ศุภนิธิ เรืองทอง

ผู้เขียน : ศุภนิธิ เรืองทอง

อัพเดท: 29 พ.ค. 2009 09.32 น. บทความนี้มีผู้ชม: 11159 ครั้ง

หัวข้อนี้ดูช่างท้าทายดีแท้ เพราะการจูงใจพนักงานในกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม เพื่อรวมตัวไม่ทำ 5ส นั้น ฟังดูเหมือนการจูงใจผู้ชุนนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองที่สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ที่ต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม ให้รวมตัวไม่เอาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เมื่อคณะผู้บริหารของบริษัทคิดที่จะเริ่มทำกิจกรรม 5ส สิ่งแรกที่จะต้องรู้จักก่อนคือ ต้องเข้าใจสถานการณ์ของบริษัท เข้าใจพฤติกรรมพนักงานของตนเอง ควรรู้ว่าวิธีใดที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ สร้างบรรยากาศการทำกิจกรรมด้วยวิธีใดได้บ้าง มีศิลปะในการดำเนินกิจกรรม มีลูกล่อลูกชน รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ถ้าทำได้เช่นนี้ เหตุการณ์ข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น หรือก็คือ ต้องสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีก่อน
การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับพนักงานและการสร้างบรรยากาศให้พนักงานทุกคนอยากทำกิจกรรม 5ส นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บริษัทต้องทำให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญที่ว่า “คุณภาพคือความอยู่รอด” หากไม่มีคุณภาพ ก็จะไม่มีลูกค้า ไม่มีลูกค้าก็จะไม่มีบริษัท ไม่มีบริษัทก็จะไม่มีการจ้างงาน ไม่มีการจ้างงานพนักงานก็จะอยู่ไม่รอด อีกทั้งบริษัทจะต้องทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจว่า 5ส เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างคุณภาพในการทำงาน โดยต้องทำให้ 5ส เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวันให้ได้ และตระหนักว่า ถ้าไม่ทำก็จะไม่ได้คุณภาพ หากไม่เป็นดังเช่นที่กล่าวนี้แล้ว พนักงานจะเห็นว่า 5ส เป็นงานเพิ่มที่พนักงานไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม รวมตัวไม่ทำ 5ส ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ใครเลย
โดยทฤษฎีแล้ว การสร้างแรงจูงใจและการสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานอย่างมีคุณภาพนั้น ก็เปรียบเสมือนกับการใช้แรงผลักครกให้ขึ้นไปบนภูเขา ต้องออกแรงเป็นจำนวนมาก ในวิชาฟิสิกส์นั้น เราเขียนเป็นสมการของแรงว่า
F = m  a
โดยที่ F คือ แรงจากพลังงาน
m คือ มวลของสาร
a คือ อัตราเร่งของมวลสาร

เมื่อประยุกต์สมการข้างต้นมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล แรงผลักดันจากพลังของพนักงานนั้น เราคงจะเขียนได้เหมือนกันว่า
F = m  a
โดยที่ F หมายถึง แรงผลักดันจากพลังของพนักงาน
m หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความคิด หรือ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ของพนักงาน
a หมายถึง ความอยากทำ ซึ่งก็คือ แรงจูงใจ พื้นฐานจิตใจ และทัศนคติของพนักงาน
ในทำนองเดียวกัน ถ้าเปรียบเทียบบรรยากาศของการดำเนินกิจกรรมว่าเป็นเสมือนสนามไฟฟ้า ถ้าเราเขียนสมการของพลังงานศักย์ไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้าใดๆว่า
WE = (K/r)  Q1  Q2
โดยที่ WE คือ Work of Electricity พลังงานศักย์ไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้า
K/r คือ อัตราความเข้มข้นของสนามไฟฟ้าต่อระยะห่างระหว่างประจุไฟฟ้า
Q1 คือ ประจุไฟฟ้าตัวหนึ่ง
Q2 คือ ประจุไฟฟ้าอีกตัวหนึ่ง

เมื่อเทียบให้เป็นสมการของบรรยากาศในการดำเนินกิจกรรม ก็สามารถเขียนได้เป็น
WE = R  P1  P2
โดยที่ WE คือ Work Environment หมายถึง สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ทำให้พนักงานอยากทำกิจกรรม
R คือ Result หมายถึง ผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมต้องดีและเห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
P1 คือ Process หมายถึง วิธีการที่ดี โดยเน้นไปที่การสร้างกระบวนการ/ระบบที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
P2 คือ Presentation หมายถึง มีระบบการนำเสนอที่ดี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการองค์ความรู้

สรุปความจากสมการข้างต้นอธิบายได้ว่า กิจกรรมจะดำเนินไปได้ ก็ต้องมุ่งเน้นไปที่พนักงานและบรรยากาศ สำหรับพนักงานต้องพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ของพนักงาน (Competency) ต้องสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยากที่จะทำอยู่เสมอ (Motivation) และต้องสร้างให้มีบรรยากาศที่อำนวยให้รักษาการทำอย่างต่อเนื่องอีกด้วย (Environment) ซึ่งก็คือ Performance Management ของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนั่นเอง

หลายบริษัทมักจะเริ่มทำกิจกรรม 5ส ไปตามตัวเลข คือ จะเริ่มจาก ส1, ส2, ส3, ส4, และ ส5 ซึ่งนี่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะว่าเทคนิคกลยุทธ์ในการดำเนินกิจกรรมของคณะผู้บริหารมีความสำคัญมากกว่า แต่อยากจะให้คำแนะนำว่า หากต้องการให้กิจกรรม 5ส คงอยู่อย่างยั่งยืนแล้วละก็ ควรเริ่มทำกิจกรรมจาก ส ที่ยากสุดก่อน คือ ส5 สร้างวินัย เพราะวินัยเป็นรากฐานความยั่งยืนของคุณภาพในทุกระบบมาตรฐาน แต่วินัยจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เอง จะต้องสร้างขึ้นจากความพยายามทุ่มเท ตั้งใจมั่น มีวิธีการ เอาจริงเอาจัง ไม่ยอมรับต่อความบกพร่อง ปล่อยประ ละเลย หลงลืม ไม่ยอมรับต่อความผิดปกติ หากเกิดความผิดปกติขึ้น ก็มีมาตรการตอบโต้ต่อสู้ทันที เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งต้องทำอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และต้องจัดทำให้เป็นระบบ อาทิเช่น ระบบบำรุงรักษาด้วยตนเอง ระบบการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ระบบมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบมาตรฐานการจัดวางเก็บเครื่องมือ/อุปกรณ์ระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน ฯลฯ
วินัยกับคนไทย อาจดูว่าจะสร้างยาก เพราะว่าสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรา ไม่เอื้ออำนวยให้คนไทยต้องมีวินัยต่อสิ่งใด วินัยของคนไทยจึงอยู่ถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนที่ลึกมาก ยากต่อการนำออกมาใช้ได้เป็นประจำวัน แต่ยืนยันได้ว่าคนไทยก็มีวินัย ดูได้จากทหารไทยรั้วของชาติที่มีวินัยไม่ยิ่งหย่อนกว่าทหารชาติใด ดังนั้น ถ้าคิดจะสร้างวินัยให้เกิดกับพนักงานอย่างเป็นรูปธรรมแล้วละก็ การส่งพนักงานไปฝึกวินัยกับทหารก็ดูจะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ น่าทดลองนำไปใช้กับพนักงานในบริษัท
มีอีกเทคนิคหนึ่งที่น่าจะเหมาะกับการสร้างวินัยกับคนไทย ซึ่งเป็นการสร้างวินัยโดยทางอ้อม เทคนิคนี้คือ การกระตุ้นให้เกิดความกตัญญูก่อน เนื่องจากความเป็นคนไทยมีความคุ้นเคยกับสิ่งนี้มากกว่า เพราะถูกนำมาใช้บ่อยๆ บริษัทจึงน่าจะจัดให้มีกิจกรรมประเภทที่ให้พนักงานได้แสดงความกตัญญูรู้คุณในบริษัท เช่น วันรักพ่อ วันรักแม่ วันรักลูก วันรักบ้านเกิด ฯลฯ ถ้าจะให้ดีที่สุด คือ บริษัทตั้งจิตเป็นกุศล ร่วมกันสร้างคนดีสู่สังคม จัดให้มีกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรตามแนวพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “มุ่งสร้างคนดีแทนคุณแผ่นดิน” และยังมีเทคนิคอีกมากมาย แต่ทั้งหมดนี้ บริษัทต้องไม่ลืมว่า การจะทำให้พนักงานมีจิตใจที่จะคิดปรับปรุงงานได้นั้น พนักงานต้องปราศจากภาระหนี้สินที่ผูกผันเกินตัว บริเวณสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานต้องไม่เสี่ยงต่อเกิดอุบัติเหตุ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัย บริษัทจึงควรจะมีกิจกรรมประเภทบรรเทาหรือประนอมหนี้สินให้กับพนักงาน ควรจัดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้กับพนักงาน ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อดูแลพนักงานอย่างจริงใจ มุ่งสร้างความมั่นคงให้กับพนักงานและถ้ารวมไปถึงครอบครัวของพนักงานด้วยก็จะสุดยอดประทับใจ หากทำได้เช่นนี้ บริษัทก็จะเป็นที่รักของพนักงานทุกคนในที่สุด จากนั้นจึงค่อยคิดปลูกสร้างวินัย
กล่าวโดยสรุปก็คือ การจูงใจพนักงานในกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม เพื่อรวมตัวไม่ทำ 5ส นั้น ควรมุ่งไปที่การสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเริ่มกิจกรรม ใช้เทคนิคจูงใจมากกว่าใช้การบังคับ ใช้ข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น ไม่ใช้ความรู้สึก และอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจต่อกัน ไม่มีการปกปิดแอบแฝงซุกซ่อน พูดคุยชี้แจงให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะมีร่วมกัน เข้าไปช่วยแก้ไขบรรเทาปัญหาที่สาเหตุในการต่อต้านของพนักงานแต่ละคน สร้างความสุขกายสุขใจให้เกิดกับพนักงานด้วยความรักและความดี และเห็นพนักงานเป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว โดยมุ่งสร้างประโยชน์สุขให้เกิดกับส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ดังที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชกระแสรับส่งกับผู้ถวายงานพระองค์ว่า

..มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกัน
ในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น


การจูงใจพนักงานในกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม เพื่อรวมตัวไม่ทำ 5ส

                หัวข้อนี้ดูช่างท้าทายดีแท้ เพราะการจูงใจพนักงานในกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม เพื่อรวมตัวไม่ทำ 5 นั้น ฟังดูเหมือนการจูงใจผู้ชุนนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองที่สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ที่ต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม ให้รวมตัวไม่เอาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เมื่อคณะผู้บริหารของบริษัทคิดที่จะเริ่มทำกิจกรรม 5ส สิ่งแรกที่จะต้องรู้จักก่อนคือ ต้องเข้าใจสถานการณ์ของบริษัท เข้าใจพฤติกรรมพนักงานของตนเอง ควรรู้ว่าวิธีใดที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ สร้างบรรยากาศการทำกิจกรรมด้วยวิธีใดได้บ้าง มีศิลปะในการดำเนินกิจกรรม มีลูกล่อลูกชน รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ถ้าทำได้เช่นนี้ เหตุการณ์ข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น หรือก็คือ ต้องสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีก่อน

การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับพนักงานและการสร้างบรรยากาศให้พนักงานทุกคนอยากทำกิจกรรม 5ส นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บริษัทต้องทำให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญที่ว่า “คุณภาพคือความอยู่รอด” หากไม่มีคุณภาพ ก็จะไม่มีลูกค้า ไม่มีลูกค้าก็จะไม่มีบริษัท ไม่มีบริษัทก็จะไม่มีการจ้างงาน ไม่มีการจ้างงานพนักงานก็จะอยู่ไม่รอด อีกทั้งบริษัทจะต้องทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจว่า 5ส เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างคุณภาพในการทำงาน โดยต้องทำให้ 5ส เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวันให้ได้ และตระหนักว่า ถ้าไม่ทำก็จะไม่ได้คุณภาพ หากไม่เป็นดังเช่นที่กล่าวนี้แล้ว พนักงานจะเห็นว่า 5ส เป็นงานเพิ่มที่พนักงานไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม รวมตัวไม่ทำ 5ส ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ใครเลย

โดยทฤษฎีแล้ว การสร้างแรงจูงใจและการสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานอย่างมีคุณภาพนั้น ก็เปรียบเสมือนกับการใช้แรงผลักครกให้ขึ้นไปบนภูเขา ต้องออกแรงเป็นจำนวนมาก ในวิชาฟิสิกส์นั้น เราเขียนเป็นสมการของแรงว่า

F = m n  a

โดยที่      F คือ แรงจากพลังงาน

m คือ มวลของสาร

a คือ อัตราเร่งของมวลสาร

 

เมื่อประยุกต์สมการข้างต้นมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล แรงผลักดันจากพลังของพนักงานนั้น เราคงจะเขียนได้เหมือนกันว่า

F = m n  a

โดยที่      F หมายถึง แรงผลักดันจากพลังของพนักงาน

m หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความคิด หรือ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ของพนักงาน

a หมายถึง ความอยากทำ ซึ่งก็คือ แรงจูงใจ พื้นฐานจิตใจ และทัศนคติของพนักงาน

ในทำนองเดียวกัน ถ้าเปรียบเทียบบรรยากาศของการดำเนินกิจกรรมว่าเป็นเสมือนสนามไฟฟ้า ถ้าเราเขียนสมการของพลังงานศักย์ไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้าใดๆว่า

WE = (K/r) n Q1 n  Q2

โดยที่ WE คือ Work of Electricity พลังงานศักย์ไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้า

K/r คือ อัตราความเข้มข้นของสนามไฟฟ้าต่อระยะห่างระหว่างประจุไฟฟ้า

                Q1 คือ ประจุไฟฟ้าตัวหนึ่ง

                Q2 คือ ประจุไฟฟ้าอีกตัวหนึ่ง

 

เมื่อเทียบให้เป็นสมการของบรรยากาศในการดำเนินกิจกรรม ก็สามารถเขียนได้เป็น

WE = R n  P1 n  P2

โดยที่ WE คือ Work Environment หมายถึง สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ทำให้พนักงานอยากทำกิจกรรม

R คือ Result หมายถึง ผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมต้องดีและเห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งต่อตนเองและส่วนรวม

                P1 คือ Process หมายถึง วิธีการที่ดี โดยเน้นไปที่การสร้างกระบวนการ/ระบบที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

                P2 คือ Presentation หมายถึง มีระบบการนำเสนอที่ดี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการองค์ความรู้

 

สรุปความจากสมการข้างต้นอธิบายได้ว่า กิจกรรมจะดำเนินไปได้ ก็ต้องมุ่งเน้นไปที่พนักงานและบรรยากาศ สำหรับพนักงานต้องพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ของพนักงาน (Competency) ต้องสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยากที่จะทำอยู่เสมอ (Motivation) และต้องสร้างให้มีบรรยากาศที่อำนวยให้รักษาการทำอย่างต่อเนื่องอีกด้วย (Environment) ซึ่งก็คือ Performance Management ของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนั่นเอง

 

หลายบริษัทมักจะเริ่มทำกิจกรรม 5ส ไปตามตัวเลข คือ จะเริ่มจาก ส1,2,3,4, และ ส5 ซึ่งนี่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะว่าเทคนิคกลยุทธ์ในการดำเนินกิจกรรมของคณะผู้บริหารมีความสำคัญมากกว่า แต่อยากจะให้คำแนะนำว่า หากต้องการให้กิจกรรม 5ส คงอยู่อย่างยั่งยืนแล้วละก็ ควรเริ่มทำกิจกรรมจาก ส ที่ยากสุดก่อน คือ ส5 สร้างวินัย เพราะวินัยเป็นรากฐานความยั่งยืนของคุณภาพในทุกระบบมาตรฐาน แต่วินัยจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เอง จะต้องสร้างขึ้นจากความพยายามทุ่มเท ตั้งใจมั่น มีวิธีการ เอาจริงเอาจัง ไม่ยอมรับต่อความบกพร่อง ปล่อยประ ละเลย หลงลืม ไม่ยอมรับต่อความผิดปกติ หากเกิดความผิดปกติขึ้น ก็มีมาตรการตอบโต้ต่อสู้ทันที เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งต้องทำอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และต้องจัดทำให้เป็นระบบ อาทิเช่น ระบบบำรุงรักษาด้วยตนเอง ระบบการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ระบบมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบมาตรฐานการจัดวางเก็บเครื่องมือ/อุปกรณ์ระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน ฯลฯ

วินัยกับคนไทย อาจดูว่าจะสร้างยาก เพราะว่าสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรา ไม่เอื้ออำนวยให้คนไทยต้องมีวินัยต่อสิ่งใด วินัยของคนไทยจึงอยู่ถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนที่ลึกมาก ยากต่อการนำออกมาใช้ได้เป็นประจำวัน แต่ยืนยันได้ว่าคนไทยก็มีวินัย ดูได้จากทหารไทยรั้วของชาติที่มีวินัยไม่ยิ่งหย่อนกว่าทหารชาติใด  ดังนั้น ถ้าคิดจะสร้างวินัยให้เกิดกับพนักงานอย่างเป็นรูปธรรมแล้วละก็ การส่งพนักงานไปฝึกวินัยกับทหารก็ดูจะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ น่าทดลองนำไปใช้กับพนักงานในบริษัท

มีอีกเทคนิคหนึ่งที่น่าจะเหมาะกับการสร้างวินัยกับคนไทย ซึ่งเป็นการสร้างวินัยโดยทางอ้อม เทคนิคนี้คือ การกระตุ้นให้เกิดความกตัญญูก่อน เนื่องจากความเป็นคนไทยมีความคุ้นเคยกับสิ่งนี้มากกว่า เพราะถูกนำมาใช้บ่อยๆ บริษัทจึงน่าจะจัดให้มีกิจกรรมประเภทที่ให้พนักงานได้แสดงความกตัญญูรู้คุณในบริษัท เช่น วันรักพ่อ วันรักแม่ วันรักลูก วันรักบ้านเกิด ฯลฯ ถ้าจะให้ดีที่สุด คือ บริษัทตั้งจิตเป็นกุศล ร่วมกันสร้างคนดีสู่สังคม จัดให้มีกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรตามแนวพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “มุ่งสร้างคนดีแทนคุณแผ่นดิน” และยังมีเทคนิคอีกมากมาย แต่ทั้งหมดนี้ บริษัทต้องไม่ลืมว่า การจะทำให้พนักงานมีจิตใจที่จะคิดปรับปรุงงานได้นั้น พนักงานต้องปราศจากภาระหนี้สินที่ผูกผันเกินตัว บริเวณสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานต้องไม่เสี่ยงต่อเกิดอุบัติเหตุ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัย บริษัทจึงควรจะมีกิจกรรมประเภทบรรเทาหรือประนอมหนี้สินให้กับพนักงาน ควรจัดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้กับพนักงาน ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อดูแลพนักงานอย่างจริงใจ มุ่งสร้างความมั่นคงให้กับพนักงานและถ้ารวมไปถึงครอบครัวของพนักงานด้วยก็จะสุดยอดประทับใจ หากทำได้เช่นนี้ บริษัทก็จะเป็นที่รักของพนักงานทุกคนในที่สุด จากนั้นจึงค่อยคิดปลูกสร้างวินัย

กล่าวโดยสรุปก็คือ  การจูงใจพนักงานในกลุ่มต่อต้าน เรียกร้องหาแนวร่วม เพื่อรวมตัวไม่ทำ 5นั้น ควรมุ่งไปที่การสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเริ่มกิจกรรม ใช้เทคนิคจูงใจมากกว่าใช้การบังคับ ใช้ข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น ไม่ใช้ความรู้สึก และอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจต่อกัน ไม่มีการปกปิดแอบแฝงซุกซ่อน พูดคุยชี้แจงให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะมีร่วมกัน เข้าไปช่วยแก้ไขบรรเทาปัญหาที่สาเหตุในการต่อต้านของพนักงานแต่ละคน สร้างความสุขกายสุขใจให้เกิดกับพนักงานด้วยความรักและความดี และเห็นพนักงานเป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว โดยมุ่งสร้างประโยชน์สุขให้เกิดกับส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ดังที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชกระแสรับส่งกับผู้ถวายงานพระองค์ว่า

 

..มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกัน

ในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที