นิชาภา

ผู้เขียน : นิชาภา

อัพเดท: 02 ต.ค. 2009 12.37 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3341 ครั้ง

ความไว้วางใจ (Trust) เป็นคำที่เข้าใจความหมายได้ง่าย แต่สร้างได้ยาก ที่ว่าความไว้วางใจนั้นสร้างยาก เพราะต้องอาศัยปัจจัยที่ทำให้เชื่อมั่นอย่างน้อย 2 ด้านประกอบกัน คือ 1. ความเก่ง มีประสบการณ์ ความสามารถที่น่าเชื่อถือ และ 2. ความดี คือ มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่น่านับถือ และทั้งสองด้านนี้ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่องเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันด้วย


เริ่มต้นพัฒนาองค์กรด้วยการสร้างความไว้วางใจ ตอนที่ 11

บทสรุป

ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากองค์ประกอบหนึ่งสำหรับองค์กร หากปราศจากความไว้วางใจ องค์กรนั้นก็จะปราศจากความเป็นหนึ่งเดียว และความสามัคคี ความคิดสร้างสรรค์จะน้อยลง องค์กรนั้นจะมีกระบวนการตัดสินใจที่ไร้ประสิทธิภาพ อัตราการลาออกของพนักงานจะสูง ข่าวลือ การนินทา และเสียงซุบซิบต่าง ๆ ภายในองค์กรก็จะมากไปด้วย ความไว้วางใจไม่ใช่เป็นเพียงแนวคิดที่ธรรมดา หากแต่ความไว้วางใจอาจเป็นเสมือนกำแพงซีเมนต์หนึ่งที่กั้นกลางระหว่างความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของบุคคลในองค์กร หรือ อาจเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ การแสดงภาวะความเป็นผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภาวะความเป็นผู้นำในองค์กรจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย  หากองค์กรนั้นไม่มีความไว้วางใจกันและกันในระดับหนึ่ง นั่นคือ องค์กรนั้นจะไม่สามารถผลักดัน หรือทำให้พนักงานในองค์กรสนับสนุนคล้อยตามการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างแท้จริงได้   

ในแง่หนึ่ง ความไว้วางใจในองค์กร  ยังได้รับการกล่าวถึงว่ากลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการบริหารงานบุคลากร   เรามักจะพบว่า องค์กรที่มีระดับของความไม่ไว้วางใจกันสูงมักก่อให้เกิดผลเสียต่อความสามารถทางการแข่งขัน ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมที่มีความไว้วางใจกันสูงจะมีศักยภาพ และความสามารถในการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างดี  ความไว้วางใจ  จึงจัดเป็นพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกันที่จะส่งผลให้เกิดความเต็มใจที่จะร่วมมือกันในการปฏิบัติงาน   การที่จะปฏิบัติงานภายในองค์การให้มีประสิทธิภาพตามที่องค์การกำหนดไว้นั้น ผู้บริหารต้องมีความไว้วางใจพนักงานและพนักงานจะต้องมีความไว้วางใจในผู้บริหารด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญกับการแข่งขันและความไม่แน่นอน ความไว้วางใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ หรือภาครัฐไม่ได้แตกต่างกันว่าจำเป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานอย่างไร

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที