ผมได้อ่านข้อคิดจากงานเชียของคุณธีระ วีระธรรมสาธิต ผู้บริหาร APM Consulting Group ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อคิดที่ดีเสนอเกี่ยวกับการหาทางรอดให้ได้ภายใต้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่มารอขอพบอยู่หน้าบริษัท
โดยส่วนตัวผมเองมองเรื่องนี้เป็น hot Issues ที่ท่านผู้อ่านหลายท่านสนใจ เพื่อเก็บเอาแนวคิด แต่ทาง TPA ผมพบว่า ท่านผู้อ่านที่ติดตามสาระประเภทนี้มีจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับงานเขียนปกิณกะจะมีท่านผู้อ่านเยอะมาก ผมจึงคิดว่า จะเจาะจงเขียนงานโดยให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น แต่จะเน้นใน 2 เรื่องหลักคือการบริหารจัดการ และการบริหาร/การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่จะมีบทความอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาตนเองในแง่ต่าง ๆ เช่นทักษะการทำงานร่วมกันคนอื่น การพัฒนาแนวคิดเชิงบวก หรืออะไรประมาณนี้ ก็สุดแท้แต่สติปัญญาจะอำนวยครับ
ว่ากันไปแล้ว งานเขียนจำพวกแนะนำเคล็ดลับฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ มีนำเสนอทางหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นไม่น้อย แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ท่านผู้อ่านที่มีหน้าที่การงานเกี่ยวข้อง ก็จำเป็นต้องเลือกและประยุกต์นำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทองค์การของท่าน ตัวอย่างที่ผมได้นำเสนอและตั้งใจว่าจะเขียนให้เป็น series เลยก็คือประสบการณ์การปรับปรุงระบบงาน โครงสร้างองค์การและประสิทธิภาพการทำงานกรณีศึกษาของ Canon Electronics ซึ่งท่านผู้อ่านน่าจะได้เห็นผมนำเสนอไปแล้วประมาณ 9 ตอน จากที่นับได้และวางแผนไว้ราว 100 ตอนทีเดียว (โครงการระยะยาวครับ)
กลับมาเรื่องงานเขียนเกี่ยวกับการลดต้นทุนและการเพิ่มรายได้ให้องค์การนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขององค์การที่มีผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนี้ หรือจากแง่คิดของบริษัทที่ปรึกษา ก็ล้วนแล้วแต่น่าเก็บเอามาใช้และทดลองดูนะครับ เพราะมีประโยชน์ไม่แพ้กัน
ในมุมมองของคุณธีระ พื้นฐานที่สำคัญของการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ซึ่งจะช่วยพยุงสถานะทางธุรกิจให้อยู่รอดลปอดภัยในเงื้อมมือของ Global Crisis นี้ได้ก็คือ การคิดเชิงนวัตกรรม หรือมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมของสินค้าและบริการใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด ตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงไปพร้อม ๆ กัน
รูปธรรมของการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้บนพื้นฐานดังกล่าวนั้น ได้แก่ การกำหนดแผนปฏิบัติการขององค์การให้ชัดเจนว่ามีการดำเนินงานในเรื่องอะไรบ้าง เช่น ลดต้นทุน การลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้เป็นหลัก การลดค่าใช้จ่าย หรือปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ จะเป็นอะไรบ้างก็ระบุให้ชัดเจนให้ได้ ที่เน้นย้ำเน้น เพราะฝ่ายบริหารจำเป็นที่จะต้องถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ออกไปเป็น สาร สู่พนักงานทุกระดับในองค์การ เพื่อให้รู้ทิศทาง เป้าหมาย ตลอดจนถึงสิ่งที่องค์การตั้งใจมุ่งมั่น ในลักษณะความต้องการความร่วมมือและต้องการผลการดำเนินงานที่ได้ผลงานที่ดีจากเขา
นอกจากนี้ คุณธีระ ยังได้นำเสนอข้อคิดการบริหารงานบุคคล 8 ขั้นตอนเพื่อฝ่าวิกฤต แต่เอาไว้มาว่ากันต่อในตอนหน้าครับ.....
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที