รถจักรยานไฟฟ้า
สำหรับการเดินทางอีกรูปหนึ่งในปัจจุบัน
สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้พลังงานไฟฟ้าไปขับมอเตอร์ DC และสามารถควบคุมความเร็วของการหมุนของมอเตอร์ได้จากผู้ใช้งาน ต้องลองศึกษาดูนะครับ ถ้านึกไม่ออกลองดูจากโครงงานนี้กันสักนิด
ถ้าจะพูดถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบครับ โดยที่แต่ละแบบนั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีแหล่งพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า เป็นต้น และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็เป็นรถจักรยาน โดยการใช้พลังงานของผู้ขี่เป็นตัวทำให้รถจักรยานนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปได้ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปจึงมีการทำมอเตอร์ไปติดตั้งที่ตัวรถจักรยาน เพื่อใช้พลังงานไฟฟ้ามาขับมอเตอร์ให้หมุนและให้รถจักรยานนั้นเคลื่อนที่ไปได้ด้วยการควบคุมความเร็วของมอเตอร์จากผู้ใช้งานได้ ดังนั้นในโครงงานนี้จะเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับรถจักรยานไฟฟ้า โดยจะเกี่ยวกับการสร้าง การสร้างวงจรต่างๆ ที่นำมาใช้งานเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจ สามารถที่จะนำไปสร้างเพื่อใช้งานได้ต่อไป
เริ่มต้นก็มาดูโครงสร้างทั้งหมดก่อนนะครับ ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างที่จะนำมาสร้างเพื่อใช้งานจริงต่อไป เพื่อจะได้เห็นแนวความคิดในการทำโครงงานนี้นะครับ
แนะนำแนวความคิดของการออกแบบวงจร
มอเตอรไดติดเฟองเขากับมอเตอรและไดติดเฟองเขากับลอหลังของรถจักรยานและใชโซเปนตัวสงกําลังซึ่งติดกับตัวมอเตอรไปยังเฟองลางซึ่งติดกับลอหลังของรถจักรยาน โดยในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ออกแบบนะครับว่าจะมีวิธีการอย่างไรครับ
และในส่วนของวงจรชุดควบคุมนั้น ในโครงงานนี้ได้ใชไอซีเบอร์ 555 เปนตัวสรางสัญญาณพัลส์สี่เหลี่ยมที่สามารถปรับ Duty cycle ได โดยจากการออกแบบวงจรนั้นสามารถที่จะปรับค่าได้ตั้งแต 1% ถึง 99% เพื่อที่จะปอนใหกับ MOSFET เบอร์ IRF150 ทั้ง 2 ตัว โดยที่ MOSFET เบอร์ IRF150 ทั้ง 2 ตัวนี้จะทำหนาที่เปนตัว Switching ใหกับวงจรที่ใชในการควบคุมการไหลของกระแสเขาสูดีซี มอเตอรขนาด 24 V (2,650 RPM/250W) สาเหตุที่ใช้ MOSFET เบอร์ IRF150 จำนวน 2 ตัว ก็เพื่อแบ่งกระแสให้ MOSFET แต่ล่ะตัวนั้นทำงานไม่ให้หนักมากเกินไปนั้นเองครับ
การออกแบบวงจรควบคุมและวงจรที่ใช้ Switching มอเตอร์
จะเห็นว่าเป็นลักษณะของวงจร Astable Multivibrator โดยได้กำหนดให้วงจรนี้มีค่าความถี่เท่ากับ 50Hz โดยที่สามารถปรับค่าของความกว้างของพัลส์ (Duty Cycle) ได้จาก R2 โดยในการใช้งานจริงนั้นจะเป็นลักษณะของคันเร่ง
วงจรที่ใช้ Switching มอเตอร์
วงจรที่ใช้ Switching มอเตอร์ โดยในที่นี้ได้เลือกใช้ MOSFET เบอร์ IRF150 โดยที่ MOSFET เบอร์ IRF150 สามารถที่จะทนค่ากระแสได้สูงสุดเท่ากับ 40A โดยจากการทดสอบจะพบว่า ในกรณีที่มีโหลดเท่ากับ
จากที่ได้ทำการต่อวงจรต่างๆ แล้วเราก็จะได้จักรยานไฟฟ้าที่ได้จากความคิดและความพยายามขึ้นมา 1 คันนะครับ ดังแสดงในรูป โดยงบประมาณในการสร้างที่หมดไปก็ประมาณ 5,500 บาท ครับ โดยในส่วนของราคานั้นก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ครับ เช่น มอเตอร์(ถ้าอยากให้รถวิ่งเร็วก็ต้องเสียเงินในส่วนนี้มากขึ้นครับ) หรือจะเป็นรูปทรงของรถจักรยานก็มีผลกับราคาด้วยครับ จากที่ได้ทำมาก็ต้องใช้เวลาในการทำเหมือนกันครับ ที่นี้เมื่อทำทุกอย่างสำเร็จหมดแล้วก็คงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องทำการทดสอบการทำงานว่ารถจักรยานที่เราทำนี้มันให้ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งจากการทดสอบก็คือรถจักรยานไฟฟานี้ สามารถวิ่งไดดวยความเร็ว ประมาณ 30 กิโลเมตรตอชั่วโมง โดยที่ความเร็วจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผูขับขี่ครับ และระยะเวลาในการใชงานของแบตเตอรี่เมื่อแบตเตอรี่เต็ม จะอยูที่ประมาณ 45 นาที จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นก็ถือว่าใช้งานได้ดี
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที