ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 เม.ย. 2010 12.15 น. บทความนี้มีผู้ชม: 309058 ครั้ง

E THANOL ……….energy of THAILAND

Biofuels:….เป็นแหล่งพลังงานที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นมา….แล้วใช้ไป….และผลิตขึ้นมาใหม่ เป็นวัฏจักรที่ไม่มีวันสิ้นสุด…เปรียบเสมือนเป็น…renewable or sustainable energy…biofuels ….ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางคือ…..biodiesel…ethanol


(Distillation-1 ) ETHANOL.....energy of THAILAND

ตอนที่ 10

                                                                                                                                                                          

3. ขั้นตอนการกลั่น  (Distillation Process)                                                                                                    

     3.1 หลักพื้นฐานของการกลั่น (Principle of  Distillation)  การกลั่นเป็นการแยกสารละสายที่เป็นของเหลวออกจากของผสม  โดยอาศัยหลักการระเหยกลายเป็นไอแล้วนำไปและควบแน่น  โดยอาศัยหลักการที่ สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดเปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะต่างกัน  สารที่มีจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน  เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง  กระบวนการกลั่น แบ่งได้เป็น 4 วิธี ตามประเภทของสารและการใช้งานคือ…… 1. การกลั่นแบบพื้นฐาน (Basic Distillation) …..2. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (Extraction by  Distillation) …..3. การกลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation)…..4. การกลั่นน้ำมันดิบ (Refining)                                                                           
          การกลั่นแบบพื้นฐาน มักใช้ในการกลั่นแยกสารบริสุทธิ์ออกจาก สารผสม / สารแขวงลอย ในห้อง  ปฏิบัติการ หรือในงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่มีกระบวนการซับซ้อนใดๆ  ดังแสดงตามรูปที่13 ….การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำเป็นตัวทำละลาย   เป็นการแยกสารออกจากของผสม  ใช้ในการแยกสารที่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ  ระเหยง่าย และไม่ละลายน้ำ  ออกจากสารที่ระเหยยาก ข้อดีของการกลั่นแบบสกัดนี้ สามารถใช้แยกสารระเหยง่าย  ออกจากสารระเหยยาก    และสามารถควบคุมความดันไอของสารที่มีจุดเดือดสูงให้สามารถกลั่นตัวที่อุณหภูมิต่ำลงมาได้   ตัวอย่างเช่น การกลั่นสกัดน้ำมันหอมระเหยจาก เปลือก เมล็ด ก้านและใบของพืชได้โดยง่าย                                                                                                                                       

          การกลั่นลำดับส่วน เป็นการแยกของเหลว  ตั้งแต่ 2 ชนิดโดยมีจุดเดือดที่ต่างกันไม่มาก เป็นการกลั่นโดยใช้ หอกลั่นหรือที่เรียกว่า คอลัมน์(Column) เป็นชั้นๆในการแยกสารที่ต้องการกลั่นแยกออก   เหมือนกับการกลั่น แบบพื้นฐาน   แต่เป็นการกลั่นซ้ำหลายๆครั้งจนได้สารบริสุทธิ์   การกลั่นลำดับส่วนนี้  เป็นการดึงไอออกมา ควบแน่น แล้วจึงกลั่นซ้ำ  จนได้สารที่ต้องการบริสุทธิ์ ที่สุด  ในหอกลั่นหรือคอลัมน์จะมีการสร้างซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ในเวลากลั่นต้องมีการให้ความร้อนแก่หอกลั่นและสารที่ต้องการกลั่น อย่างช้าๆ และมีการควบคุมอุณหภูมิด้วย อุปกรณ์ที่ให้ความร้อน (heater / steam)  อย่างคงที่   เพื่อป้องกันความร้อนสูงเกิน   เหมาะสำหรับการกลั่นแยกสารเคมีหลายๆตัวออกจากกัน เช่นการกลั่นแอลกอฮอล์ เป็นต้น           

           การกลั่นน้ำมันดิบ เป็นการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดออกจากกัน  โดยการแยกสารแขวงลอย โลหะหนัก กำมะถัน ก๊าซ และสิ่งเจือปนอื่นๆออกก่อน จึงนำมากลั่นแบบลำดับส่วน ซึ่งสามารถเก็บสารที่ต้องการ ตามช่วงของอุณหภูมิของจุดเดือด  อุณหภูมิที่ใช้ในการกลั่นอยู่ในช่วง  320 - 385°C   ได้เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิดเช่น ก๊าซหุงต้ม (LPG) , น้ำมันเบนซิน , น้ำมันก๊าด , น้ำมันดีเซล , น้ำมันหล่อลื่น , ไข น้ำมันเตา และยางมะตอย                                                                                                                              




90275_Picture128.png




รูปที่ 13  แสดงเครื่องกลั่นแบบพื้นฐาน(Basic of Distillation Process)



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที