภาคพื้นดินจะคอยควบคุมดาวเทียมให้อยู่ในวงโคจรตลอดเวลา โดยที่ดาวเทียมจะมีระบบไอพ่นขับดัน จะจุดเครื่องยนต์จรวดไอพ่น ก็ต่อเมื่อเห็นว่าดาวเทียมเริ่มห่างไกลจากโลก (Apogee) ของวงโคจรของมัน (จุดจากระยะทางที่มากที่สุดจากโลก) และจุดเครื่องยนต์เมื่อเห็นว่าดาวเทียมเริ่มเข้าใกล้โลก (Perigee) เกินไป คอยบังคับทิศทางให้ดาวเทียมรักษาระดับและทิศทางไปตามวงโคจร เพื่อให้เป็นวงโคจรที่กลมมากตามโลกที่สุด

 

รูป Apogee & Perigee

 

      ความเร็ววงโคจรของดาวเทียมจะขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากพื้นโลก กล่าวคือ เมื่อดาวเทียมยิ่งใกล้โลกมากเท่าไหร่ ความเร็ววงโคจรก็จะเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ดาวเทียมที่อยู่ในความสูง 200 กิโลเมตร (124 ไมล์) ความเร็ววงโคจรจะประมาณ 27,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,000ไมล์ต่อชั่วโมง

 

วิดีโอการปล่อยดาวเทียม Omid ของอิหร่าน

 

      ในทางทฤษฏีเส้นทางในการโคจรของดาวเทียมรอบโลกใช้เวลาเดินทาง 24 ชั่วโมง โลกก็หมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง ถ้าเราส่องกล่องโทรทัศน์ มองเห็นดาวเทียมดวงนี้ มันจะอยู่กับที่ ดูเหมือนไม่เคลื่อนที่ (ความจริงดาวเทียมจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรา) เราเรียกวงโคจรชนิดนี้ว่า วงโคจรประจำที่ (Geostationary orbits) ดาวเทียมที่โคจรเช่นนี้ เช่น ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ (Weather satellites) และดาวเทียมสื่อสาร (Communications satellites)

 

วิดีโอแสดงวงโคจรประจำที่

      เพิ่มเติมความรู้: ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกประมาณ 384,400 กิโลเมตร (240,000 ไมล์) มีความเร็วประมาณ 3,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (2,300 ไมล์ต่อชั่วโมง) และใช้เวลาโคจรเดินทางรอบโลก 27.322 วัน (ข้อน่าสังเกต ความเร็ววงโคจรดวงจันทร์ช้ามากเพราะว่า มันอยู่ห่างจากโลกมากกว่าดาวเทียม)  

 

วงโคจรของดวงจันทร์

จบหัวข้อที่ 5

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที