ปรารพ

ผู้เขียน : ปรารพ

อัพเดท: 30 ต.ค. 2009 08.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 7214 ครั้ง

Innovation & Green เมื่อสองกระแสมาบรรจบกัน


1

Innovation & Green


หากทุกท่านสังเกตุการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการในปัจจุบันจะพบว่า คำว่า Innovation ถูกนำมาให้บ่อยที่สุด อาจจะเพื่อต้องการจะสื่อสารให้รู้ว่าสินค้าและบริการนั้นมีเทคโนโลยีใหม่ หรือมีอะไรๆใหม่ๆก็ตามที จนบางครั้งมันเหมือนจะแยะจนเกินไป จึงเกิดความสงสัยว่ามันมีอะไรดี จริงหรือเปล่าในสินค้าตัวนั้น แต่ อย่างไรก็ตาม Innovation ก็ยังสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาสนใจได้เสมอ

เรามาดูความหมายของคำว่า Innovation ดีกว่า จริงๆแล้วคำนี้นั้นได้มีผู้ให้คำนิยามอยู่มากมาย แต่สำหรับในเมืองไทย ที่น่าจะให้ความหมายครบถ้วนที่สุด น่าจะเป็น คำนิยามจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

"นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"

จากนิยามนี้ก็คงจะทำใหม่เข้าใจมากขึ้นว่า หากสินค้าและบริการใดมี นวัตกรรม ก็น่าจะน่าสนใจ แต่ว่าผู้บริโภคก็ควรจะพิจารณารอบด้านเพราะการมีเทคโนโลยีใหม่ หรือ กระบวนการใหม่ในสินค้านั้น ใช่ว่าจะสามารถตอบสนองการใช้สินค้านั้นของผู้บริโภคได้อย่างที่ต้องการ เสมอไป ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆด้วย

นอกจากกระแสด้านนวัตกรรมแล้ว กระแสอีกอย่างหนึ่งที่มาแรงมากๆ  ๆ คือ กระแสรักษ์โลก
เดี้ยวนี้อะไร ๆ ก็จะชอบนำกระแสนี้มาใช้ใน การประชาสัมพันธ์ของทั้งภาครัฐและเอกชน มองดูมันอาจจะดูผิวเผิน และมีผู้สงสัยว่า ที่มีโครงการต่างๆ จากทุกภาคส่วนนั้น มันจะช่วยลดโลกร้อนได้จริงหรือเปล่า แต่มีนักวิชาการหลายท่าน ออกมาบอกว่าพฤติกรรมต่างๆเล็กๆ น้อยๆที่ รณรงค์กันอยู่นั้นหากทำกันหลายๆคนรวมเป็นทั่วประเทศ หรือ ทั่วโลก ก็จะช่วยโลกได้อย่าง มหาศาล เลยทีเดียว แต่ก่อนเลือกทำอะไรเพื่อโลกก็ศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนว่า มันจริงหรือเปล่าข้อมูลที่ได้มา เพราะเดี้ยวนี้มีคนออกมาบอกเรื่องนี้กันแยะมาก ต้อง ตรวจสอบกันนิดหนึ่งครับ และเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าน่าจะช่วยโลกได้จริงๆ ก็เลือกนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามความสะดวกและเหมาะสม

เรามาดู ความหมายทางวิชาการเกี่ยวกับ การออกแบบ กันนะครับ

การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design หรือ EcoDesign)
เป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ขั้นตอนการแผนผลิตภัณฑ์ ช่วงการออกแบบ ช่วงการผลิต ช่วงการนำไปใช้ และช่วงการทำลายหลังการใช้งาน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยส่งผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
 
ฟังดูอาจจะเข้าใจยากแต่ ในภาษาที่เป็นที่เข้าใจ ก็คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเอง

การนำ EcoDesign มาประยุกต์ใช้จะคำนึงถึงกลไก (EcoDesign Strategy) ใน 7 ด้านหลัก ดังนี้

- ลดการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Reduction of low-impact materials)
- ลดปริมาณและชนิดของวัสดุที่ใช้ (Reduction of materials used)
- ปรับปรุงกระบวนการผลิต (Optimization of production techniques)
- ปรับปรุงระบบการขนส่งผลิตภัณฑ์ (Optimization of distribution system)
- ปรับปรุงขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ (Optimization of impact during use)
- ปรับปรุงอายุผลิตภัณฑ์ (Optimization of initial lifetime)
- ปรับปรุงขั้นตอนการทิ้งและทำลายผลิตภัณฑ์ (Optimization of end-of-life)


ซึ่งทั้ง นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นกระแสที่ถูกนำมาใช้ในทั้งกระบวนการผลิตและการตลาดอย่างกว้าง
และดูเหมือนว่า หากนำมาปะยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ให้ได้ประโยชน์ทั้งแต่ผู้ผลิตและผู้บริโภค ก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างมากมาย








ผมได้มีโอกาสอ่านบทความจาก www.tcdcconnect.com ซึ่งมีตัวอย่างที่น่าสนใจ จึงนำมาฝากนะครับ หากใครสนใจก็เข้าไปอ่านต่อใน ลิงค์ต่างๆ ทีมีไว้ได้เลยครับ

“INNOVATION AVALANCHE” จับกระแสนวัตกรรมไหลกับ 41 ไอเดียจุดประกาย (ตอนที่ 3)
September 18th, 2008

banner_inno.jpg

“CARING IS THE NEW TAKING”

bikecaffe.jpg

สินค้าหรือบริการใดก็ตาม  ลองได้สร้างสรรค์นวัตกรรมอิงกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วล่ะก็ รับรองว่า ได้ภาพลักษณ์
ใสๆ ขึ้นมาทันที เพราะยุคนี้สีเขียวเป็นสีนำโชคทางการค้าที่ดูสวยงามน่าประทับใจในสายตาของผู้บริโภค เช่น ธุรกิจ
ร้านกาแฟแฟรนไชส์ของ Bikecaffe เป็นธุรกิจภาคทางเลือกในอังกฤษที่ชูจุดขายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตีคู่แข่งขัน
กับธุรกิจขายกาแฟทั่วไป  ด้วยรถสามล้อใช้แรงคนถีบ ปลอดควันพิษ เสริฟกาแฟรสชาติเข้มข้นหอมกรุ่น ซึ่งมีให้เลือก
ทั้งเมล็ดกาแฟคั่วบดตำรับอิตาเลียนจาก Segafredo Zanetti และเมล็ดกาแฟ Fair Trade ซึ่งผ่านกระบวนการรับซื้อ
ด้วยราคาที่เป็นธรรมต่อชาวไร่กาแฟ นอกจากนี้ รถสามล้อขายกาแฟของ Bikecaffe ยังได้เปรียบคู่แข่งร้านขายกาแฟ
รถเครื่องรายอื่นๆ ตรงที่สามารถเข้าไปขายบนทางเดินเท้า และภายในสถานที่จัดงานต่างๆได้อีกด้วย

2moto_kiosk.jpg

โครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของค่ายโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า ที่ใช้ชื่อว่า Motopower ได้จัดสร้างบู๊ธชาร์จ
มือถือฟรีให้กับลูกค้าของบริษัทในประเทศอูกันด้า  บู๊ธดังกล่าวใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถชาร์จมือถือได้ครั้ง
ละ 20 เครื่อง นอกจากนี้ยังให้บริการจำหน่ายมือถือ ซิมการ์ด และบริการซ่อมมือถือไปพร้อมๆ กัน และสามารถใช้เป็น
โทรศัพท์สาธารณะ สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองด้วย โครงการนี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่มีแต่ได้กับได้
เพราะนอกจากลูกค้าในพื้นที่จะได้รับความสะดวกในการติดต่อสื่อสารเพิ่มขึ้นแล้ว โมโตโรล่ายังได้ส่วนแบ่งทางการตลาด
เพิ่มขึ้นอีกด้วย

3keesta.jpg

แบรนด์ที่นอน Keetsa ผลิตที่นอนเพื่อคนห่วงใยโลก โดยใช้วัสดุในการผลิตตามแนวคิดอนุรักษ์แบบยั่งยืน ประกอบ
ด้วยโครงสร้างจากเหล็กรีไซเคิล ตัวที่นอนจากเศษเมโมรี่โฟมเหลือใช้ บุด้วยผ้าทอจากเยื่อไผ่และปุยสำลีดิบที่ไม่
ผ่านการย้อมสี นอกจากนี้ บริษัทยังได้พัฒนากระบวนการอัดบีบที่นอนขนาดใหญ่ให้บรรจุลงในกล่องกระดาษรีไซ-
เคิลแบบล้อลาก สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ช่วยลดปริมาณการเผาผลาญคาร์บอน
(ตัวการโลกร้อน) รวมถึงช่วยลูกค้าประหยัดเงินได้ถึง 50-70% และหลังจากแกะที่นอนออกจากกล่อง ที่นอนจะคืน
ตัวสู่ขนาดปกติโดยใช้เวลาหนึ่งถึงสามวันเท่านั้น

4-3tier.jpg

FirstLook ดำเนินธุรกิจบริการด้านข้อมูลแหล่งพลังงานใหม่สำหรับผู้ประกอบการและลูกค้าทั่วไปที่สนใจอยากผลิต
พลังงานใช้เอง ประกอบด้วยรายงานทางอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการผลิตพลังงานทดแทนจากกระ-
แสลมและแสงอาทิตย์ในพื้นที่ต่างๆ โดยใช้กลยุทธ์การโฆษณาผ่านบริการแผนที่ออนไลน์ ให้บริการข้อมูลเบื้องต้น
ฟรี เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้ประกอบการพิจารณาในแง่ความคุ้มค่าก่อนลงทุนติดตั้งอุปกรณ์พลังงานทดแทน ณ จุดที่ต้อง-
การ ปัจจุบัน บริษัทสามารถให้บริการข้อมูลแหล่งพลังงานจำกัดอยู่ในพื้นที่สหรัฐฯ แต่มีแผนขยายการดำเนินงานซึ่ง
ต้องรอทุนสนับสนุนจากประเทศต่างๆ

 5green_home.jpg

 Green Homes Concierge เปิดตัวด้วยไอเดียธุรกิจอนุรักษ์โลกสีเขียว ขายแพ็กเกจบริการรายปีราคา 199 ปอนด์
ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและตรวจสอบการรั่วไหลของการใช้พลังงานในครัวเรือน เพื่อลดปริมาณการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้อีกทาง รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลและ
ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  ตั้งแต่การจัดหาช่างซ่อมแซม ไปจนถึงแนะนำแหล่งซื้อหา
หลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

“MECONOMY”
ใครว่า ผู้บริโภคยุคนี้จะใส่ใจแต่เรื่องสิ่งแวดล้อมจนลืมนึกถึงเรื่องของตัวเอง อย่างที่เราเคยพูดไว้ในเทรนด์  ”Me,
myself and I” ว่า ด้วยพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้บริโภคที่มุ่งแสวงหาเอกลักษณ์ให้ตนเองและต้อง
การแสดงตัวตนออกมาอย่างที่ตนเองพอใจ ผ่านข้าวของเครื่องใช้ บริการ และการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ ที่
ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลเหล่านั้น เช่น

6-5starbaby.jpg

5starbaby.com เจ้าของไอเดียธุรกิจทำโปสเตอร์แจ้งประกาศเด็กทารกเกิดใหม่ โดยใส่รูปภาพและรายละเอียด
ต่างๆ ของทารกแรกเกิด ทั้งน้ำหนัก วันเดือนปีเกิด และออกแบบโปสเตอร์ให้ล้อเลียนโปสเตอร์หนังทั่วไป เช่น
ใช้ชื่อของทารกเป็นชื่อภาพยนตร์หรือดารานำแสดง ใส่ชื่อพ่อแม่ในตำแหน่งผู้ผลิตภาพยนตร์ คุณหมอผู้ทำคลอด
ในตำแหน่งผู้กำกับ ใช้ชื่อโรงพยาบาลเป็นสถานที่ถ่ายทำหรือจะใส่คำนิยมจากนักวิจารณ์ลงไปด้วยก็ทำได้ เรียก
ว่า เปิดพื้นที่ให้พ่อแม่ใส่ไอเดียสนุกๆที่ต้องการได้อย่างเต็มที่

7yosimiya.jpg

จากไอเดียโปสเตอร์หนัง ข้ามฝั่งมาประเทศญี่ปุ่นกับไอเดีย “เด็กถุงข้าว” ของบริษัท Yosimiya รับสั่งทำถุงใส่
ข้าวสารที่พิมพ์รูปภาพของทารกแรกเกิด พร้อมระบุชื่อและวันเกิดลงไปด้วยความพิเศษอยู่ที่ถุงข้าวสารจะบรรจุปริ-
มาณข้าวสารตามน้ำหนักแรกเกิดของทารก และมีรูปทรงใกล้เคียงกับรูปร่างของเด็กทารก ทำให้ผู้รับมีความรู้สึก
เหมือนได้อุ้มเด็กทารกจริงๆ สนนราคาตกถุงละประมาณ 3500 เยน ซึ่งมีให้เลือกหลายสี หลายแบบ

8celeb.jpg

Celeb-4-A-Day บริการมอบประสบการณ์ไม่เหมือนใคร สำหรับคนทั่วไปที่อยากสัมผัสความรู้สึกการเป็นเซเล
บริตี้คนดังสักครั้งในชีวิต ซึ่งแพ็กเกจจะประกอบด้วยทีมช่างภาพปาปารัซซี่ส่วนตัวสี่คนที่จะตามประกบคุณทุก
ฝีก้าว ภาพถ่ายขึ้นปกนิตยสารกอสซิปดารา MyStar และจัดสถานการณ์สมจริงนานสามสิบนาทีให้ปาปารัซซี่
รุมสัมภาษณ์คุณ ตะโกนเรียกชื่อและอีกมากมายที่จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนเป็นเซเลบริตี้จริงๆ ยังไงยังงั้น

mm.jpg

M&M ออกรูปแบบบริการลูกอมช็อกโกแลตตามสั่ง ขั้นตอนเริ่มจากให้ลูกค้าเลือกสีลูกอม แล้วพิมพ์ข้อความหรือ
โลโก้ลงบนลูกอมช็อกโกแลต M&M โดยล่าสุดบริษัทได้เพิ่มลูกเล่นใหม่ ให้ลูกค้าอัพโหลดไฟล์รูปภาพ จากนั้น
ใช้เครื่องมือปรับขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง กำหนดสัดส่วนของรูปภาพที่ต้องการให้แสดงบนลูกอม ไฟล์
ภาพจะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญทางด้านกราฟฟิกของ M&M เพื่อปรับแต่งภาพให้มีลักษณะเหมือนภาพสเก๊ตช์
ที่สมบูรณ์ ดูสวยงาม ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการพิมพ์ภาพลงบนลูกอมจริงๆ

“THE CONVENIENCE ECONOMY”

bikestation.jpg

 ในภาวะเศรษฐกิจที่เวลามีความสำคัญเปรียบได้กับค่าเงินสกุลใหม่  ซึ่งผู้คนยอมจ่ายเงินซื้อเวลาเพื่อให้ได้มา
ซึ่งความสะดวกสบายในชีวิต ต้องอาศัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมเหนือกาลเวลา ผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยทำ
ให้ชีวิตเป็นเรื่องง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น และประหยัดเวลาได้มากขึ้น เช่น ปัญหาน้ำมันแพง รถติดและสิ่งแวด
ล้อมเป็นพิษ ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุครุ่งเรืองของการใช้จักรยานเป็นพาหนะ ตามมาด้วยการเกิดของธุรกิจที่จอด
รถจักรยานตามเมืองต่างๆ บริษัทน้องใหม่อย่าง BikeCentral ในเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ก็เพิ่งจะ
เปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากจะให้บริการจอดรถจักรยานที่ปลอดภัยแล้ว ยังเพิ่มบริการเสริมอื่นๆ เช่น จัด
ให้มีล็อกเกอร์ส่วนตัว ห้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า บริการเครื่องดื่มกาแฟ อาหาร อินเทอร์เน็ต บริการให้เช่ารถจักร-
ยาน รวมถึงบริการซ่อมจักรยานด้วย BikeCentral เสนอแพ็กเกจบริการรายสัปดาห์ ราคาเริ่มต้นที่ 25 เหรียญ
ดอลล่าร์นิวซีแลนด์ บริษัทวางแผนขยายสาขาไปยังเมืองไครสต์เชิร์ช และเวลลิงตันเป็นอันดับต่อไป ส่วนทาง
ฟากฝั่งอเมริกาก็มีบริการรูปแบบเดียวกันนี้เช่นกัน เช่น McDonald’s Cycle Center  ในเมืองชิคาโก และ
Bikestation ในเมืองซีแอตเติ้ล

 wakozi.jpg

บริการจัดส่งสินค้าถือเป็นความสะดวกสบายที่คนเมืองหลวงชื่นชอบเป็นพิเศษ Wazoki เป็นอีกธุรกิจออนไลน์
ที่ให้บริการจัดส่งสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮล์และของกินเล่นให้กับผู้พักอาศัยในเขตแมนฮัตตัน ผ่านการสั่ง
สินค้าบนเว็บไซต์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนหน้าร้านให้กับร้านค้าต่างๆที่เข้าร่วม ที่สำคัญบริษัทไม่จำเป็นต้องมีสต็อก
สินค้าหรือจ้างพนักงานส่งสินค้าแต่อย่างใด เพราะอาศัยการทำงานร่วมกับร้านค้าและใช้พนักงานจัดส่งสินค้าจาก
ร้านค้าที่มีอยู่แล้ว เป็นรูปแบบของการทำธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ ใช้พนักงานน้อยและไม่มีค่าใช้จ่ายในการสต็อกสินค้า
เลย

honibe.jpg

Honey Drop นวัตกรรมหวานๆ คิดค้นโดยบริษัทผู้ผลิตอาหาร Island Abbey Foods ในประเทศแคนาดาฉีกรูป
แบบการบริโภคน้ำผึ้งชนิดเหลวทั่วไป ด้วยน้ำผึ้งอัดเม็ดชนิดแห้ง ไม่เหนียวมือ ใช้สำหรับผสมในเครื่องดื่มชาหรือ
ใช้กินเป็นลูกอมก็ได้ ผลิตด้วยน้ำผึ้งจากเกาะ Prince Edward ซึ่งหนึ่งเม็ดเท่ากับปริมาณของน้ำผึ้งหนึ่งช้อนชา
น้ำผึ้งแห้ง Honey Drop นี้สามารถเก็บไว้ได้นานหนึ่งปี มีให้เลือกสองรสชาติ คือ รสน้ำผึ้งแท้และรสน้ำผึ้งผสม
มะนาว หนึ่งกล่องมี 20 เม็ด จำหน่ายในราคาพรีเมียมกล่องละ 11.99 เหรียญดอลล่าร์แคนาดา


อ่านต่อ........................


ขอบคุณบทความดีๆ จาก www.tcdcconnect.com
และที่มาของบทความนี้จาก

ที่มา Trendwatching.com

Tags:

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที