พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ฉลาดขึ้น รู้เยอะขึ้น ทำให้มีความต้องการมากขึ้น และมีการคาดหวังสูงขึ้น ครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเทรนด์แกนนำที่อธิบายทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
EXPECTATION ECONOMY คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคมีประสบการณ์และข้อมูลความรู้มากขึ้น ทำให้มีการคาดหวังสูงต่อตัวสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่เพิ่มขึ้น ทั้งในประสบการณ์การบริโภคอันยาวนาน ตัวเลือกใหม่ๆ แหล่งข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าถึง มีผู้คัดเลือกและกรั่นกรองข้อมูลต่างๆให้ก่อนตัดสินใจ วันนี้ผู้บริโภคจึงไม่ได้คาดหวังให้สินค้าที่ตนซื้อ เป็นเพียงสิ่งที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทั่วไป แต่คาดหวังว่าเขาจะได้รับใน สิ่งที่ดีที่สุด
ยุคนี้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแพร่กระจายได้ไวปานจรวด แบรนด์ใหม่ๆ มีโอกาสเปิดตัวและเกิดในตลาดได้รวดเร็ว
ถ้าดีจริง และที่สำคัญ ผู้บริโภคมีความฉลาดรอบรู้ว่าสินค้าอะไรดีที่สุด ถูกที่สุด หรือใช่ที่สุด และยังเพลิดเพลินกับการสืบเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆ แถมนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันอย่างเอาจริงเอาจัง โดยอาศัยข้อมูลจากเว็บไซต์ บล๊อก และแม๊กกาซีนแขนงต่างๆ เหล่านี้
- Core77, Design*Sponge, Apartment Therapy (ดีไซน์, เฟอร์นิเจอร์ และผลงานวัตถุ)
- Gizmodo, Engadget, Ubergizmo ( สิ่งประดิษฐ์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ล้ำสมัย)
- Treehugger, Inhabitat (ผลิตภัณฑ์เก๋ๆเพื่อสิ่งแวดล้อม)
- Curbed (บ้านและที่ดิน)
- Cool Hunting, The Coolhunter, Josh Spear, NOTCOT ( ข้าวของเครื่องใช้เท่ๆ คูลๆ)
- Gridskipper, superfuture, Jaunted, Wallpaper, TripAdvisor, Monocle (โรงแรม,ร้านอาหาร,
สถาปัตยกรรม)
- Flavorpill (เทศกาลงานสำคัญตามเมืองต่างๆ)
- FlyerTalk, SeatGuru, Skytrax (สายการบินและการจองที่นั่งที่ดีที่สุด)
- Luxist, Born Rich ( สินค้าและบริการชั้นหรูหรา )
- Autoblog, Jalopnik, Hybrid Cars Blog (ยานยนต์กลไก)
- JC Report, The Sartorialist (แฟชั่นและสไตล์)
- Kotaku, Joystiq (วีดีโอเกมส์)
- Styledash (ความสวยความงาม)
- Slashfood, Chocolate & Zucchini (อาหารและเครื่องดื่ม)
- EUKicks (รองเท้ากีฬา)
- Vinography (ไวน์)
-
FirstShowing, /Film (ภาพยนตร์)
-
Digital Photography Review (ภาพถ่าย)
-
ฯลฯ ผู้บริโภครู้สึกอย่างไร ถ้าหวังแล้วไม่ได้ดั่งใจ?
ผลกระทบในแง่ความรู้สึกของผู้บริโภคที่รู้มาก หวังสูง แต่ตลาดสินค้าไม่ตอบสนอง ทำให้ผู้บริโภคเกิดภาวะเบื่อหน่ายและหงุดหงิดรำคาญใจ อาการเบื่อหน่ายมักเกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคมองว่ายังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด และสามารถเลี่ยงไปใช้ตัวเลือกอื่นๆที่คิดว่าดีกว่าได้ เลยคิดเสียว่า ช่างมันฉันไม่แคร์ เมื่อใช้สินค้าแล้วไม่ชอบก็เลิกใช้ ไม่คิดหวนกลับไปใช้อีก และไม่บอกด้วยว่า เพราะอะไร