Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 10 ก.ย. 2009 08.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 21393 ครั้ง

คนทั่วไป โดยปรกติ คิดว่าตัวเอง แข็งแรงอยู่เสมอ
จะไม่ค่อยเตรียมตัว และ มองอนาคตเพื่อเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลง กระทันหัน เปรียบได้กับมาหาหมอเมื่ออาการ ของโรค ชัดเจนหรือโคม่าแล้ว
เช่นเดียวกับธุรกิจ คุณทราบหรือยังว่า คุณก้าวมาไกลขนาด ไหน และความเร็วของโลก หมุนเร็วขึ้น ขนาดไหน สภาพของธุรกิจจะ คงสภาพพร้อมเพื่อการแข่งขันได้นานขนาดไหน นวัตกรรม เปรียบเสมือน วิตามินเสริม หรือไม่ สำหรับธุรกิจ หรือคืออะไร
สาเหตุที่เขียน เพราะ กำลังศึกษา ปริญญาเอก ด้าน การจัดการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงอยาก เอามาร่วมแบ่งปัน ความรู้สู่อุตสาหกรรม


History of web technology (I)

ความเป็นมาของนวัตกรรมและการคิดค้นครั้งแรก ของ Web Technology

 

                ประวัติของ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บเทคโนโลยีสามารถนับถอยหลังไปได้ หลายสิบปี โดยอินเทอร์เน็ตได้เริ่มขึ้นก่อนใน การทำวิจัยและพัฒนา เพื่อ เชื่อมโยง และส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ (Dynamic routing) [1]
 5023_IMGP1256.jpg  ขึ้นรถ มาอ่าน มาชมกันเลยครับ

 

               โดยรัฐบาลสหรัฐ  เริ่มต้นโครงการ อาร์พาเน็ต (ARPAnet) เมื่อปี  1966 ดูแลโดย หน่วยงานวิจัยชั้นสูงของสหรัฐ (ARPA: The Advanced Research Projects Agency ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น DARPA: Defense Advanced Research Projects Agency ในปี 2514 (1971) แล้วเปลี่ยนกลับเป็น ARPA ในปี 2536 (1993) และล่าสุดเปลี่ยนกลับเป็น DARPA ในปี 2539 (1996)) ในสังกัดกระทรวงกลาโหม เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จัก ค้นหาเส้นทางเชื่อมโยง และส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ (dynamic routing) ในกรณีที่เครือข่ายบางจุดถูกทำลาย หรือเกิดความเสียหาย เครือข่ายที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบที่เหลือ จะต้องทำงานได้สำเร็จลุล่วงต่อไปได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ

 

                โดยการ ติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ใช้กฏเกณท์ด้านการ สื่อสารเดียวกัน กฏเกณท์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอลของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม

            เพื่อให้การนำ เอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ TCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IP ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์ พาเน็ตทำได้สดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โป รโตคอล TCP/IP ได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว

            การใช้งานอินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ [2] ผ่านระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) โดยอยู่ในรูปแบบของ การพิมพ์ชุดคำสั่งผ่านจอภาพ เช่น การใช้งาน เทลเน็ต (telnet), เอฟทีพี (FTP), อีเมล์ (e-mail)

 

                จนราวปี 1980 ทิม เบิร์นเนอร์ จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม เซิร์น (CERN: Conseil European pour la Recherche Nucleaire ในกรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์) ได้คิดค้นวิธีการเชื่อมโยงเอกสารต่างๆ ในรูปแบบเวิร์ลไวด์เว็บ ด้วยการใช้ภาษาเฮชทีเอ็มแอล (HTML: HyperText Markup Language) HTML คือภาษาที่มีการผนวกรวม (mark up) ชุดคำสั่งประกอบเข้ากับข้อความธรรมดา เพื่อให้ข้อความ สาระเหล่านั้น มีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้น (อภิสาร) ในการ เรียก หรือเชื่อมโยง ไปยังเอกสารอื่นๆ 

Reference

     2.   web 1.0, Available at:   http://en.wikipedia.org/wiki/Web_1.0#Web_1.0_design_elements

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที