ตอนที่ 7
Fermentation Process
Seeding / Inoculation Screen Filtering Fermentation Mash / Beer
รูปที่ 8 แสดงกระบวนการหมักส่า(Fermentation Process)
1. การเตรียมหัวเชื้อ / การเลี้ยงเชื้อ (seeding / inoculum )
การเตรียมหัวเชื้อและการเลี้ยงเชื้อ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ
1.1 การเตรียมอุปกรณ์และวัสดุ เพื่อใช้ในการเลี้ยงเชื้อ เป็นขั้นที่ทำในห้องปฏิบัติการ เริ่มจากการทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชิ้นด้วยความร้อน รวมถึงถังเลี้ยงเชื้อ / ถังขยายเชื้อ (seeding tank / starter) ในบริเวณถังหมักส่า ถ้าเป็นถังขนาดใหญ่ต้องใช้ไอน้ำอบฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 115-125°C เป็นเวลานาน 30-40 นาที แต่ในกรณีที่มีระบบล้างอัตโนมัติในถัง CIP (clean in place) ก็จะได้รับความสะดวกในการทำงาน และต้องดำเนินตามขั้นตอนของกระบวนการอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ระบบติดเชื้อ
1.2 ทำการเตรียมเชื้อจาก ห้องปฏิบัติการ เริ่มจาก 1 flask seed และขยายจนได้ปริมาณเชื้อเพียงพอที่จะไปเลี้ยงต่อในถังขยายเชื้อ (starter)
ต้องมีการประสานงานกันระหว่างห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมเชื้อ
ให้กับฝ่ายหมักส่า ที่ต้องมีการเตรียมสารอาหาร / แร่ธาตุ ให้พร้อมก่อนนำเชื้อจากห้องปฏิบัติการ มาเลี้ยงต่อใน starter
1.3 ทำการเลี้ยงเชื้อในถังเลี้ยง (starter) โดยนำเชื้อจากห้องปฏิบัติการมาเทลงในถังเลี้ยงเชื้อ ที่มีการเตรียมสารอาหารไว้เพียงพอ เป็นขั้นตอนที่ต้องป้องกันการติดเชื้ออื่นๆจากภายนอกถัง เปิดมอเตอร์ให้กวนส่วนผสมในถัง และเติมอากาศที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เพื่อช่วยเร่งการทำงานของยีสต์ Saccharomyces cerevisiae SC90 และต้องควบคุมอุณหภูมิ ให้อยู่ในช่วง 29 32°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ดี การเลี้ยงยีสต์นี้ต้องมีการควบคุมเวลาที่ใช้ ให้พอดีกับการเจริญเติบโต เพื่อพร้อมที่จะส่งเข้าไปในถังหมักส่าต่อไป เวลาที่ใช้เฉลี่ยประมาณ 24 ชั่วโมง(ประมาณ 1 วัน)
1.4 การส่งlส่วนผสมเชื้อเพื่อเข้าสู่กระบวนการหมัก ในถังหมักส่า (fermenter) ระหว่างที่ยีสต์ขยายการเจริญเติบโต ต้องมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบปริมาณของยีสต์ ในกรณีที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต ต้องมีการเตรียมส่วนผสมกากน้ำตาลและน้ำ (medium) ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมโดยในถังปฏิกิริยา / ถังผสม (fermenter) ต้องเตรียมถังให้สะอาด และมีการอบไอน้ำฆ่าเชื่อเช่นเดียวกับขั้นตอนของ การทำใน seeding tank /starter และในกรณีที่ใช้มันเส้นเป็นวัตถุดิบ เมื่อมันเส้นผ่านกระบวนการ ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล (saccharification) แล้ว ส่วนผสม mediumที่ได้ใน saccharifying tank ก็สามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการหมักใน fermenter
ในขั้นตอนการเตรียมหัวเชื้อ / การเลี้ยงเชื้อ นี้ภาชนะและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ผ่านการใช้ในกระบวนการแล้ว จะต้องทำความสะอาด และล้างทันที่เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆในระบบ
เตรียมในห้องปฏิบัติการ 1- flask เชื้อยีสต์ ขยายเชื้อ STARTER FERMENTER#1 FERMENTER#2 FERMENTER#3
รูปที่ 9 แสดงการเตรียมหัวเชื้อ / การเลี้ยงเชื้อ (seeding / inoculation )
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที