ปรารพ

ผู้เขียน : ปรารพ

อัพเดท: 18 ก.ย. 2009 08.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4914 ครั้ง

“ต่างจากคู่แข่ง-เข้าใจผู้ใช้” กลยุทธ์เด็ดสู่ความสำเร็จของสื่อออนไลน์ การทุ่มงบเพื่อพัฒนาธุรกิจและเนื้อหาบนสื่อออนไลน์


1



ทุกวันนี้ สื่อออนไลน์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว นักการตลาดและผู้ประกอบการต่างเห็นถึงลู่ทางในการทำการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ประหยัดและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งด้วยสื่อครบวงจร ทั้งเป็น interactive ตอบสนองผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา

ได้มีโอกาสอ่านบทความดีๆ จากเว็บ www.tcdcconnect.com จึงนำมาฝากกันนะครับ

“ต่างจากคู่แข่ง-เข้าใจผู้ใช้” กลยุทธ์เด็ดสู่ความสำเร็จของสื่อออนไลน์
September 16th, 2009
11.jpg

ประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างสหรัฐอเมริกาเคยคาดการณ์ไว้ว่า ในปีค.ศ. 2011 เม็ดเงินในโฆษณาออนไลน์ของสหรัฐฯ จะสะพัดถึงราว 36,000 ล้านดอลล่าร์ (หรือ 1.3 ล้านล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นการเติบโตที่สูงขึ้นถึง 87% ภายในช่วง 5 ปี (นับตั้งแต่ปีค.ศ. 2007) ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราค่าโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ (New Media) มีราคาถูกกว่าการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ (Traditional Media) อย่างมาก (ค่าโฆษณาทีวีอยู่ที่ประมาณ 2-3 แสนบาท/นาที) นอกจากนั้น สื่อออนไลน์ยังมีข้อได้เปรียบอื่นๆ แถมท้ายให้อีก เช่น ความเป็นสื่อที่ interactive, สามารถอัพเดทข้อมูลได้ตลอดเวลา และทะลุทะลวงหากลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ดีกว่า

ทุกวันนี้นั้น แม้แต่ในแวดวงของธุรกิจสื่อ (Media industry) เอง เช่น หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ต่างก็หันมาทุ่มงบเพื่อพัฒนาธุรกิจและเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ มากกว่าการพัฒนาช่องทางการขายและการโฆษณาในแบบเดิมๆ ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ (Financial Times) และวอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wallstreet Journal) ที่เริ่มคิดเงินผู้อ่านแบบ pay-per-view สำหรับการเข้าดูเนื้อหาบางประเภทบนเว็บไซต์ หรือนิตยสารรักลูก (ของไทย) ที่หันมาจับกลุ่มธุรกิจใหม่ และพัฒนาเว็บไซต์ momypedia.com ขึ้น โดยนำเสนอเนื้อหาต่างๆ สำหรับกลุ่มครอบครัวกว่าสองหมื่นเรื่อง นอกจากนั้น ในอนาคตยังมีแผนการจะพัฒนาเว็บให้เป็น “ตลาดกลาง” สำหรับสมาชิกในการขายสินค้าอีกด้วย

การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการบริโภคสื่อออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยในเมืองไทยเรานั้น มีตัวเลขรายงานว่ายอดใช้จ่ายผ่านสื่อออนไลน์เติบโตขึ้นถึง 30% ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี แม้พื้นที่การค้าบนโลกไซเบอร์จะมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปได้อีกมาก แต่ในขณะเดียวกัน คู่แข่งขันใหม่ๆ ในสนามธุรกิจนี้ก็จะเพิ่มสูงในอัตราที่รวดเร็วไม่แพ้กัน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น กลยุทธ์การสร้าง “ความแตกต่าง” จะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการอยู่อดของธุรกิจออนไลน์ในอนาคต

ธรรมชาติของสื่อออนไลน์นั้น มีลักษณะแบ่งกลุ่มย่อยตามความสนใจอยู่แล้วในตัวเอง ดังนั้นในการสร้างความแตกต่าง เราจึงต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อกลุ่มผู้ใช้มากเป็นพิเศษ วันนี้ tcdcconnect ได้รวบรวมเอาลักษณะเด่นจากเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มาให้ผู้อ่านได้เก็บไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

21.jpg

1. การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด

เราคือใคร กำหนด Positioning ของเว็บไซต์ให้ชัดเจนว่าต้องการให้บริการด้านใด เช่น จะเป็น Search Engine (แบบ google) หรือจะเป็น Portal (ที่เปิดประตูสู่ข้อมูลอื่นๆ) หรือจะเป็นเว็บเฉพาะกิจ (ที่มีเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) การวาง positioning ที่ชัดเจนนี้จะช่วยให้เราไม่หลงทาง สามารถพัฒนาเว็บให้เป็นที่นิยมได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งนั่นเท่ากับว่าเราจะขายโฆษณาได้ง่ายขึ้น และผู้ลงโฆษณาก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นด้วย

ใครคือเรา กำหนดและทำความรู้จัก “กลุ่มเป้าหมาย” ให้ได้มากที่สุด โดยใช้ข้อดีของสื่อออนไลน์ ที่สามารถแยกย่อยกลุ่มผู้บริโภคได้ลึกและหลากหลายเท่าที่เราต้องการ (ต่างจากสื่อแบบดั้งเดิม ที่ส่วนใหญ่จะพึ่งพาลักษณะทางประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ รายได้ เป็นหลัก) ซึ่งเมื่อเห็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว เราก็จะสามารถพัฒนาเว็บไซต์ให้ตอบสนองต่อธรรมชาติ และความต้องการของเขาได้ดีที่สุด

รู้จักเขา สำรวจเว็บที่เป็นคู่แข่ง (หรือใกล้เคียง) ในท้องตลาดเพื่อหาข้อมูลเปรียบเทียบ ทั้งในแง่การพัฒนาเนื้อหา จำนวนผู้ใช้ ใครคือผู้ลงโฆษณา ความคิดเห็นจากผู้ใช้ ฯลฯ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาเว็บของเรา

อ่านต่อ.............     

ข้อมูลจาก:
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=31016 http://www.marketingoops.com/news/online/raklook/

Credit ภาพ:
http://ec1.images-amazon.com/images/I/51HJHL058rL.jpg http://vertuelle.com/services/internet_design/images/websitepencils.jpg http://blogs.voices.com/thebiz/blogging_101.jpg

บทความจาก www.tcdcconnect.com

ขอบคุณบทความดีๆที่มีมาเสมอนะครับ




บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที