Innovation & Green
หากทุกท่านสังเกตุการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการในปัจจุบันจะพบว่า คำว่า Innovation ถูกนำมาให้บ่อยที่สุด อาจจะเพื่อต้องการจะสื่อสารให้รู้ว่าสินค้าและบริการนั้นมีเทคโนโลยีใหม่ หรือมีอะไรๆใหม่ๆก็ตามที จนบางครั้งมันเหมือนจะแยะจนเกินไป จึงเกิดความสงสัยว่ามันมีอะไรดี จริงหรือเปล่าในสินค้าตัวนั้น แต่ อย่างไรก็ตาม Innovation ก็ยังสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาสนใจได้เสมอ
เรามาดูความหมายของคำว่า Innovation ดีกว่า จริงๆแล้วคำนี้นั้นได้มีผู้ให้คำนิยามอยู่มากมาย แต่สำหรับในเมืองไทย ที่น่าจะให้ความหมายครบถ้วนที่สุด น่าจะเป็น คำนิยามจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
"นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"
จากนิยามนี้ก็คงจะทำใหม่เข้าใจมากขึ้นว่า หากสินค้าและบริการใดมี นวัตกรรม ก็น่าจะน่าสนใจ แต่ว่าผู้บริโภคก็ควรจะพิจารณารอบด้านเพราะการมีเทคโนโลยีใหม่ หรือ กระบวนการใหม่ในสินค้านั้น ใช่ว่าจะสามารถตอบสนองการใช้สินค้านั้นของผู้บริโภคได้อย่างที่ต้องการ เสมอไป ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆด้วย
นอกจากกระแสด้านนวัตกรรมแล้ว กระแสอีกอย่างหนึ่งที่มาแรงมากๆ ๆ คือ กระแสรักษ์โลก
เดี้ยวนี้อะไร ๆ ก็จะชอบนำกระแสนี้มาใช้ใน การประชาสัมพันธ์ของทั้งภาครัฐและเอกชน มองดูมันอาจจะดูผิวเผิน และมีผู้สงสัยว่า ที่มีโครงการต่างๆ จากทุกภาคส่วนนั้น มันจะช่วยลดโลกร้อนได้จริงหรือเปล่า แต่มีนักวิชาการหลายท่าน ออกมาบอกว่าพฤติกรรมต่างๆเล็กๆ น้อยๆที่ รณรงค์กันอยู่นั้นหากทำกันหลายๆคนรวมเป็นทั่วประเทศ หรือ ทั่วโลก ก็จะช่วยโลกได้อย่าง มหาศาล เลยทีเดียว แต่ก่อนเลือกทำอะไรเพื่อโลกก็ศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนว่า มันจริงหรือเปล่าข้อมูลที่ได้มา เพราะเดี้ยวนี้มีคนออกมาบอกเรื่องนี้กันแยะมาก ต้อง ตรวจสอบกันนิดหนึ่งครับ และเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าน่าจะช่วยโลกได้จริงๆ ก็เลือกนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามความสะดวกและเหมาะสม
เรามาดู ความหมายทางวิชาการเกี่ยวกับ การออกแบบ กันนะครับ
การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design หรือ EcoDesign)
เป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ขั้นตอนการแผนผลิตภัณฑ์ ช่วงการออกแบบ ช่วงการผลิต ช่วงการนำไปใช้ และช่วงการทำลายหลังการใช้งาน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยส่งผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
ฟังดูอาจจะเข้าใจยากแต่ ในภาษาที่เป็นที่เข้าใจ ก็คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเอง
การนำ EcoDesign มาประยุกต์ใช้จะคำนึงถึงกลไก (EcoDesign Strategy) ใน 7 ด้านหลัก ดังนี้
- ลดการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Reduction of low-impact materials)
- ลดปริมาณและชนิดของวัสดุที่ใช้ (Reduction of materials used)
- ปรับปรุงกระบวนการผลิต (Optimization of production techniques)
- ปรับปรุงระบบการขนส่งผลิตภัณฑ์ (Optimization of distribution system)
- ปรับปรุงขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ (Optimization of impact during use)
- ปรับปรุงอายุผลิตภัณฑ์ (Optimization of initial lifetime)
- ปรับปรุงขั้นตอนการทิ้งและทำลายผลิตภัณฑ์ (Optimization of end-of-life)
ซึ่งทั้ง นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นกระแสที่ถูกนำมาใช้ในทั้งกระบวนการผลิตและการตลาดอย่างกว้าง
และดูเหมือนว่า หากนำมาปะยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ให้ได้ประโยชน์ทั้งแต่ผู้ผลิตและผู้บริโภค ก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างมากมาย
ผมได้มีโอกาสอ่านบทความจาก www.tcdcconnect.com ซึ่งมีตัวอย่างที่น่าสนใจ จึงนำมาฝากนะครับ หากใครสนใจก็เข้าไปอ่านต่อใน ลิงค์ต่างๆ ทีมีไว้ได้เลยครับ
| ||||||
|
ที่มา Trendwatching.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที