การสร้างความสมานฉันท์ ตามรอยพระพุทธเจ้า (ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี)
วิกูล โพธิ์นาง
รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
เมื่อพุทธกาล ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ณ โฆษิตาราม ใกล้กับเมืองโกสัมพี มีภิกษุสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่แสดงธรรมเก่ง (ธรรมกถึก) กับกลุ่มที่เคร่งครัดในพระวินัย (วินัยธร)
แต่ละกลุ่มก็มีอุปัชฌาของตนเอง แบ่งได้กลุ่มละประมาณ ๕๐๐ รูป
อยู่มาวันหนึ่งพระอุปัชฌาฝ่ายธรรมกถึก ไปทำภาระกิจในถาน (สุขาของพระ) เมื่อตักน้ำล้างที่ถานแล้ว ก็เหลือน้ำไว้ในภาชนะ
การเหลือน้ำไว้ในภาชนะหลังจากที่ตักไปล้างถานแล้ว ทางพระวินัยถือว่าผิด (เป็นอาบัติ) เพราะจะทำให้เป็นที่ฟักไข่ของยุงหรือสัตว์อื่นๆได้ เป็นต้น เมื่อพระรูปอื่นไปใช้ถานภายหลัง ก็จะเป็นการทำลายชีวิตสัตว์
ให้หลังจากที่พระอาจารย์ฝ่ายะรรมกถึกออกจากถานไป พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรได้เข้าไปใช้ถานนั้นบ้าง เมื่อเห็นน้ำแล้ว ก็ออกมาถามพระอุปัชฌาฝ่ายธรรมกถึก
ว่าเมื่อครู่ท่านเหลือน้ำไว้ในภาชนะหรือ พระธรรมกถึกก็ยอมรับว่าไช่ พระวินัยธรถามต่อว่า แล้วที่ทำเช่นนั้นท่านไม่รู้หรือว่าเป็นอาบัติ พระธรรกถึกก็ตอบตามตรงว่าไม่ทราบ พร้อมทั้งบอกกับพระวินัยธรว่า ถ้าอย่างนั้นผมขอปลงอาบัตินะครับ ฝ่ายพระวินัยธรก็ยั้บยั้งว่า ไม่เป็นไรหรอกในเมื่อท่านไม่ทราบว่าเป็นอาบัติ ท่านไม่ได้แกล้งทำ ไม่ต้องปลงอาบัติหรอก ( การปลงอาบัติ เป็นการขอขมา และสัญญาว่าจะไม่ทำเช่นนั้นอีก ในความผิดที่ไม่รุนแรง)
แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระอาจารย์ฝ่ายวินัยธร ได้ไปบอกกล่าวลูกศิษย์ของทั้งหมดว่า พระอาจารย์ธรรมกถึกเหลือน้ำไว้ในภาชนะหลังจากที่เข้าไปในถาน ต้องอาบัติขนาดนั้นยังไม่รู้ตัวอีก
ฝ่ายลูกศิษย์ของพระวินัยธร ก็นำเรื่องการไม่รู้อาบัตินั้นไปพูดในทางเสียหายแก่ลูกศิษย์ของพระธรรมกถึก ทำนองว่าพระอาจารย์ของท่านไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นอาบัติหรือไม่เป็น
ฝ่ายลูกศิษย์ได้ฟังก็ไม่พอใจ นำความไปฟ้องกับพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึก เมื่อได้ท่านฟังก็คงจะอารมณ์เสีย เลยพูดว่า พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธร รูปนี้พูดมุสาเสียแล้ว ก็เคยพูดกับเราแล้วว่าไม่เป็นอาบัติ ครั้นเราจะของปลงอาบัติก็ห้ามว่าไม่ต้อง แล้วทำไมตอนนี้มาพูดเช่นนี้ ทำให้เราเสียหายมากนะ
ตั้งแต่นั้นมา ก็เกิดการบาดหมาง ทะเลาะกันแบ่งกันเป็นสองกลุ่มไม่พูดจากปราศรัยกัน ไม่ช่วยเหลือกัน ทั้งที่ก็อยู่ในอารามเดียวกัน
เวลาผ่านไปพระอาจารย์ฝ่ายวินัยธร ซึ่งท่านรู้วินัยดีกว่าพระธรรมกถึก ซึ่งเก่งแต่เฉพาะการสอนธรรม ได้ทำอุกเขปนียกรรม หรือการไล่ออกจากหมู่ ห้ามใครในอารามนั้นไปคบค้าสมาคมกับพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกรูปนั้น มิฉะนั้น จะถือว่าเข้าข้างคนผิด ก็จะได้รับโทษอาบัติ และผิดไปด้วย
แต่ฝ่ายลูกศิษย์ของพระธรรมกถึก และอุปบาสกอุบาสิกา ฆราวาสญาติโยมฝ่ายที่เชื่อศรัทธาธรรมกถึกอยู่ก่อนแล้ว หาได้เชื่อตามพระอาจารย์ฝ่ายธรรมธรไม่ ยังคงให้การคบค้าสมาคม ดูแลช่วยเหลืออยู่เหมือนเดิม
อยู่มา วันหนึ่งพระภิกษุผู้น้อย ได้นำเรื่องดังกล่าว ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลเรื่องการทะเลานั้นให้ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าก็ทรงส่งโอวาทไปทำนองว่า ให้ไปบอกกับพระสองกลุ่มนั้นให้เลิกทะเลาะกันเสีย หันหน้าเข้าหากันสามัคคีกัน ผู้เก่งธรรมก็สอนธรรม ผุ้เก่งวินัยก็ดูแลให้ความรู้เรื่องวินัย
ภิกษุผู้น้อยนั้นนำความไปบอกทั้งสองกลุ่ม ก็ไม่มีผู้ใดเชื้อฟัง ซ้ำร้ายทะเลาะกันมากขึ้น ก็นำความมากราบทูลพระพุทธเจ้าอีกเป็นครั้งที่สอง พระพุทธเจ้าก็ทรงส่งโอวาทให้ทำเช่นเดิม ก็ไม่ได้ผลอีก ทะเลาะกันเพิ่มอีก จนในอารามหาความสุขไม่ได้
ผ่านไปสองครั้งก็ไม่ได้ผล จนครั้งที่สามภิกษุผู้น้อยนั้นได้รีบนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าขณะนี้หนักกว่าเก่าอีก เกิดการแตกแยกระหว่างพระสองกลุ่มนั้นอย่างรุนแรง แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา หรือญาติโยมที่เคยเคยถวายอาหารก็แบ่งกันเป็นสองฝ่ายแล้ว
พระพุทธเจ้าได้สดับดังนั้นทรงเห็นว่าไม่ดีแน่จึงได้เสด็จไปที่อยู่ของพระทั้งสองกลุ่ม แล้วเรียกมาสอน และให้ทำสังฆกรรมร่วมกัน ทำวัตรเช้าเย็นด้วยกัน เวลาฉันข้าวให้นั่งเป็นแถว โดยสลับการระหว่างพระธรรมกถึกรูปหนึ่งคั้นด้วยพระวินัยธรรูปหนึ่ง แบบนี้ไปเรื่องยๆ
พระองค์ได้สอนว่าการแตกร้าว ไม่สามัคคีกัน ทะเลาะกันแก่งแย่งและวิวาทกัน ทำความฉิบหายให้ โดยยกตัวอย่างผลร้ายของการทะเลาะกันเช่น นกกระจาบหลายพันตัวทะเลาะกัน วิวาทกันยังสิ้นชีวิตทุกตัว อย่าไปเรียนแบบสัตว์เดรัจฉาน
ขณะที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น ทั้งสองกลุ่มก็ไม่เชื่อไม่ฟังคำสอน ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่กล้าพูด ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า เรื่องนี้จะขอจัดการกันเอง ขอให้พระองค์อย่าได้กังวลเลยโปรดเสด็จกลับไปปฏิบัติธรรมตามเดิมเถิด
เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นทีว่าจะสอนไม่ได้แล้ว ไม่ยอมเชื่อฟังทรงดำริว่าถ้าการอยู่ร่วมหมู่กับผู้ไม่ยอมให้อภัยกัน ทะเลาะกันอย่างนี้ ไปอยู่รูปเดียวดีกว่า จึงได้ออกจากอารามนั้นไป โดยไม่บอกกว่ากับภิกษุรูปใด หรือญาติโยมคนใดว่าจะไปที่ใด
พระองค์ได้เสด็จไปอีกอารามหนึ่ง ชื่อว่าพาลกโลณการาม และได้บอกกับพระเถระที่อารามนั้นว่าจะไปอีกบ้านหนึ่งเรียกชื่อว่าบ้านปาริเลยยกะ เพื่อปฏิบัติธรรมแต่เพียงพระองค์เท่านั้น ก่อนไปได้แสดงธรรมให้พระเถระรูปนั้นถึงอานิสงค์ของความสามัคคีว่า จะทำให้เกิดความเจริญ เป็นต้น
ฝ่ายญาติโยมที่เคยทำบุญใส่บาตรให้กับพระทั้งโยมฝ่ายธรรมกถึก และฝ่ายวินัยธร ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ใด ก็ไม่มีใครทราบ
เมื่อนิ่งกันอยู่นาน มีภิกษุรูปหนึ่งคงได้ข่าวมาก่อนใครบอกกับญาติโยมว่า พวกเราสองกลุ่มทะเลาะกันพระองค์ทรงห้ามแล้วไม่มีใครเชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าที่บ้านปาเลยยกะ
เมื่อได้ฟังความนั้น ญาติโยมได้รวมตัวกันทั้งหมด ไม่แบ่งฝ่ายแบ่งกลุ่มเหมือนพระภิกษุเหล่านั้น แล้วประกาศว่า ภิกษุทุกรูปโปรดทราบด้วยว่า พวกท่านทำผิด ขนาดมาบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า พระองค์ให้สามัคคีกัน รักกันก็ทำไม่ได้ ต่อไปพวกเราจะไม่ใส่บาตรให้พวกท่าน
เมื่อญาติโยมสามัคคีกันทั้งหมู่บ้านใกล้ไกลของอารามนั้น ไม่ใส่บาตร ไม่ดูแลให้ความช่วยเหลือพระทั้งสองกลุ่มที่ทะเลาะกันทำให้พระภิกษุ ๑๐๐ กว่ารูปอดอาหารซูบผมไปตามกัน
เพื่อความอยู่รอดพระสองกลุ่มเกิดสำนึกด้วย หันมาพูดคุยกันและยอมให้อภัยกัน ไม่ทะเลาะกันเหมือนก่อน และสัญญาว่าจะรักและสามัคคีกันตลอดไป
จึงได้ส่งภิกษุรูปหนึ่งไปบอกญาติโยมว่า ต่อไปให้ใส่บาตร และดูแลพระภิกษุทั้งหมดเหมือนเดินนะ พวกอาตมาสามัคคีกันแล้ว และจะไม่สร้างความแตกแยกอีกแล้ว
ญาติโยมฟังดังนั้นก็ถามว่า แล้วท่านได้ไปขอขมาพระพุทธเจ้าหรือยัง ภิกษุตอบว่ายัง ญาติโยมตั้งขอแม้ว่า ท่านต้องไปขอขมาต่อพระพุทธเจ้าก่อน พวกญาติโยมจึงจะกลับไปใส่บาตร และดูแลพวกท่านเหมือนเดิน
แต่พระภิกษุไม่สามารถไปขอขมาพระพุทธเจ้าได้ในทันทีเพราะยังอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ต้องรอให้ออกพรรษาเสียก่อน กว่าจะออกพรรษาได้พระภิกษุทั้งสองกลุ่มก็อยู่กันมาอย่างยากลำบาก เป็นเพราะความไม่สามัคคีกันนั่นเอง
พระพุทธเจ้าเมื่อจำพรรษาอยู่ที่ป่าปาเลยยกะนั้น ได้มีช้างชื่อปาเลยยกะ ที่หนีออกจากโขลงมาเพื่อยู่ผู้เดียวสงบ มาพบพระองค์เข้าก็ศรัทธา เมื่อเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรมาเลยคงจำพรรษาลำบาก จึงได้เข้าป่ากระ นำกิ่งไม้มากวาดให้ให้พระองค์ประทับ พระพุทธเจ้าประสงค์จะสรงน้ำร้อน ช้างนั้นก็จัดหามาให้ โดยใช้งวงจับกิ่งไม้แห่งสีกันจนเกิดไฟลุก ใส่ฟืนเข้าไป แล้วนำหินศิลามาเผาไฟ เมื่อหินร้อนได้ที่ก็ใช้งวงจับไม้และกวาดหินนั้นให้กลิ้งไปลงบ่อน้ำเล็กๆ ที่ตนทำไว้ แล้วใช้งวงหย่อนลงไปสัมผัส เห็นว่าน้ำอุ่นๆ ได้ที่ก็ไปกราบบังคมทูลพระพุทธเจ้าเพื่อมาสรงน้ำ
กลางคืนก็จะลาดตระเวณรอบที่ประทับ โดยใช้งวงจับท่อนไม้ กวาดไปตามที่ต่างๆ เป็นรัศมีวงกลมรอบที่ประทับพระพุทธเจ้าห่างออกไป แล้วเข้ามา เพื่อป้องกันอันตรายจะมาหาพระองค์ ทำแบบนี้ทุกคืนจนเช้า
เมื่อพระพุทธเจ้าจะไปบิณฑิบาตร ช้างปาเลยยกะก็ใช้งวงถือบาตรและจีวรเดินตามพระพุทธเจ้าไป แต่พอถึงชายป่าพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เอาหละปาเลยยกะ ส่งเราแค่นี้นะเพราะออกจากป่าไปไม่ใช่เขตของเจ้า เป็นที่อยู่อาศัยของญาติโยม เขาอาจจะจับเจ้าจะเป็นอันตราย ช้างก็เชื่อ ยืนรอตรงนั้นจนพระองค์บิณฑบาตรเสร็จเสด็จกลับมา ก็ถือบาตรและจีวรนำไปที่ประทับ
ช้างได้ดูและพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธา สม่ำเสมอแบบที่กล่าวมาทุกวัน
การปฏิบัติของช้างนั้น ได้ถูกจับตาดูอยู่ของเจ้าวานรตัวหนึ่ง ที่สงสัยว่าช้างทำอะไร เข้าไปดูก็เห็นว่ากำลังดูแลพระพุทธเจ้าอยู่ ก็เกิดศรัทธาอย่างทำบ้าง
ได้เข้าป่าไปนำรังผึ้ง ที่เป็นรังเปล่าไม่มีตัวผึ้งอยู่ นำรองด้วยใบตองมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับมา เจ้าวานรก็แลดูว่าพระองค์จะบริโภคหรือไม่ เพราะเห็นพระพุทธเจ้ารับแล้วก็นิ่งดูเฉยๆ ลิงสงสัย จึงจับมารังผึ้งมาพลิกดู เห็นตัวอ่อนของผึ้งข้างในจึงนำไปเคาะออกจนหมด นำมาถวายใหม่พระองค์รับแล้วก็บริโภค ลิงไปแอบดูอยู่บนกิ่งไม้ เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าบริโภคก็ดีใจกระโจนห้อยโหนไปมาจนตกกิ่งไม้ ลงมาตาย ไปเกิดในสวรรค์
เรื่องที่มีช้างมาดูแลอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ได้มีผู้พูดไปทั่วเมือง ทำให้มีผู้ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้ไปอ้อนวอนพระอานนท์ซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐาก (ผู้ดูแลใกล้ชิดพระพุทธเจ้า) ให้พาไป พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในหลายๆที่ก็ประสงค์เช่นนั้น พระอานนท์ได้พาพระสงฆ์เหล่านั้นประมาณ ๕๐๐ รูปไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เมื่อไปถึงพระอานนท์ได้ให้พระทั้ง ๕๐๐ รูปรออยู่ด้านนอก เพราะเกรงจะไม่สมควรถ้าพาเข้าเฝ้าในขณะนั้น พระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ารูปเดียวก่อน ระหว่างเดินไป ช้างปาเลยยกะเห็นเข้าก็ใช้งวงจับไม้วิ่งตรงเข้ามา หวังจะทำร้ายพระอานนท์ พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นก็ ตรัสห้าม และบอกกับช้างว่าพระอานนท์นี้เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์
เมื่อช้างได้ยินก็หยุด แต่ในใจคิดว่า เราจะลองดูพระรูปนี้ก่อนซิว่าจะเป็นผู้มีกิริยาที่ได้ฝึกมาแล้วอย่างดี จะไม่วางบาตร จีวร และทำตัวเสมอพระพุทธเจ้า เมื่อพระอานนท์เดินเข้าไปต่อหน้าพระพักตร์ ได้ทำความเคารพและนั่งในที่สมควรไม่เสมอพระพุทธองค์ และวางบาตรจีวรไว้ที่เหมาะสมไม่วางบนศิลาที่พระพุทธเจ้าประทับ ช้างเห็นก็ศรัทธา
เมื่อพระอานนท์นั่งแล้วพระพุทธเจ้าถามว่ามาคนเดียวหรือ และเมื่อทรงทราบว่ามีพระภิกษุรออยู่ด้านนอกอีก ๕๐๐ รูป ก็ให้พระอานนท์ไปพาเข้ามาเฝ้า
เมื่อพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นเข้าก็มาก็กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่ามาอยู่จำพรรษาพระองค์เดียวในป่าไม่ลำบากหรือ พระองค์ตรัสตอบทำนองว่า ไม่ลำบากเพราะมีช้างปาเลยยกะคอยดูแล เหมือนคนมีเพื่อนดีอยู่ด้วยกันก็มีความสุข การมีเพื่อนไม่ดีแม้มีมากเท่าใดก็เป็นทุกข์ การอยู่คนเดียวสบายเสียดีกว่า
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับเรื่องการคบเพื่อนที่ดี อเสวนาคนดีก็จะทำให้ได้รับความดีมาใส่ตนเป็นต้นพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหันต์
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงธรรมเสร็จพระอานนท์ กราบทูลว่าญาติโยมในเมืองก็ได้ให้มานิมนต์พระองค์ไปที่นั่น พระพุทธเจ้าจึงได้ให้พระทั้งหมดเตรียมเดินทางไป
ทันใดนั้นช้างได้มาขวางหน้า พระภิกษุเหล่านั้นได้ถามพระพุทธเจ้าว่าช้างจะทำอะไร พุทธองค์ตรัสว่า ช้างจะถวายอาหารให้พวกเธอทั้งหลาย ดังนั้นอย่าทำให้ช้างนี้ต้องเสียใจ เราอยู่กันที่นี่อีกคืน
จากนั้นช้างก็เข้าป่า หาผลไม้มากองไว้มากมาย เช้าขึ้นพระภิกษุสงฆ์ก็ฉันผลไม้นั้น และยังเหลืออีกมากมาย ฉันเสร็จพระพุทธเจ้าพาพระภิกษุสงฆ์เดินทางต่อในวันรุ่งขึ้น
ช้างก็มาขวางอีก พระภิกษุก็ถามว่าคราวนี้ช้างจะทำอะไรอีก พระองค์ทรงตอบว่า ช้างจะให้เราอยู่และส่งพวกเธอ แต่คราวนี้พระองค์ได้บอกช้างว่า ต่อไปนี้จะไปจริงๆแล้วไม่กลับมาอีก ให้ช้างอยู่ในป่าตามแบบของช้างเถิด ช้างเสียใจมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลับตาไปแล้ว ช้างได้นำงวงใส่ไว้ในปากไม่ยอมกินอะไรจนตาย แล้วไปเกิดในสวรรค์
เมื่อพระพุทธเจ้าและพระภิกษุเหล่านั้น ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว พระที่เคยทะเลาะกันจนทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่า จะเข้าไปขอขมาพระพุทธเจ้า พระเจ้าโกศล (พระเจ้าแผ่นดิน)ได้เข้าพระศาสดาว่าจะไม่ให้พระเหล่านั้นเข้ามาในมืองนี้
พระพุทธเจ้าได้ห้ามและอนุญาตให้พระภิกษุเหล่านั้นเข้ามาได้ เพราะเป็นผู้มีศีล เมื่อเขาสำนึกได้แล้ว จะมาขอขมาก็ไม่ควรห้าม
ชาวเมืองโกสัมพีเองก็จะไม่ถวายสิ่งของและอาหารให้กับพระเหล่านั้นที่เคยทะเลาะกัน แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงห้ามไว้อีก
เมื่อพระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระที่เคยทะเลากันเข้าเฝ้าได้แล้วก็ได้ทรงแสดงธรรมให้กับพระภิกษุเหล่านั้นว่าผู้ที่เชื่อคำพ่อแม่ครูบาอาจารย์จะเป็นผู้เจริญไม่ตกอับ
ส่วนผู้ใดที่ไม่เชื่อไม่ทำตามคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์จะมีแต่เรื่องร้าย ถือเป็นกรรมหนัก จะทำให้เกิดการแตกยก หาความสงบสุขไม่มี
ขอขมาเสร็จ ชาวเมืองก็มาถวายอาหารอาหาร และดูและพระภิกษุในกลุ่มของธรรมกถึก และพระวินัยธร เหล่านั้นเหมือนเดิม และอยู่กันแบบสร้างสรรค์ตลอดมา
หมายเหตุ
การเรียบเรียงของผมครั้งนี้ เกิดจากความสนใจในเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี กับการแก้ไขปัญหาของพระพุทธเจ้า จึงได้ค้นคว้าและนำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านได้สะดวกขึ้น หากผู้รู้ท่านใดสืบทราบพบเห็นข้อความนั้น ขอความกรุณาแจ้ง หรือแนะนำให้ได้รับทราบด้วย เพื่อที่จะได้ปรับปรุง ทั้งเนื้อเรื่อง ศัพท์ภาษา ที่เหมาะสมสมบูรณ์ต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ (วิกูล โพธิ์นาง)
แหล่งที่มาของข้อมูล
เรียบเรียงใหม่ ความเดิมจาก : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรค ๑ เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ออนไลน์ ๒๕๕๒
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที