คมคิด

ผู้เขียน : คมคิด

อัพเดท: 10 ก.ย. 2009 05.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4035 ครั้ง

ท่านทั้งหลายเคยประสบปัญหาหน้างานที่แก้เท่าไหร่ ก็ไม่หายขาดสักที เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า น่าจะมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้หรือไม่


รากเหง้าของปัญหา

    ท่านทั้งหลายเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าใช่หรือไม่ ทำไมถึงเกิดขึ้นซ้ำอีก แก้เท่าไหร่ก็ไม่หายสักที เหตุผลคือเรายังไม่พบรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง เป็นเพราะเหตุดังต่อไปนี้
 1.เรายอมรับหรือเปล่าว่าปัญหาที่แท้จริงนั้นถูกซุกซ่อนอยู่ เกิดจากตัวหัวหน้างานเอง ผู้บริหารเอง ทั้งหลายที่คอยกดดันพนักงาน เกี่ยวกับการผลิตงานเสียบ้าง การปฏิบัติงานผิดพลาดบ้าง ท่านเหล่านั้นเคยบอกว่าห้ามผลิตของเสียนะห้ามทำงานนี้ผิดพลาดนะไม่เช่นนั้นจะถูกหักเงินหรืออื่นๆอีกมากมาย
 2.เมื่อเกิดปัญหาขึ้นท่านถามคำถามแรกเลยว่า ใครเป็นคนทำ ใครรับผิดชอบ ใครสั่งให้ทำใช่หรือไม่
 3.เมื่อเกิดปัญหาสิ่งผิดปกติ เหตุการณ์ผิดปกติท่านรับฟังปัญหาของพนักงานหรือไม่ และมีวิธีการจัดการให้เขาเหล่านั้นอย่างไร

 4.เมื่อแก้ปัญหาสิ่งผิดปกติต่างๆไม่ได้ หรือยังไม่แก้ไขนะเดี๋ยวนั้นตอนนั้น ท่านมีวิธีการจัดการอย่างไร เช่น ให้เขาทำอย่างระมัดระวังในจุดนี้ มันยังมีปัญหาอยู่ รอการแก้ไขอยู่เดียวจะแก้ไขให้ภายหลัง(จนลืม)และเมื่อเกิดปํญหาที่ใหญ่ขึ้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
 5.และเมื่อเกิดปัญหาขึ้ในจุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการได้แจ้งใครบ้าง และการตอบสนองเป็นอย่างไร
    ถ้าพบปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆแล้วท่านลองวิเคราะห์ดูแล้วเห็นว่าตรงกับหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น อยากให้ลองดูตัวอย่างการคิดการแก้ไขดังต่อไปนี้ อาจช่วยท่านได้ไม่มากก็น้อย
   ข้อ 1.ถ้าเราอยากแก้ปัญหาท่านต้องหาปัญหาที่แท้จริง โดยตัวท่านหัวหน้างานทั้งหลายต้องกล้ายอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อยากให้มองและคิดว่าไม่มีใครอยากผลิตงานเสีย ทำงานผิดพลาด(มองโลกในแง่ดี)แต่ยังไงมนุษย์ก็ต้องมีความผิดพลาด (Error) ถ้าทำงานกับเครื่องจักรลองหาวิธีที่ทำให้เครื่องจักรสามารถตรวจจับงานเสียได้เอง(Autonomation) และลองเปิดโอกาสให้พนักงานช่วยหาวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหาด้วยเพื่อการมีส่วนร่วม
   ข้อ2.อยากให้เราไปมองและวิเคราะห์ที่วิธีการหรือเครื่องจักรก่อนว่าปัญหามาจากอะไร ปัญหาอยู่ตรงไหนให้แก้ไขตรงนั้น แก้ให้ตรงจุด เพราะนแก้ปัญหาที่พนักงานหรือคนนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงท่านจะมั่นใจได้อย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
   ข้อ3.เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือสิ่งผิดปกติ ถ้าพนักงานแจ้งก็ต้องตรวจสอบและทำการแก้ไขทันทีเพราะพนักงานจะเป็นผู้ที่อยู่หน้างานเป็นประจำจะสังเกตุได้อยู่แล้วว่ามีเหตุการณ์สิ่งผิดปกติอย่างไรบ้าง เพราะอย่างที่บอกไปไม่มีพนักงานท่านไหนอยากทำงานเสียหรอกครับ
  ข้อ4.เมื่อท่านไม่สามารถ แก้ไขสิ่งผิดปกติต่างๆได้อย่างทันทีท่านก็ต้องมีมาตรการรับรองซึ่งต้องไม่ให้ผู้รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินการ เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่า ปัญหาต่างๆที่แจ้งไป บทสรุปสุดท้ายเขาก็ต้องรับผิดชอบอยู่ดี
  ข้อ5.เมื่อปัญหาเกิดขึ้นในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งไม่อย่ากให้มองว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่ปฏิบัติงานหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวเพราะถ้าปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเหล่านี้ถูกส่งผ่านไปยังลูกค้า ถามว่าใครเดือดร้อนบ้าง ต้องตอบให้ได้ว่าทุกคนในองค์กรต้องร่วมกันรับผิดชอบเพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องรวมทีให้ได้ และช่วยกันคิดแก้ปัญหาจะได้ลดน้อยลงจนหมดไปในที่สุดโดยใช้หลักการเคารพความเป็นมนุษย์ และการทำงานเป็นทีม               
             "ไม่มีใครเก่งแต่ผู้เดียว"               ทุกคนภายในองค์กรเปรียบเสมือนเฟืองจักรกลแต่ละชิ้น ในเครื่องจักใหญ่ที่ทำงานต้องประสานกัน ถ้าเฟืองชิ้นใดชำรุดหรือบกพร่องเครื่องจักรก็ไม่สามารถทำงานได้ นั่นคืองานใดๆจะสำเร็จด้วยดีต้องอาศัยความสามารถและการประสานของทุกคนในทีมงาน มิใช่สำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว
 



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที