ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 09 มิ.ย. 2009 13.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5373 ครั้ง

HR Contribution

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานในสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล จึงขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน ทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่าน ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้าง HR เพื่อความเป็นมืออาชีพนะครับ....

ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านจะนำไปใช้ประโยชน์ได้จากข้อเขียนนี้ และหากจะอ่านต้นฉบับได้ก็จะเป็นการดีที่จะได้รายละเอียดมากขึ้น เพราะตัวผมเองแม้จะเขียนเรื่องพวกนี้มามากพอสมควร แต่ก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสามารถสร้างสูตรสำเร็จเพื่อสอนใครเช่นเดียวกับผู้รู้หลายท่าน ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ ความคิด ความรู้มาเนิ่นนานยาวนาน จนตกผลึกเป็นความคิดที่มีคุณค่า ผมเองจึงต้องการเพียงอยากแลกเปลี่ยนมุมมองกับทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านเรื่องน่าสนใจเหล่านี้ และขอเชิญชวนทุกท่าน เข้ามาช่วยกันสร้างชุมชนของของการเรียนรู้เพื่อการเป็นมนุษย์งานมือโปรครับ.....


จะเป็น “คนมีอาชีพวิทยากร” และ “วิทยากรมืออาชีพ” ต้องมีสรรถนะอย่างไร (ตอนที่ 2)

มาว่ากันต่อในสมรรถนะที่ 11-20 ครับ

 

11)  สามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม และดูแลความสะดวกทางกายภาพตอบสนองการเรียนรู้ของผู้รับการฝึกอบรม

 

12)  สามารถที่จะบริหารจัดการกับการบันทึกต่าง ๆ  สามารถเก็บรักษาบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน รวมทั้งการปฏิบัติการ จัดเป็นแฟ้มอย่างเป็นระบบตลอดทั้งวัสดุการเรียนรู้ต่าง ๆ (แบบฝึกหัด แบบทดสอบ สถานการณ์จำลอง ขอบข่ายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต่าง ๆ)

 

13)  สามารถวิจัยเพื่อความรู้ที่ทันสมัย  สามารถติดตามเพื่อความต้องการใหม่ ๆ และโอกาสสำหรับผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยการวิจัยหาข้อมูลใหม่ ๆ และนำผลมาใช้เป็นแบบฝึกปฏิบัติ ในชั้นเรียน

 

14)  ตระหนักสำนึกและรักองค์การ  ทั้งองค์การของตนเอง และองค์การของลูกค้าที่เชิญไปเป็นวิทยากร โดยสามารถตีความและแปรเปลี่ยนเนื้อหาวิชาให้ตรงกับกลยุทธ์ บรรทัดฐาน โครงสร้าง วัฒนธรรม เครือข่ายอำนาจ (การเมือง) และเป้าหมายขององค์การ เพื่อมุ่งให้บรรลุภารกิจขององค์การ

 

15)   สามารถกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม  สามารถเตรียมการและสื่อความให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละรายวิชาได้อย่างชัดเจน เชิงพฤติกรรม (มุ่งผลลัพธ์) ผลลัพธ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับจากการสังเกต หรือวิธีวัดผลด้วยวิธีการต่าง ๆ

 

16)  มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยสอนในการดำเนินการสอนให้ผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่ม รวมทั้งการดำเนินการการปฏิบัติการ ของกลุ่มก้าวหน้า

 

17)  มีทักษะการเขียน  โดยสามารถเขียนเอกสารประกอบรายวิชา แบบทดสอบง่าย ๆ รายงานโปรแกรมและโครงการ บทคัดย่อ ใช้ภาษาจูงใจ ตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน

18)  มีทักษะการนำเสนอด้วยวัจนะภาษา  คือ ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดว่างั้นเถอะ  โดยสามารถพูดได้อย่างน่าฟังสร้างความสนใจ ใช้ภาษาดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ชัดเจน สร้างบทสนทนา บทพูด ใช้ภาษามีสีสัน อารมณ์ขัน ใช้ภาษาท่าทางประกอบได้อย่างเหมาะสม

 

19) มีทักษะการตั้งคำถาม สามารถใช้รูปแบบของคำถามต่าง ๆ ได้อย่างดี (ทางตรง ทางอ้อม แบบประเมินตนเอง สะท้อนความคิด, วาทศิลป์) เพื่อดึงข้อเท็จจริง และความรู้สึกได้อย่างง่ายดาย

 

20)  สามารถในการทดสอบตามเกณฑ์  สามารถสร้างและใช้แบบทดสอบเพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน เพื่อวินิจฉัยพฤติกรรม วัดผลแต่ละคนตามความเหมาะสม

 

เดี๋ยวมาว่ากันต่อในตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบ  อดทนอ่านต่อสักนิดครับ...  


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที