ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 09 มิ.ย. 2009 13.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5760 ครั้ง

HR Contribution

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานในสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล จึงขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน ทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่าน ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้าง HR เพื่อความเป็นมืออาชีพนะครับ....

ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านจะนำไปใช้ประโยชน์ได้จากข้อเขียนนี้ และหากจะอ่านต้นฉบับได้ก็จะเป็นการดีที่จะได้รายละเอียดมากขึ้น เพราะตัวผมเองแม้จะเขียนเรื่องพวกนี้มามากพอสมควร แต่ก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสามารถสร้างสูตรสำเร็จเพื่อสอนใครเช่นเดียวกับผู้รู้หลายท่าน ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ ความคิด ความรู้มาเนิ่นนานยาวนาน จนตกผลึกเป็นความคิดที่มีคุณค่า ผมเองจึงต้องการเพียงอยากแลกเปลี่ยนมุมมองกับทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านเรื่องน่าสนใจเหล่านี้ และขอเชิญชวนทุกท่าน เข้ามาช่วยกันสร้างชุมชนของของการเรียนรู้เพื่อการเป็นมนุษย์งานมือโปรครับ....


จะเป็น “คนมีอาชีพวิทยากร” และ “วิทยากรมืออาชีพ” ต้องมีสรรถนะอย่างไร (ตอนจบ)

ตอนจบแล้วครับ...

 

21)  มีทักษะการฟังและการให้ข้อมูลย้อนกลับ  สามารถในการฟังได้อย่างมีประสิทธิผล วิเคราะห์วัตถุประสงค์ ความหมาย คำพูดและเนื้อหาของผู้พูด ย้ำและให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน

 

22) มีทักษะการมอบหมายงาน สามารถมอบหมายงานหรือมอบความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและคณะเพื่อสนับสนุนการทำงานที่มีประสิทธิผลของแต่ละคน

 ต้องการขององค์การ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อกำหนดกรอบเวลาของรายวิชา

 

24)  เป็นแบบอย่างของผู้มีบารมี สามารถทำให้ผู้เรียนเอาแบบอย่างซึ่งผู้เรียนจะเคารพ นับถือ และต้องการแข่งดี (เรียนรู้จากพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างและจากกระบวนการเรียนรู้)

 

25)  มีทักษะการออกแบบการสอน สามารถพัฒนาวิธีการสอนสื่อ และวัสดุการตามหลักการการออกแบบและระบบการสอนที่กำหนดเพื่อให้เนื้อหาวิชาทันสมัยและมีผลกระทบต่อผู้เรียนสูง

 

26)  นิยมในการเครือข่ายการติดต่อ  สามารถรักษาสัมพันธ์การติดต่อกับผู้สอนคนอื่น ๆ และแหล่งความรู้ในองค์การ (เครือข่ายที่มีอิทธิพล มีเวลา มีความสามารถพิเศษ และมีความทันสมัย)

 

27)  รู้และเข้าใจโมเดลการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน  โดยสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก 3 ขั้นตอน (บอก – แสดง – ลงมือทำ) กับทุกแนวคิดใหม่ ทักษะและกระบวนการที่นำเสนอ

 

28)  มีความรู้และเข้าใจเงื่อนไขของการเรียนรู้  สามารถกำหนดเงื่อนไขกับผู้เรียนใหม่ แต่ละคนกำหนดพฤติกรรมก่อนเรียน (สิ่งที่รู้มาแล้วรวมถึงความรู้สึกด้วย) และพฤติกรรมหลังเรียน (สิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้) เมื่อจบคอร์ส

29)  มีทักษะการสอนแบบต่อเนื่องและความไหลลื่น สามารถดำเนินการสอนได้อย่างต่อเนื่องและไหลลื่นตามวัตถุประสงค์ย่อยๆ  ทดสอบใช้ข้อความเชื่อมต่อ    และเขียนเป็นแผนภาพแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน ผู้เรียนเห็นภาพรวมและทิศทาง

 

30)  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถธำรงรักษาให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางดึงความสามารถของผู้เรียนให้เขาได้พบความต้องการของตนเพื่อจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือทำหน้าที่และปรับปรุงการปฏิบัติการในฐานะผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 

คราวนี้  หากท่านผู้อ่านต้องการทราบสมรรถนะของท่านล่ะจะทำอย่างไรดีน้า....

 

วิธีง่าย ๆ ที่แนะนำคือ  ลองทำการประเมินตนเอง โดยใช้ข้อคำถาม 30 ข้อเป็นตัวตั้ง  และใช้อัตราส่วนคะแนน  5 ระดับคือ  5 = ยอดเยี่ยม 4 = เหนืออัตราเฉลี่ย  3 = อัตราเฉลี่ย  2 = ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย 1 = ต้องปรับปรุง  แล้วให้คะแนนตัวเอง  หรืออาจจะลองให้เพื่อนรอบข้างที่เคยฟังท่านบรรยายให้ความรู้ให้คะแนนดู (ด้วยใจเป็นกลางและสร้างสรรค์)  หากผลคะแนนรวมเกิน 90  เอาเป็นว่า “ผ่านเกณฑ์”   

 

แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่มีเครื่องมือใดวัดได้เท่าตัวเอง ตัวเองที่จะต้องพัฒนาให้ความเก่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ   วิธีการฝึกอบรมตัวเองง่าย ๆ ก็อาจจะเริ่มด้วยการเป็นวิทยากรภายใน  จากจุดเล็ก ๆ ของการสร้างทักษะการสอนงานให้กับน้อง ๆ และเพื่อนร่วมงานก็ดีไม่น้อยครับ

 

อย่างไรก็ดี ขอให้กำลังใจทุกท่าน เพื่อเติมความฝันให้เป็นจริงได้โดยเร็ว สำหรับผม  ยังยากส์ครับ....

 

Source :  Scott B. Parry. (1997).  Evaluating  the  Impact  of  Training.  New  Jersey: American  Society  For  Training  and  Development,  pp. 67-69.


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที